ครม.คลอดบิ๊กแพคเกจ  ช่วยภาคธุรกิจ ประชาชน บรรเทาผลกระทบโควิด-19  เฟสแรก

สืบเนื่องจากการที่รัฐบาล มีแนวทางการบรรเทาผลกระทบในด้านต่าง ๆ จากวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจ ที่ได้รับจากภาวะเศรษฐกิจโลกและการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19 ในช่วงเกือบเดือนที่ผ่านมา และยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ ในทางตรงข้ามกับมีการขยายวิกฤตไปหลายประเทศทั่วโลก

สืบเนื่องจากการที่รัฐบาล มีแนวทางการบรรเทาผลกระทบในด้านต่างๆ จากวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจ  ที่ได้รับจากภาวะเศรษฐกิจโลกและการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19 ในช่วงเกือบเดือนที่ผ่านมา และยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้  ในทางตรงข้ามกับมีการขยายวิกฤตไปหลายประเทศทั่วโลก

ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้สรุปแนวทางต่างๆ จากข้อเสนอของผู้รับผิดชอบแต่ละกระทรวง ได้ข้อสรุปเป็นมติ โดยนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจจากระยะที่ 1 จากปัญหาการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ว่า ในวันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ มาตรการระยะที่ 1 แบ่งเป็นมาตรชุดทั้งการปล่อยวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 1.5 แสนล้านบาท ให้ภาคเอกชนรายย่อย เพื่อเสริมสภาพคล่องมาตรการการพักชำระเงินต้น 

 

ครม.คลอดบิ๊กแพคเกจ  ช่วยภาคธุรกิจ ประชาชน บรรเทาผลกระทบโควิด-19  เฟสแรก


และดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ ในการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ในการปบ่อยสินเชื่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น มาตรการการปล่อยสินเชื่อจากทาง สำนักงานประกันสังคม วงเงิน 30,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 3 ปี

ส่วนมาตรการทางภาษีลดการจัดเก็บหักภาษี ณ ที่จ่ายเหลือร้อยละ 1.5 จากเดิมร้อยละ 3 ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2563 หรือคิดเป็นวงเงินกลับเข้าสู่ระบบ 60,000 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มได้อีก 200,000 บาทรวมเป็น 400,000 บาทสำหรับประชาชนที่ลงทุนในกองทุน SSF ตั้งแต่ 1 เมษายนถึง 30 มิถุนายน 2563

 

ทั้งนี้ มาตรการทั้งหมดเป็นเพียงการพยุง เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนรับมือได้โดยคาดว่าจากมาตรการทั้งหมดคิดเป็นเม็ดเงินลงสู่ระบบประมาณ 400,000 ล้านบาท

 

ขณะที่ นายจักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงผ่านศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ถึงมาตรการช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างและนายจ้างลดผลกระทบโควิด-19 ว่า กระทรวงแรงงานกำหนดให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละ 4% จากเดิมที่กำหนดให้นำส่งฝ่ายละ 5% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยลดภาระประชาชนในระยะนี้

 

 

ครม.คลอดบิ๊กแพคเกจ  ช่วยภาคธุรกิจ ประชาชน บรรเทาผลกระทบโควิด-19  เฟสแรก

 

ขณะที่ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือค่ามิเตอร์ไฟฟ้า ตามที่ประชาชนได้วางเงินมัดจำไว้ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพแก่ประชาชนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยคาดว่าจะครอบคลุมประชาชน ราว 21 ล้านราย มูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท โดยจะทยอยคืนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมนี้

 

ครม.คลอดบิ๊กแพคเกจ  ช่วยภาคธุรกิจ ประชาชน บรรเทาผลกระทบโควิด-19  เฟสแรก

 

นอกจากนั้น ที่ประชุมมีมติให้ตรึงอัตราค่า FT ในพฤษภาคม 2563 ในอัตรา 11.60 บาทต่อหน่วย หรือลดลง 11 บาท 60 สตางค์ต่อหน่วย จากค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท พร้อมให้ลดค่าไฟฟ้า ในอัตราร้อยละ 3 ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เมษายนถึงมิถุนายน 2563 โดยส่วนลด จะปรากฏในบิลที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับ 

 

นอกจากนั้น ยังมีมาตรการการขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการเฉพาะอย่าง เช่น ธุรกิจโรงแรม และกิจการให้เช่าพักอาศัย โดยจะไม่คิดค่าปรับ หรือดอกเบี้ย ตลอดระยะเวลาการผ่อนผัน ไม่เกิน 6 เดือนของแต่ละรอบบิล และจะไม่มีการงดจ่ายกระแสไฟชั่วคราวด้วย โดยผู้ใช้ไฟฟ้า จะต้องแจ้งความประสงค์ ขอรับความช่วยเหลือที่สำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่

 

ทางด้าน  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม   แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)  ถึงกรณีผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เตรียมเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการเยียวยา เนื่องจากมาตรการของครม.เศรษฐกิจ ยังไม่ตรงกับความเดือดร้อนของผู้ประกอบการว่า วันนี้มาตรการต่างๆในการช่วยเหลือเบื้องต้นออกมาแล้วว่าจะมีมาตรการอะไรบ้าง ทั้งช่วยประชาชนทั่วไป เอสเอ็มอีรายย่อย หรือ ผู้ประกอบการต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

อย่างไรก็ตามมาตรการที่เป็นมติวันนี้ ถือเป็นมาตรการระยะที่หนึ่งเท่านั้นเอง อาจจะมีระยะสอง ระยะสามต่อไป  เรากำลังรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั้งหมดที่ได้รับความเดือดร้อน หลายอย่างอาจยังไม่พอก็ส่งข้อมูลขึ้นมา ก็จะมีการนำเข้าพิจารณาในครม.ต่อไป แต่อย่าลืมว่ามันต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น ดังนั้นก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบในการที่จะใช้เงินของรัฐให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพข้อเท็จริงมากที่สุด

 

 

ครม.คลอดบิ๊กแพคเกจ  ช่วยภาคธุรกิจ ประชาชน บรรเทาผลกระทบโควิด-19  เฟสแรก

 

สำหรับรายละเอียดมาตรการทางการคลัง ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

 

ครม.คลอดบิ๊กแพคเกจ  ช่วยภาคธุรกิจ ประชาชน บรรเทาผลกระทบโควิด-19  เฟสแรก

 

1. มาตรการด้านการเงิน ประกอบด้วย 4 มาตรการ 

1.1 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงิน โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท
1.2 มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) มีมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้และเงื่อนไขการรับประกันในด้านต่าง ๆ เช่น การพักชำระหนี้เงินต้น การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และการผ่อนคลายเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น นอกจากนี้ SFIs บางแห่งยังมีมาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมถึงมีโครงการ Refinance หนี้บัตรเครดิตในอัตราดอกเบี้ยต่ำลง
1.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพื่อให้สถาบันการเงินและบริษัทลูกในกลุ่ม สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ให้สินเชื่อที่มิใช่สถาบันการเงิน เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในเชิงรุกอย่างทันเหตุการณ์  เช่น ผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อปกติ เพิ่มความยืดหยุ่นในการอนุมัติเงินกู้ เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปได้
1.4 มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะร่วมกับสถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 30,000 ล้านบาท ให้แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ประกันตน ณ วันที่ได้รับสินเชื่อเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ยังคงสามารถจ้างลูกจ้างต่อไปได้ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน


2. มาตรการภาษี ประกอบด้วย 4 มาตรการ 

2.1 มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ โดยลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากอัตราร้อยละ 3 เหลืออัตราร้อยละ 1.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 และลดเหลืออัตราร้อยละ 2 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามข้อกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่จ่ายผ่านระบบการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax)
2.2 มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่เข้าร่วมมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และมีการจัดทำบัญชีเดียว สามารถหักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับรายจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
2.3 มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงานในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักรายจ่ายได้ 3 เท่า สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างของเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 ให้แก่ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและได้รับค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน โดยต้องคงการจ้างงานในช่วงดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ณ วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม 2562
2.4 มาตรการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ทางอินเทอร์เน็ตจะได้รับคืนภายใน 15 วัน และกรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจะได้รับคืนภายใน 45 วัน


3. มาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ประกอบด้วย 4 มาตรการ
 
3.1 มาตรการบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ รัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัดที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานกำกับ (Regulator) บรรเทาภาระโดยพิจารณาถึงแนวทางการลดและเลื่อนการชำระค่าน้ำและค่าไฟ หรือแนวทางที่เหมาะสม เช่น คืนค่าประกันการใช้ไฟบางส่วน เป็นต้น ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID-19
3.2 มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อลดอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2533 จากอัตราร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 0.1 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเงินสมทบของรัฐบาลให้คงอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้าง พร้อมทั้งปรับลดจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และรัฐจ่ายเงินสมทบในจำนวนเท่าเดิม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างและผู้ประกันตนในการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในช่วงที่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
3.3 มาตรการบรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนในการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจลดหรือชะลอหรือเลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าเช่าราชพัสดุ ค่าตอบแทนในการให้บริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID-19
3.4 มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยลดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ และระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้าง สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปรับเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงให้หน่วยงานเร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนปีเดียวที่เป็นการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินต่อรายการไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2563
3.5 มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน โดยให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund หรือ SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนใน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด โดยต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
3.6 มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 โดยกำหนดให้มีแนวทางให้ส่วนราชการสามารถจ่ายเงินเพื่อป้องกัน เยียวยา สร้างแรงจูงใจในการคงการจ้างงาน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการเฉพาะและเร่งด่วน โดยได้เตรียมวงเงิน 20,000 ล้านบาท จากงบกลาง เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ