ลูกศิษย์อาลัย! หลวงพ่อมาลัย เกจิชื่อดังแห่งเมืองสมุทรสาคร มรณภาพแล้ว สิริอายุ 80 ปี

ลูกศิษย์อาลัย! หลวงพ่อมาลัย เกจิชื่อดังแห่งเมืองสมุทรสาคร มรณภาพแล้ว สิริอายุ 80 ปี

วันที่ 16 กันยายน 2563 หลวงพ่อพระครูอุทัยธรรมสาคร (หลวงพ่อมาลัย) เจ้าคณะตำบลท่าฉลอม เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ได้มรณภาพเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 เวลา 17.08 น. ด้วยโรคมะเร็งกระเพาะ หลังจากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร สิริอายุรวม 80 ปี 7 วัน 55 พรรษา

 

ลูกศิษย์อาลัย! หลวงพ่อมาลัย เกจิชื่อดังแห่งเมืองสมุทรสาคร มรณภาพแล้ว สิริอายุ 80 ปี

สำหรับประวัติพระครูอุทัยธรรมสาคร (หลวงพ่อมาลัย) วัดบางหญ้าแพรก ชาติกาลของหลวงพ่อมาลัย หลวงพ่อ เป็นคนกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 8 กันยายน 2483 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ณ บ้านเลขที่ 63 หมู่ 8 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จ.กรุงเทพมหานคร คุณย่าตั้งชื่อว่า ไอ้หมา มีนามสกุลว่า แตงอ่อน บิดาชื่อ นาย บุญธรรม แตงอ่อน มารดาชื่อ นางกิม แตงอ่อน มีพี่น้องด้วยกันทั้งสิ้น 6 คน 

 

ลูกศิษย์อาลัย! หลวงพ่อมาลัย เกจิชื่อดังแห่งเมืองสมุทรสาคร มรณภาพแล้ว สิริอายุ 80 ปี

หลวงพ่อมาลัย ได้อุปสมบถเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2509 เวลา 13.00 น. ณ วัดบางกระดี่ ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่ออายุ 25 ปี พระเทพณานมุนี วัดราชโอรสาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์สง่า การวิโก วัดบางกระดี่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สงวน อาสโภ วัดกำพร้าเป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

หลวงพ่อมาลัย ตั้งใจเอาไว้ว่าจะบวชพรรษาเดียวแล้วจะสึกเพราะฐานะทางบ้านยากจน และไม่มีใครช่วยพ่อ-แม่ ส่วนพี่ๆก็มีเหย้ามีเรือนกันไปหมดแล้ว เหลือน้องๆ อีก 2 คน แต่ก็ไม่ได้ลาสิกขาในที่สุดท่านได้ครองสมณเพศจนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2517 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล โดยมี พระเทพสาครมุนี (หลวงพ่อแก้ว) วัดสุทธิวาตวราราม (ช่องลม) มอบตราตั้งเจ้าอาวาส

 

ลูกศิษย์อาลัย! หลวงพ่อมาลัย เกจิชื่อดังแห่งเมืองสมุทรสาคร มรณภาพแล้ว สิริอายุ 80 ปี

ทั้งนี้ หลวงพ่อมาลัย เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมจนเป็นที่เลื่องลือ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าของจังหวัด และท่านยังเก่งในเรื่องภาษารามัญอีกด้วย นอกจากนี้ท่านยังสร้างถาวรวัตถุภายในวัดบางหญ้าแพรกไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถหลังใหญ่ เมรุเผาศพ ศาลาการเปรียญที่มีเอกลักษณ์ศิลปรามัญ จึงทำให้ชาวไทย ชาวจีนและชาวรามัญให้ความนับถือจำนวนมาก