ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศมาตรการภาษีสรรพสามิตอุ้ม “แรงงาน-ธุรกิจ” เลื่อนเก็บภาษี “ยาสูบ” 40%

เมื่อวันที่ 8 ก.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี และอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งสามล้อแบบพลังงานไฟฟ้า กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ สนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ รวมทั้งขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ายาสูบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.2563 เป็นต้นไป

เมื่อวันที่ 8 ก.ค.63   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี และอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งสามล้อแบบพลังงานไฟฟ้า กิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ สนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ รวมทั้งขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ายาสูบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.2563 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เป็นไปตามที่นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการ รมว.คลัง ระบุก่อนหน้านี้ว่า นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้สั่งการให้กรมสรรพสามิตเยียวยาฟื้นฟูและอำนวยความสะดวกภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด- ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพื่อรักษาการจ้างงาน

โดยกรมสรรพสามิตได้ดำเนินมาตราการที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในบางสินค้า ประกอบด้วย

1.เพิ่มพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งสามล้อแบบพลังงานไฟฟ้าเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์นั่งสามล้อที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการจ้างงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด โดยกำหนดให้เสียภาษีตามมูลค่า 2% (จากเดิม 4%)


2.ปรับปรุงการเก็บภาษีเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารและสารอื่น โดยแก้ไขอัตราส่วนผสมของน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่มีการเติมสารอาหารหรือสารอื่นจาก 20% เป็น 10% เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม โดยคำนึงถึงนวัตกรรมในปัจจุบัน และผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

3.สนับสนุนให้สถานบริการคงปริมาณการจ้างงานเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างไม่ให้ตกงาน สถานบริการที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีปริมาณการจ้างงานเท่ากับก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะได้รับสิทธิเสียภาษีอัตราตามมูลค่า 0% ของรายรับของบริการจนถึงวันที่ 30 ก.ย.2563 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ดังกล่าว

 

อ่านราชกิจจาฯ