ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 จากกรณีที่ เด็กๆเเละโค้ชทีมฟุตบอล จำนวน13 ราย หายตัวเข้าไปในถ้ำหลวงนางนอน อ.เเม่สาย จ. เชียงราย    โดยเมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ศูนย์วิทยุ 191 สภ.แม่สาย ได้รับแจ้งว่ามีเด็กหายเข้าไปใน ถ้ำภายใน วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้น และได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ ต.โป่งผาฯ เข้าไปตรวจสอบ ยังที่เกิดเหตุพบว่ามีคนเข้าไปในถ้ำแล้วไม่กลับออกมาจริงตามที่ได้รับแจ้ง

เมื่อเวลาประมาณ 22.25 น.  ของวันที่ 2 ก.ค. 61  นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้า การค้นหาและช่วยเหลือกลุ่มเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าพร้อมผู้ฝึกสอนรวม 13 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ผู้ว่าเชียงราย ยืนยัน ว่า เจอ 13 ชีวิตที่ติดในถ้ำหลวงแล้ว ทั้งหมดปลอดภัย ซึ่งอีก 4 ชั่วโมงจะแถลงความชัดเจน เด็กๆอยู่บนเนินนมสาว ห่างจากพัทยา บีช ไปอีก400เมตร  ทั้งหมดจะลุยงานกันต่อเนื่องทั้งคืน เเผนต่อไปคือสูบน้ำออกมาให้หมด  เพื่อให้นำเด็กๆ ออกมาได้สะดวกขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือกำลังใจจากประชาชนทั้งประเทศ ที่มีความรู้สึกเดียวกันที่รอมานานถึงสิบวัน โดยได้วางแผนการรักษาและส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลเหมือนเดิม และปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องจนกว่าน้องๆ จะออกมาอย่างปลอดภัย

.

.

โดยหลังจากนั้น มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับน้องๆออกมา โดยผู้ใชเฟซบุ๊ก "Winai Ungpinitpong" ได้โพสต์ข้อความโดยมีเนื้อหาดังนี้

โปรดระวัง Refeeding Syndrome

เตือนด่วน!!! Refeeding Syndrome ภาวะที่ร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานานและได้รับอาหารเข้าไปทันที จะเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก!!! .

เป็นเรื่องทึ่น่ายินดีที่น้องๆ ทั้ง 13 คนได้รับการช่วยเหลือและรอการลำเลียงออกมาภายนอก หลังจากติดอยู่ในถ้ำนานกว่า 9 วัน น้องอดอาหารเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการเกิด Refeeding Syndrome

การช่วยเหลือด้วยการให้น้ำและอาหารต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากในภาวะที่ร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานานและได้รับอาหารเข้าไปทันที ร่างกายจะย่อยและดูดซึมอาหาร ทำให้มีการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ แต่สภาพร่างกายที่อดอาหารนาน จะมีการขาดเกลือแร่ potassium, phosphate ดังนั้นระหว่างการนำ glucose เข้าเซลล์เพื่อสร้างเป็นพลังงานจะมีการนำ potassium, phosphate, vitamin B เข้าไปด้วยกันเป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะสมดุลย์เกลือแร่ผิดปกติรุนแรง hypokalemia, hypophosphatemia ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย หอบ หัวใจเต้นผิดปกติและอาจเสียชีวิตได้ขออนุญาตแนะนำ
1 ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการ refeeding
2 แก้ไขการขาดน้ำ (dehydration) และตรวจระดับเกลือแร่ในร่างกาย (โซเดียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส และ
แมกนีเซียม ให้การแก้ไขถ้ามีระดับเกลือแร่ผิดปกติ
3 ให้วิตามินบี1 (thiamin) 200-300 มก./วัน อาจจะให้ในรูปแบบยารับประทานชนิดเม็ด (100 มก.1เม็ด 2 ครั ้งต่อ
วัน) หรือในรปแบบยาฉีดในกรณีที่ไม่สามารถให้ยาเข้าทางเดินอาหารได้ โดยควรให้อย่างน้อย30 นาที ก่อนเริ่ม
ให้โภชนบําบัดและควรให้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2วัน (ยาฉีด) หรืออาจให้ต่อไปจนถึง 10 วัน (ยารับประทานชนิด
เม็ด) หรือจนกว่าผู้ป่ วยได้รับพลังงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นอกจากนี ้ควรได้รับวิตามินรวมและแร่ธาตุอื่นๆ อย่าง
ครบถ้วน

4 ในวันแรกควรให้พลังงานประมาณ 10 กิโลแคลอรี/กก./วัน จากนั้นค่อย ๆ ปรับเพิ่มพลังงานอย่างช้า ๆ เช่น เพิ่ม
ครั้งละ5-10 กิโลแคลอรี/กก./วัน จนถึงพลังงานเป้าหมายภายในเวลา 4-10 วัน เป็นต้น
5 การให้สารน้ำและโซเดียม ปรับตามสมดุลสารน้ำ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก และอาการทางคลินิก
6 ติดตามอาการทางคลินิกและการเปลี่ยนแปลงระดับของโพแทสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสในเลือดอย่างใกล้ชิดในช่วงที่ปรับเพิ่มพลังงาน รวมถึงแก้ไขระดับเกลือแร่ผิดปกติที่เกิดขึ้น

สุดท้าย ขอให้น้องๆและผู้มีส่วนร่วมช่วยเหลือทุกคนปลอดภัย

DR.WIN.U
3/7/2018

ข้อมูลเพิ่มเติม สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย (SPENT)

เตือนด่วน!!! Refeeding Syndrome ภาวะที่ร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานานและได้รับอาหารเข้าไปทันที จะเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก!!!

.

เตือนด่วน!!! Refeeding Syndrome ภาวะที่ร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานานและได้รับอาหารเข้าไปทันที จะเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก!!!

.

Cr.Winai Ungpinitpong