เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้

เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้

วันที่ 21 ก.ย. เพจเฟซบุ๊ก กฎหมายแรงงาน ได้โพสต์ข้อความระบุว่า แค่โพสต์ระบาย ไม่ต้องด่า ก็เลิกจ้างได้ คดีนี้ลูกจ้างโพสต์ลง Facbook ว่า “ เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้วะ…ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ” และ “ใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริงๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิตเขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิงยิ่งกว่าห_อย…ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม…ตลอด 3 ปีมานี้เขาบอกว่าขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง 3 ปี…งง…ให้กำลังใจกันได้ดีมากขาดทุนทุกเดือน”...

 

เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้

ข้อความข้างต้นนี้นำมาสู่การที่ลูกจ้างคนดังกล่าวถูกเลิกจ้างโดยศาลพิพากษาว่า แม้ข้อความที่ลูกจ้างเขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับแค้นข้องใจ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจว่านายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้าง นายจ้างเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และนายจ้างกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน 

ทั้งลูกจ้างทำงานกับนายจ้างมาเป็นเวลานานย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของนายจ้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง

 

เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้

 

เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้

 

ข้อสังเกต

1) คดีนี้ศาลไม่ปรับเข้ามาตรา 119 (1) เพราะไม่น่าจะเป็นความผิดอาญาในฐานหมิ่นประมาท ทั้งนี้ เพราะเป็นลักษณะคำบ่น

2) แต่ “ฐาน” ในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ยังมีเรื่อง “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” ตามมาตรา 119 (2)

หลักในการพิจารณาน่าจะอยู่ตรงที่ว่า “ถ้อยคำดังกล่าว ทำให้นายจ้างเสียหายหรือไม่” ซึ่งศาลเห็นว่าคำดังกล่าว “ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

3) เช่นนี้จึงต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ว่าการบ่นจะนำมาเลิกจ้างได้ทุกกรณี แต่ต้องพิจารณา “เนื้อหาของคำบ่น” ว่าคนอ่านแล้วรู้สึกว่านายจ้างเป็นคนไม่ดีหรือไม่

ถ้าบ่นว่า “ช่วงนี้งานหนัก” “ต้องรีบปิดงบ” “เหนื่อย” อะไรทำนองนี้ คนอ่านไม่ได้รู้สึกว่านายจ้างเป็นคนไม่ดี แบบนี้ไม่น่าจะเลิกจ้างได้

4) ประเด็นเรื่อง “เลิกจ้างไม่เป็นธรรม” (ม.49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลฯ ) เข้าไปด้วย จะถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ แอดมินขอให้หลักง่ายๆ คือ “ถ้าเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 ก็จะเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมด้วย”

ที่มา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560

 

เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้

 

เพจ ก.ม.แรงงาน เตือนสติลูกจ้าง คิดสักนิดก่อนโพสต์ถึงนายจ้าง แค่บ่นก็ตกงานได้