เจ้าสัวธนินท์ ตอบกลับ บิ๊กตู่ เตรียมทุ่ม 700 ล้าน ช่วย พร้อมกางแผนฟื้นฟูหลังโควิดเบื้องต้น

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 63 ที่ผ่านมาทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ทำหนังสือตอบกลับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 63 ที่ผ่านมาทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ทำหนังสือตอบกลับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ ทำหนังสือลงวันที่ 20 เม.ย.2563 ส่งถึงบรรดามหาเศรษฐีไทยทั้งที่ติดอันดับ 1 ใน 20 พร้อมระบุส่งจดหมายหาเจ้าสัวในฐานะที่ ท่านเป็นผู้อาวุโสของสังคม ผมซาบซึ้งใจ ที่หลายท่านได้ลงมือช่วยเหลือประชาชนไปแล้วหลายเรื่อง แต่ผมต้องการขอให้ทุกท่านทำเพิ่มเติมโดยใช้ศักยภาพของท่านมาทำให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยา พี่น้องประชาชนคนไทยที่กำลังเดือดร้อน อย่างแสนสาหัส อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ล่าสุดนายธนินท์ ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือตอบรับนายกฯ "“ผมถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำเพื่อประเทศโดยเฉพาะในยามวิกฤต เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่  และขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการนำประเทศชาติ ก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศและของโลกในครั้งนี้ และขอยกย่องในความ เสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ถือเป็นนักรบแนวหน้าในการรักษาชีวิตพี่น้องประชาชนไทย ทำให้วันนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง  (ข้อมูลถึงวันที่ 30 เมษายน 2563)

นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยจากทุกภาคส่วน ออกมาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเสมอมา เช่นเดียวกับวิกฤต ในครั้งนี้ ที่จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่ของตนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคนไทยอย่างดีมาโดยตลอด พร้อมทั้งเสนอสิ่งที่ผมและเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ดำเนินการแล้ว รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท พร้อมเสนอโครงการที่จะดำเนินการในระยะต่อไป”ปัจจุบันเครือซีพีและบริษัทในเครือดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน พนักงาน และอีกหลายภาคส่วนแล้วหลายโครงการ ซึ่งจะยังคงดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไปทั้งนี้งบประมาณรวมในโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 701.6 ล้านบาท

ส่วนที่ 1 : ระยะแรก การให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ดำเนินการสร้าง “โรงงานงานซีพีหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อบุคลากรทางการแพทย์” ใช้งบประมาณ 175 ล้านบาท เพื่อบรรเทาปัญหาหน้ากากอนามัย ขาดแคลน โดยผลิตและส่งมอบหน้ากากอนามัยฟรี 3,000,000 ชิ้นต่อเดือน โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้จัดสรรให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลทั่วประเทศ บริจาคชุดป้องกัน Tyvek 400Tychem 2000 หน้ากาก N95 แว่นตานิรภัย ถุงคลุมเท้า ชุดคลุมป้องกันเชื้อชนิดคลุมทั้งตัว (Coverall) และ หน้ากากป้องกันเชื้อ (Face shield) ให้บุคลากรทางการแพทย์ สนับสนุน Antibody test kit จำนวน 110,000 ชิ้น มูลค่ารวม 20 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลรามาธิบดี

บริจาคห้อง Conference System จำนวน 2 ชุด มูลค่า 5 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มอบเงินสนับสนุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น  มอบเงิน 77 ล้าน ให้กับ 77 โรงพยาบาล ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศภายใต้โครงการ “คนไทยไม่ทิ้งกัน” (ถึงปัจจุบันขยายเพิ่มอีก 5 โรงพยาบาล) มอบชุด PPE จำนวน 94,830 ชุด หน้ากากอนามัย KN95 จำนวน 75,480 ชิ้น แอลกอฮอล์ 3,670 ลิตร และอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค (เครื่องช่วยหายใจ เครื่อง Monitor หัวใจ เครื่อง Monitor สำหรับผู้ป่วย เตียงและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ) ดำเนินการโดยซีพีออลล์

สนับสนุนอาหารให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 120 แห่งทั่วประเทศ (เริ่ม 1 มีนาคม2563) และยังคงส่งมอบให้กับทุกโรงพยาบาลในโครงการอย่างต่อเนื่อง  ดำเนินการโดยซีพีเอฟ สนับสนุนอาหารให้ครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 30,000 ครอบครัว (เริ่ม 9 เมษายน 2563 และยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง) โดยส่งอาหารถึงบ้านให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของรัฐที่มีส่วนช่วยดูแลสถานการณ์ โควิด-19 ดำเนินการโดยซีพีเอฟ

สนับสนุนแท็บเล็ต และโทรศัพท์วิทยุสื่อสารจำนวนกว่า 500 เครื่อง พร้อมซิมทรูมูฟเอช ที่ไม่จำกัดปริมาณ การใช้งานแก่โรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโควิด-19รวม 50 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินการโดยกลุ่มทรูมอบซิมแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่จำกัด พร้อมโทรฟรีทุกเครือข่ายนาน 90 วัน จำนวน 2,000 ซิม ดำเนินการโดยกลุ่มทรู มอบข้าวสารสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ โดยข้าวตราฉัตร การให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องประชาชน และแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ดูแลผู้เฝ้าระวังตนที่กลับจากต่างประเทศ ผ่านโครงการ“มอบอาหารจากใจ ต้านภัย COVID ส่งอาหารถึงบ้าน”ให้กับผู้เฝ้าระวังตนที่เดิน ทางกลับมาจากต่างประเทศเพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19

โดยมอบให้กว่า 20,000 ราย (จบโครงการแล้ว)ดำเนินการโดยซีพีเอฟ มอบไข่ไก่เพื่อทำอาหารปรุงสุกพร้อมทานแจกจ่ายผู้ยากไร้และว่างงานดำเนินการโดยซีพีเอฟ “โครงการลดจริง…ไม่ทิ้งกัน” โดยช่วยแบ่งเบา ค่าครองชีพประชาชนในช่วงโควิด-19 โดยจำหน่ายอาหาร พร้อมทานในราคา 20 บาท จำนวน 1,000,000 ถาด ที่ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ดำเนินการโดยซีพีเอฟ “โครงการคนไทยไม่ทิ้งกัน ร่วมด้วยช่วยค่าครองชีพ” สนับสนุนข้าวกล่องจำนวน 13 ล้านกล่อง จำหน่ายในราคา 20 บาทดำเนินการโดยซีพีออลล์ การให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จากปัญหาการตกงาน  หรือขาดรายได้เครือเจริญโภคภัณฑ์ประกาศนโยบายไม่ปลดพนักงานจากผลกระทบโควิด-19 เพื่อรักษางาน นอกจากนี้ ยังสร้างงานเพิ่มโดย ซีพี ออลล์ มีการประกาศจ้างงานเพิ่ม 20,000 อัตรา และซีพีเอฟมีการประกาศจ้างงานเพิ่ม 5,000 อัตรา เริ่มตั้งแต่มีนาคม 2563 การให้ความช่วยเหลือพนักงานกว่า 300,000 คนในประเทศไทย ในช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความมั่นใจแก่เพื่อนพนักงานทุกคนว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และบริษัทในเครือฯ  ไม่มีนโยบายเลิกจ้างอันเนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์นี้ สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน และการดำรงชีพและปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป

หากพนักงานได้รับเชื้อโควิด-19เครือเจริญโภคภัณฑ์มีนโยบายดูแลพนักงานโดยรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล สำหรับบุคคลในครอบครัวของพนักงานได้แก่ คู่สมรสและบุตร ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ เช่น ถูกเลิกจ้าง หรือ ไม่ได้รับค่าจ้างอันเนื่องจากการปิดงาน หรือปิดกิจการร้านค้าของตนเอง จนไม่สามารถดูแลครอบครัวได้ไหว  เครือเจริญโภคภัณฑ์จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้วยการมอบคูปองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปซื้ออาหารและเครื่องดื่มให้ความช่วยเหลือด้านค่าเล่าเรียนของบุตรธิดาของพนักงานที่เดือดร้อนเช่น การขอกู้ยืมเงินฉุกเฉินระยะสั้นการติดต่อกับสถาบันการเงิน เป็นต้นโดยจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป

การให้ความต่อเนื่องกับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อย และภาคการศึกษา ช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร SME นำร่องกว่า 50 ร้านค้าพันธมิตรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ผลักดันเข้าสู่ตลาดออนไลน์ และสนับสนุนพื้นที่สื่อโฆษณาทุกช่องทางให้กับร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ โดยในอนาคต มีแผนจะขยายพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร ให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น ดำเนินการโดยซีพีอินเตอร์เทรด มอบ “ซิมสามัญประจำบ้าน แจกฟรีที่ 7-Eleven ทั่วประเทศ”โดยสามารถใช้แพลตฟอร์ม True Virtual World เพื่อเรียนทางไกลและทำงานที่บ้านโดยไม่เสียค่าอินเทอร์เน็ต โทรฟรีสายด่วนสำคัญช่วงสถานการณ์โควิด-19 ดำเนินการโดยกลุ่มทรู ให้ความช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาในการเข้าถึงองค์ความรู้โดยพัฒนาแพลตฟอร์ม True Virtual World เพื่อสนับสนุนการเรียนทางไกลดำเนินการโดยกลุ่มทรู

การให้ความช่วยเหลือพระสงฆ์ ถวายปัจจัยสมทบทุนช่วยเหลือพระสงฆ์ทั่วประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 จำนวน 500 วัด ผ่านทางสำนักเลขาฯสมเด็จพระสังฆราช เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่พระสงฆ์ สามเณร ที่ไม่สามารถออกมารับอาหารบิณฑบาตและกิจนิมนต์ต่างๆ ของประชาชนได้ดำเนินการโดยซีพีออลล์การให้ความช่วยเหลือชุมชน “โครงการกองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับ CPFส่งอาหารจากใจสู่ชุมชน” ดำเนินการส่งมอบอาหารให้กับชาวชุมชนคลองเตยกว่า 8,499 หลังคาเรือน “โครงการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกทม. ร่วมกับ CPFส่งอาหารจากใจสู่ชุมชน”(จะเริ่มในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2563) ส่งมอบอาหารมื้อกลางวันเพื่อแบ่งเบาภาระให้กับชาวชุมชนแออัดต่างๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 2 เดือน เนื้อหาในจดหมายของนายธนินท์ ระบุอีกว่า “ในระยะต่อไป สิ่งที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ การเตรียมการเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องรักษาความเชื่อมั่น และประคองระบบสังคม วิถีชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องไม่ล้มหายตายจากไป และยังรักษาการจ้างงาน พี่น้องประชาชน จะยังคงมีรายได้เลี้ยงชีพอาชีพอิสระ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร หรือแม้กระทั่งคนว่างงาน จะยังคงมีรายได้เพียงพอในการยังชีพมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ในยามที่ฟ้ามืดต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อยามฟ้าสว่าง นั่นคือการเตรียมแผนฟื้นฟูประเทศไทยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหากมองวิกฤตนี้เป็นโอกาส และประเทศไทยกล้าตั้งเป้าหมายให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก” ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว”

ทั้งนี้ ซีพีขอนำเสนอโครงการที่ซีพีจะดำเนินการในระยะต่อไป ซึ่งโครงการที่น่าสนใจคือ โครงการปลูกน้ำ โดยเน้นว่าประเทศไทยไม่เป็นเพียงอู่ข้าวอู่น้ำของคนไทย แต่ได้พัฒนาจนกลายเป็นผู้นำการผลิตอาหารให้แก่ชาวโลกอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ความเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลกที่รวดเร็วและรุนแรงได้บั่นทอนทรัพยากรน้ำอันเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการสร้างผลผลิตการเกษตร

นอกจากนี้ ในแต่ละปีประเทศไทยต้องประสบปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก เพราะไม่สามารถจัดสรรงบประมาณบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอ และเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาให้จบสิ้นและเบ็ดเสร็จถาวรได้ซ้ำร้ายแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของหลายประเทศ ก็ถูกประเทศต้นน้ำสร้างเขื่อนขึ้นมาก กว่า 11 แห่ง และยังคงสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศปลายน้ำเช่นประเทศไทย ซึ่งมีระบบชลประทานครอบคลุมเพียง 30% ของเนื้อที่ถูกลดทอนความมั่นคงของประเทศและความสามารถด้านการผลิตอาหารลงไปเรื่อยๆโดยปริยาย ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรมีหนี้สินล้นพ้นตัว ยากจนอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ถูกบีบคั้นอย่างไม่มีทางออก จะจัดแบ่งที่ทำกินให้ลูกหลานทำต่อก็ทำให้แปลงเล็กลง และต้นทุนก้าวกระโดดขึ้นจนขาดทุนทำการเกษตรไม่ได้ ทำให้ลูกหลานเกษตรกรต้องอพยพเข้าเมืองหนีจากภาคเกษตร ซึ่งขาดแรงจูงใจดูดรั้งให้เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่มาทดแทนรุ่นปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยกว่า 58 ปีได้ ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ปัญหาทรัพยากรน้ำจึงจำเป็นต้องถูกแก้ไขเป็นการเร่งด่วนที่สุด

นอกจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากปัจจัยน้ำที่ได้กล่าวไปแล้ว ผลิตผลข้าวก็มีปัญหาในตัวเอง คือในตลาดโลกการผลิตข้าว มีปริมาณมากกว่าความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่องมาเป็นหลายทศวรรษหลังการยุติของสงครามเย็น ทำให้ราคาข้าวตกต่ำมาโดยตลอด เฉพาะประเทศที่สามารถพัฒนาการปลูกข้าวไปสู่อุตสาหกรรมข้าวครบวงจร คือสามารถบริหารจัดการผ่านสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการตั้งแต่ต้นทางคือปลูกข้าวบนพื้นที่ๆ เป็นแปลงติดกันขนาดใหญ่มาก ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีชั้นสูงแทนแรงงานคน ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลงได้อย่างมากจนสามารถแข่งขันทำกำไรในราคาที่ตกต่ำได้ แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เช่นประเทศไทย ที่ยังใช้วิธีดั้งเดิมผ่านชาวนาเกษตรกรรายย่อย ก็ต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก และต่อเนื่องโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ภาครัฐบาลมีความจำเป็นต้องนำวิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เช่น การประกันราคาข้าว การจำนำข้าว และการพักชำระหนี้ ซึ่งมิใช่การแก้ปัญหาจริง แต่เป็นเพียงการซื้อเวลาการแก้ปัญหาออกไป แม้การจะแก้ปัญหาโดยการกำหนดให้ชาวนาเปลี่ยนไปปลูกพืชมูลค่าสูงอื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ไม้ผลและไม้ยืนต้น แต่ก็ต้องใช้เวลารอผลผลิตหลังปลูกไม่ต่ำกว่า 3 ถึง 5 ปี ระหว่างนั้นชาวนาจะมีรายได้เลี้ยงชีพอย่างไร ปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจการเกษตรที่ได้กล่าวมานี้จะถูกแก้ไข ผ่านแผนยุทธการถ่าย “ปลูกน้ำ” ซึ่งซีพีได้ทำการศึกษามาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งน้ำ 
ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกรไทยให้มากที่สุด

ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกหลายมาตรการที่ดี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาวะวิกฤตโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องและเห็นผล จึงถือได้ว่าโครงการที่เสนอมานี้เป็นเพียงส่วนเสริม ในการบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในเอกสารฉบับนี้ เป็นมุมมองของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งอยู่ที่ภาครัฐจะเลือกนำไปใช้ตามความเหมาะสม หากมีคำแนะนำสิ่งใดที่ควรทำเพิ่มเติม เครือเจริญโภคภัณฑ์ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนต่อไป"