เรื่องน้ำ เรื่องใหญ่!!! ก่อนจะกำเนิดมาเป็น "โครงการแก้มลิง" กับ "ลิงแสมทรงเลี้ยง"

โครงการแก้มลิง โครงการพระราชดำริ แก้ปัญหาเรื่องน้ำ พร้อมที่มาแนวคิดเริ่มมาจาก "ลิงแสมทรงเลี้ยง" ของในหลวง ร.9


"…เมื่ออายุ ๕ ขวบ มีลิง เอากล้วยไปให้มันเคี้ยว เคี้ยว แล้วใส่ในแก้มลิง ตกลง “โครงการแก้มลิง” นี้มีที่เกิด เมื่อเราอายุ ๕ ขวบ ก็นี่เป็นเวลา ๖๓ ปี มาแล้ว ลิงสมัยโน้นลิงโบราณเขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคี้ยว แล้วเอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำนี้ไปเก็บไว้…"
(พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘)

 

ลิง

แก้มลิง เป็นการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (detention basin) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ปัจจุบันมีพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ เหนือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกำหนดในผังการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่เขียวลาย ไม่เหมาะกับการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีแก้มลิงเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่ว กรุงเทพ กว่า 20 จุด


โครงการแก้มลิง มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือ เต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"


ในโครงการ มีการวางแผนพื้นที่แก้มลิงอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานต่างๆ เช่น กทม. กรมชลประทาน เป็นต้น แก้มลิงมี 3 ขนาด จากใหญ่ กลาง เล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อการชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมา สามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่ของรัฐและเอกชน

 

 

ความเป็นมาของโครงการแก้มลิง

          โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำได้จึงค่อยระบายน้ำจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหาน้ำท่วมได้

          ทั้งนี้ นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายน้ำ ลดความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้
 
แนวคิดของโครงการแก้มลิง

          แนวคิดของโครงการแก้มลิง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมากๆ จึงมีพระราชกระแสอธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง" ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ ไว้รอการระบายเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

          ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึงทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

ประเภทของโครงการแก้มลิง

โครงการแก้มลิงมี ๓ ขนาด คือ

          ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วย เช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น

          ๒. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น

          ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือแก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง

          ทั้งนี้แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า "แก้มลิงเอกชน" ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า "แก้มลิงสาธารณะ"

การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง

          การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำนั้น ต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำคัญคือต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ ปัจจุบันมีแก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำนวนมาก และระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา

          ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

          ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลองสนามชัย และแม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

          นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย ๓ โครงการในระบบคือ


          ๑.โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
          ๒.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
          ๓.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"


          ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์  "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติถือเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับประชาชนชาวไทย ที่พระองค์ทรงใส่พระทัยสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวทรงนำลักษณะทางกายภาพของลิงแสมทรงเลี้ยง มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม

ลิงแสมทรงเลี้ยง

คุณกะลา ลิงแสมย่านบางขุนเทียน ที่ล้วงมือเข้าไปควานหาอาหารในกะลามะพร้าว จนมือติดอยู่ในกะลามะพร้าวหลายวันจนเกิดแผลติดเชื้อ รอดชีวิตมาได้ ด้วยพระเมตตาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

หลังจากชาวบ้านช่วยกันจับอยู่นาน แต่ก็ไม่สำเร็จ ด้วยพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หลังจากทอดพระเนตรข่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ทีมสัตวแพทย์ของสวนสัตว์ดุสิต นำเจ้าลิงแสมที่มือติดกะลามะพร้าวในป่าโกงกาง มาดูแลรักษาจนหายดี พร้อมกับพระราชทานนามว่า "คุณกะลา" และทรงเห็นว่าคุณกะลาอยู่เพียงลำพัง จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำลิงแสมจากสวนสัตว์ดุสิต มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนอีก 2 ตัว

โดยลิงแสมทรงเลี้ยงทั้ง 3 ตัว ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี กระทั่งคุณกะลาตายลง เมื่ออายุ 19 ปี จึงนำคุณสมศักดิ์และคุณสมศรี กลับมาอยู่ที่สวนสัตว์ดุสิตดังเดิม และจัดสร้างส่วนแสดงให้กับลิงแสมทรงเลี้ยงทั้งสอง


โดยเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2557 สวนสัตว์ดุสิตได้จัดแสดง “คุณสมศักดิ์-คุณสมศรี” ลิงแสมทรงเลี้ยง และนิทรรศการโครงการแก้มลิงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานชมรมรู้คุณแผ่นดิน เปิดเผยถึงลิงทรงเลี้ยงตัวแรก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับลิงแสมมือพิการตัวหนึ่ง โดยตั้งชื่อว่า คุณกะลา ไปเลี้ยงในพระราชวังดุสิต เนื่องจากมือของลิงแสมไปติดอยู่ในกะลาที่คนกินมะพร้าวแล้วเจาะรูทิ้งไว้จนได้รับบาดเจ็บ แม้จะรักษาจนหายแล้วแต่มือก็พิการไม่สามารถกลับเข้าฝูงเดิมได้ จึงทรงพระเมตตานำมาเลี้ยง และมีพระราชดำรัสกับสัตวแพทย์ของสวนสัตว์ดุสิต ให้นำลิงแสมจากสวนสัตว์ดุสิต มาเป็นเพื่อนคุณกะลาในวัง

เรื่องน้ำ เรื่องใหญ่!!! ก่อนจะกำเนิดมาเป็น "โครงการแก้มลิง" กับ "ลิงแสมทรงเลี้ยง"

(กรงลิงบริเวณพระตำหนักจิตลดารโหฐาน)


ทาง สวนสัตว์ดุสิต จึงได้นำลูกลิงแสมคู่หนึ่งที่ได้รับมอบจากชาวบ้าน มาทูลฯถวายเพื่อให้อยู่เป็นเพื่อนคุณกะลา

เรื่องน้ำ เรื่องใหญ่!!! ก่อนจะกำเนิดมาเป็น "โครงการแก้มลิง" กับ "ลิงแสมทรงเลี้ยง"

คุณสมศักดิ์

 

เรื่องน้ำ เรื่องใหญ่!!! ก่อนจะกำเนิดมาเป็น "โครงการแก้มลิง" กับ "ลิงแสมทรงเลี้ยง"

คุณสมศรี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงพระราชทานนามลิงแสมเพศผู้ว่า สมศักดิ์ และลิงเพศเมียว่า สมศรีและเมื่อ คุณกะลา ได้เสียชีวิตลงในเดือนมกราคม 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเกรงว่า คุณสมศักดิ์และคุณสมศรีจะเหงาหงอย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สวนสัตว์รับไปดูแลโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานค่าเลี้ยงดูลิงทั้งสองเดือนละ 1 หมื่นบาท

ก่อนหน้านี้ลิงทรงเลี้ยงทั้งสองได้รับการเลี้ยงไว้ในโรงพยาบาลสัตว์ของสวนสัตว์ดุสิต โดยแยกกรงเลี้ยง แต่เมื่อจัดทำที่อยู่ให้ใหม่กว้างขวางกว่าเก่า จึงทดลองนำมาเลี้ยงให้อยู่ร่วมกัน ซึ่งทั้งสองสามารถอยู่ร่วมกันได้ จึงเปิดให้เป็นส่วนจัดแสดงให้เยาวชนและประชาชนได้เรียนรู้พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ได้รู้จักการกินอาหารของลิงด้วยการใช้ "แก้มลิง" (คือการที่ลิงจะอมอาหารจำนวนมากไว้ในกระพุ้งแก้มก่อนจะนำมาเคี้ยวและกลืนในภายหลัง) อันเป็นพฤติกรรมที่ต่อมาได้กลายมาเป็นต้นแบบของโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยปี 2542  นั่นก็คือ "โครงการแก้มลิง" นี่เอง

 

เรื่องน้ำ เรื่องใหญ่!!! ก่อนจะกำเนิดมาเป็น "โครงการแก้มลิง" กับ "ลิงแสมทรงเลี้ยง"

 "ลิงเวลาให้กล้วยให้เงาะกิน มันใส่ปากแล้วเก็บไว้ในแก้ม ในแก้มลิง" พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

ปัจจุบัน (2560) คุณสมศักดิ์และคุณสมศรี มีอายุประมาณ 18-19 ปี ซึ่งถ้าเทียบกับอายุคนก็ประมาณ 45-50 ปี อายุขัยของลิงพันธุ์นี้จะประมาณ 25-30 ปี อุปนิสัยของคุณสมศักดิ์ค่อนข้างดุ ส่วนคุณสมศรีมีนิสัยเรียบร้อยและเชื่อง

"ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเยี่ยม ทั้งคุณสมศักดิ์และคุณสมศรีจะเรียบร้อยมาก นั่งนิ่งๆไม่ซุกซนเหมือนเวลาที่อยู่กันตามลำพัง คุณสมศักดิ์เป็นลิงที่ทานเก่ง จะอ้วน ในหลวงท่านเห็นก็ทรงรับสั่งให้ควบคุมน้ำหนักคุณสมศักดิ์ เพราะเกรงว่าถ้าอ้วนไปจะมีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ พระองค์ท่านจะให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพพลามัยของสัตว์เสมอ" สัตวแพทย์อลงกรณ์ มหรรณพ กล่าว

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 
- สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำความรู้จัก ร้านกาแฟชายทุ่ง สู่โครงการพระราชดำริ

- หนองบัวลำภู ! ทหารพร้อมราษฎรจิตอาสา ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำตามโครงการพระราชดำริ

 

 

ภัทราพร สำนักข่าวทีนิวส์