ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณถนนสายปากทาง-เขื่อนลำปาว พื้นที่ติดต่อ ต.บัวบาน-ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งตัดผ่านป่าสงวนแห่งชาติดงระแนง ชาวบ้านจำนวนมากมาก ต่างนำอุปกรณ์เก็บเห็ด เช่น ตะกร้า เสียม มือเสือที่ทำจากเหล็ก สำหรับขูดไปตามพื้นดินเพื่อหาเห็ดเผาะที่ฝังอยู่ใต้ผิวดิน ทั้งนี้ จากการสอบถามทราบว่าเดินมาจากหลายพื้นที่ เช่น อ.ห้วยเม็ก อ.เมือง อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ และ อ.เชียงยืน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ทำให้ป่าดงระแนงมีชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

นายบัวศรี หินศิลา อายุ 58 ปี ชาวบ้านคำเจริญ ต.เว่อ  อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า เห็ดเผาะเป็นอาหารประจำฤดูกาล ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยจะเกิดในช่วงฝนแรกหรือเริ่มต้นฤดูฝน ทั้งนี้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงระแนง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 หมื่นไร่ ติดแนวเขตหลายตำบลในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.ยางตลาดกับ อ.ห้วยเม็ก อย่างไรก็ตามพื้นที่บริเวณนี้เพิ่งจะมีฝนตกลงมา ทำให้ผิวดินมีความชุ่มชื้นและอุณหภูมิพอเหมาะ ก็จะมีเห็ดเผาะเกิดขึ้นทั่วไปในบริเวณป่าดงระแนง  ซึ่งตนกับเพื่อนบ้านก็จะพากันมาเก็บเป็นประจำทุกปี โดยเห็ดเผาะที่เก็บได้ก็จะนำไปประกอบอาหารกินในครัวเรือน และปรุงเป็นอาหารได้หลายเมนู เช่น แกง นึ่ง ปิ้ง ป่น ซุบ และหมก ซึ่งให้รสชาติหอม นุ่ม กรอบ มัน  โดยเล่าลือกันว่าเห็ดเผาะที่เก็บจากป่าดงระแนงนี้ รสชาติดีกว่าเห็ดเผาะจากป่าอื่นทีเดียว ทั้งนี้คิดว่ามีผลจากสภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของป่า

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

นายบัวศรี กล่าวอีกว่า เห็ดเผาะมีลักษณะเป็นก้อนไข่กลมๆ สีขาว ขนาดตั้งแต่ปลายนิ้วก้อยถึงหัวแม่มือ มี 2 ชนิด คือเห็ดเผาะฝ้ายกับเห็ดเผาะหนัง โดยเห็ดเผาะฝ้ายผิวไม่ค่อยเรียบ  เนื้อแข็ง พอปรุงสุกจะกรุบกรอบ  รสชาติค่อนข้างจาง ขณะที่เห็ดเผาะหนัง ผิวเรียบ เนื้อแน่น  มีกลิ่นหอม เวลาปรุงสุกและขบเคี้ยวจะรู้สึกนุ่ม เต็มปาก เห็ดเผาะหนังจึงเป็นที่นิยมของนักเปิบมากกว่าเห็ดเผาะฝ้าย ทั้งนี้ นอกจากฝนแรกจะทำให้เกิดเห็ดเผาะขึ้นตามธรรมชาติแล้ว ยังมีอาหารป่าเกิดขึ้นหลายชนิด เช่น  แมงกอก แมงจินูน ผักหวานป่า หน่อไม้ เป็นต้น  ซึ่งชาวบ้านจะพากันมาหาเก็บไปรับประทาน  มีทั้งมากันเป็นครอบครัว  บางหมู่บ้านเหมารถมาเป็นคณะกันเลยทีเดียว เห็ดเผาะและอาหารป่า ซึ่งเป็นผลผลิตจากป่าดงระแนง จึงเป็นอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล ที่ชาวบ้านจะเก็บไปรับประทาน และเป็นการประหยัดค่าครองชีพในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดี

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ด้านนายนิยม  กิตติวงศ์ตระกูล ผู้อำนวยการส่วนทรัพยากรธรรมชาติ  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า การที่ชาวบ้านเข้าไปหาเก็บอาหารป่า ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงระแนง หรือป่าอื่นใดที่ไม่ใช่เขตหวงห้าม สามารถทำได้ ทั้งนี้ เพื่อใช้สอยในครัวเรือน หรือสำหรับเป็นอาหารในครัวเรือน ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม การเข้าไปหาอาหารในป่าดังกล่าว ต้องไม่ทำให้ป่าไม้หรือต้นไม้ได้รับความเสียหาย และจะต้องช่วยกันอนุรักษ์ เพื่อให้ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารชุมชนตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้

 

 

ชาวบ้านตาเป็นประกาย ก้มๆเงยๆออกเก็บของหายากประจำหน้าฝน 1 ปีมีครั้งเดียว งานนี้ใครดีใครได้