สหประชาชาติ ชี้การมาของ โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีต่อ สิ่งแวดล้อมโลก

สหประชาชาติ ชี้การมาของ โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีต่อ สิ่งแวดล้อมโลก

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า อิงเกอร์ แอนเดอร์สัน (Inger Andersen) ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงและคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น ในช่วงเวลาที่รัฐบาลของหลายประเทศกำลังรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ไม่ควรถูกมองว่า “เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม”

สหประชาชาติรายงานคำกล่าวของอิงเกอร์ แอนเดอร์สัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (5 เม.ย.) ว่า “ขณะที่เรากำลังขยับจากการรับมือ ‘ภาวะสงคราม’ ไปเป็น ‘การสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม’ (Build Back Better) เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจสัญญาณต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม และรู้ว่ามันจะส่งผลต่ออนาคตและคุณภาพชีวิตของเราอย่างไร เพราะโควิด-19 อย่างไรก็ไม่ใช่ ‘เรื่องดี’ สำหรับสิ่งแวดล้อม”

 

 

สหประชาชาติ ชี้การมาของ โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีต่อ สิ่งแวดล้อมโลก

 

 

สำหรับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก แอนเดอร์สันกล่าวว่า  

เธอกล่าวเตือนว่า “ผลที่มองเห็นได้ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว เพราะมันเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันน่าเศร้าและความทุกข์ยากของมนุษย์โลก”

“การระบาดใหญ่จะส่งผลให้ปริมาณขยะทางการแพทย์และของเสียอันตรายเพิ่มพูนมากขึ้น นี่ไม่ใช่รูปแบบของการตอบสนองทางสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ใช่สำหรับนักสิ่งแวดล้อม

 

 

สหประชาชาติ ชี้การมาของ โควิด-19 ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีต่อ สิ่งแวดล้อมโลก

 

 

เธอกล่าวว่า “ในความเป็นจริงแล้ว สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปปส์ (Scripps Institution of Oceanography) ย้ำว่าปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะต้องลดลงประมาณร้อยละ 10 ทั่วโลก และจะต้องต่อเนื่องนานหนึ่งปี กว่าจะเห็นถึงระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชัดเจน”

“ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่อันน่าสะพรึงครั้งนี้ ต้องเป็นสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคของเราให้สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” เธอกล่าว

“การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบในระยะยาวเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแนวโน้มของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้”

ดังนั้น หลังจากวิกฤตครั้งนี้ ในช่วงที่เราวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานนั้น เรามีโอกาสอย่างแท้จริงที่จะรับมือกับปัญหานี้ ด้วยการลงทุนในพลังงานทดแทน อาคารอัจฉริยะ การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการขนส่งสาธารณะ … ” แอนเดอร์สันกล่าว

เธอกล่าวว่า “เสาหลักที่สำคัญประการหนึ่งในแผนฟื้นฟูหลังผ่านพ้นโรคโควิด-19 จะต้องมาพร้อมกับกรอบการวางแผนที่กระตือรือร้น สามารถวัดผลได้ และไม่แบ่งแย่ง เพราะการรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ หลากหลาย และงอกงามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้”

ที่มา : xinhuathai