กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจ ผักสด 10 ชนิด พบสารเคมีตกค้าง แนะวิธีล้างผักแบบถูกต้อง กินผักต้องล้างให้สะอาด เพื่อลดความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลงตกค้าง

 

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การกินผักเป็นประจำส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือปัญหาการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายเพื่อความปลอดภัยประชาชนจึงควรใส่ใจเป็นพิเศษในการล้างผักให้สะอาด ข้อมูลจากการตรวจการตกค้างของสารเคมีอยู่ในพืชผักที่จำหน่ายในท้องตลาดพบว่ามี ที่มีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูง ได้แก่กวางตุ้ง

 

1.กวางตุ้ง

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

2.คะน้า

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

3.ถั่วฝักยาว

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

4.พริก

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

5.แตงกวา

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

6.กะหล่ำปลี

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

7.ผักกาดขาวปลี

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

8.ผักบุ้งจีน

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

9.มะเขือ

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

10.ผักชี

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

อันตรายจากยาฆ่าแมลงตกค้างหากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง

 

นอกจากนี้ยังตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้ออีโคไลและเชื้อซาลโมเนลลา ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในผักที่นิยมรับประทานเป็นผักแบบสดๆ เช่น ผักกาดหอม ต้นหอม ผักชี กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง โหระพา สะระแหน่ ใบบัวบก ถั่วพู แตงกวา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ในการเพาะปลูก โดยเชื้อเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์และถูกขับถ่ายออกมากับมูลของสัตว์ เมื่อนำปุ๋ยจากมูลสัตว์มาใช้ในการเกษตรเชื้อโรคนี้ก็อาจปนเปื้อนในผลผลิตได้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้

 

กรมอนามัยเตือน ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด เสี่ยงหัวใจวายซ้ำร้ายถึงขั้นมะเร็ง

 

ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการกินผัก ก่อนกินหรือนำผักมาปรุงอาหาร ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างหรือการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ให้ล้างด้วยน้ำไหล โดยแช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านและคลี่ใบผักถูไปมานาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด หรือใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้ สามารถลดสารเคมีตกค้างจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายได้” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวผักสด 10 ชนิด