ที่มา "เสาชิงช้า" สถาปัตยกรรมโบราณ กับพิธีโล้ชิงช้า หรือ พิธีตรียัมปวาย ซึ่งจัดครั้งสุดท้ายในสมัย รัชกาลที่ 7

เสาชิงช้า

        เสาชิงช้า มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วก็ได้มีการสร้างโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้า เดิมเสาชิงช้านั้นตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัท หลุยส์ ที. เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็น บริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463ซ่อม ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.15 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มีในเดือนยี่ของทุกๆ ปี 

 

พิธีโล้ชิงช้า

      พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย หรือพิธรการโล้ชิงช้า พระราชพิธีเก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นพิธีการรับเสด็จพระอิศวร ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ที่มีมาแต่โบราณ  เสาชิงช้าใช้ในพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวรซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้า ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงสู่โลกในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว

         เมื่อพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ก็ได้เชิญเทวดาองค์อื่น ๆ มาเฝ้าและมาร่วมพิธีด้วย ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระคงคา และพระธรณี พราหมณ์จะแกะรูปสัญลักษณ์ของเทวดาแต่ละองค์เป็นเทวรูปลงในไม้กระดานสามแผ่น เพื่อทำการบูชาในเทวสถานแล้วจากนั้นจะนำไปปักในหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า หันหน้ากระดานเข้าหาตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่ง เรียกว่ากระดานลงหลุม ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่

         พระราชพิธีตรียัมปวายนี้จะกระทำในเทวสถานสำหรับพระนคร 3 เทวสถาน คือ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร และเทวสถานพระนารายณ์ โลกบาลทั้งสี่ (พระยายืนชิงช้า และนาลิวัน) จึงต้องโล้ชิงช้าถวายและรับน้ำเทพมนตร์ แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมปวายจะจัดในเดือนอ้าย(ธันวาคม) ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่ (มกราคม) พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ซึ่งในหนึ่งปีพระอิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก 10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวร แล้วผูกพรตชำระกายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร

 

การทำพิธี

พระราชพิธีตรียัมปวาย.

ตำนานพิธีตรียัมปวาย

    พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น'ต้นพุทรา' ช่วงระหว่างเสาคือ'แม่น้ำ' นาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ'พญานาค' โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

 

พลิกตำนานสยาม!! เปิดที่มาสถาปัตยกรรมโบราณ "เสาชิงช้า" ปิดตำนาน การโล้ชิงช้าครั้งสุดท้าย ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๗ #พิธีตรียัมปวาย (ชมคลิป)!!

ประวัติความเป็นมาของเสาชิงช้า
        พราหมณ์นาฬิวัน ชาวเมืองสุโขทัย มีนามว่า พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวาย อันเป็นประเพณีของพราหมณ์ มีมาแต่โบราณจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรงพุทธศักราช 2327 ต่อมาได้สร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ เทวสถาน จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน 

        การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 หน้า 5281 เป็น "โบราณวัตถุสถาน" สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อพุทธศักราช 2463 มีคำจารึกติดไว้ที่เสาชิงช้า ดังนี้

        "ไม้เสาชิงช้าคู่นี้ กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยตีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม้ได้ให้ไม้สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายหลุยส์โทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นผู้ที่เคยเข้ามาตั้งเคหะสถาน อยู่ในประเทศสยามกว่า 50 ปี สาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2463"

 

เสาชิงช้าในปัจจุบัน

    ล่วงสู่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 บริษัทหลุยส์ ที.เลียวโนเวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ได้มอบซุงไม้สักสำหรับสร้างเสาชิงช้าใหม่ ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 นับเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งแรก และซ่อมใหม่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 ครั้งนั้นเสาชิงช้ามีส่วนสูงทั้งสิ้น 21.15 เมตร  ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2490 เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากมีผู้จุดธูปกราบไหว้ ไฟจากธูปตกลงในรอยแตกและลามจนไหม้ จึงต้องซ่อมชั่วคราว จนถึง พ.ศ. 2513 เสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมากต้องเปลี่ยนเสาใหม่ โดยการบูรณะได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ

          กระทั่งวันที่ 30 กันยายน 2539 มีการซ่อมแซมอีกครั้งโดยสำนักการโยธา กทม. ได้ใช้สายเหล็กรัดเป็นโครงเหล็กประกับ คล้ายลักษณะเข้าเฝือกไม้ยึดโครงสร้างหลัก ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2548 พบว่าเสาชิงช้ามีความชำรุดทรุดโทรมมาก ปรากฏรอยผุแตกเป็นร่องลึกตลอดแนวยาว โดยเฉพาะโคนเสากลาง

          กทม.ได้ทำหนังสือขออนุญาตกรมศิลปากร เพื่อดำเนินการซ่อมแซมด้วยการเปลี่ยนเป็นเสาใหม่ทั้งหมด เน้นการแก้ไขการผุกร่อนในระยะยาว เนื่องจากสาเหตุที่เสาชิงช้าผุกร่อนได้ง่ายนั้นเป็นเพราะภายใต้ฐานเสามีน้ำซึมขัง ทางกทม.ตั้งเป้าไว้ว่าเสาชิงช้าใหม่จะยืนหยัดได้ถึง 100 ปี เมื่อเทียบกับการบูรณะครั้งก่อนหน้าที่ทำให้เสาชิงช้ามีอายุการใช้งานมากกว่า 35 ปี

คณะกรรมการบูรณะเสาชิงช้าของกทม.ได้ประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือในเรื่องการรักษาสภาพไม้ โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เสนอให้จัดทำระบบระบายน้ำ และระบบควบคุมความชื้นภายใน โดยจะติดตั้งเครื่องดูดน้ำไว้ที่ใต้ฐานเสาชิงช้า และจะต้องขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 18 เมตร เพื่อทำเป็นห้องใต้ดินควบคุมการทำงาน พร้อมวางระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

เสาชิงช้าในอดีต

พุทธศักราช 2490 เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากธูปกราบไหว้ไฟจากธูปตกลงไปในรอยแตก ทำให้คุไหม้เสาขึ้น รัฐบาลครั้งนั้นมีดำริจะรื้อ แต่เมื่อมีเสียงวิพากวิจารณ์มากขึ้นจึงระงับไว้มีคำสั่งให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว

พุทธศักราช 2502 กระจังที่เป็นลวดลายได้ผุพังลง จึงมีการเปลี่ยนใหม่และทาสี

พุทธศักราช 2513 สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงการ ปรับปรุงบูรณะ ได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2515       

การโล้ชิงช้า

        พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น'ต้นพุทรา' ช่วงระหว่างเสาคือ'แม่น้ำ' นาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ'พญานาค' โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

      พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ปัจจุบันการประกอบ พระราชพิธีนี้จะกระทำภายในเทวสถานเท่านั้น

 

ภาพของเสาชิงช้าในปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
เสาชิงช้ามีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังไม้ประมาณ 21.15 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อด้วยหินสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ชั้น ทั้ง 2 ด้าน ที่ถนนบำรุงเมืองตัดผ่านตามแนวโค้งของฐาน ติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า เสาชิงช้าแกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลมติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492

 

ภาพเสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์

สถานที่ตั้งเสาชิงช้าปัจจุบัน
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ หรือหน้า วัดสุทัศน์เทพวนาราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร เป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ โครงยึดหัวเสาทั้งคู่ แกะสลักอย่างสวยงาม ทั้งหมดทาสีแดงชาด ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- พิธีสุดยิ่งใหญ่ "โล้ชิงช้า" เตรียมกลับมาอีกครั้ง !!! หลังจากหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ "สยาม" นานถึง 86 ปี !!!
- คลิปหาชมยาก!! ปิดตำนานสุดหวาดเสียว พิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย พิธีโล้ชิงช้าครั้งสุดท้ายในแผ่นดิน..รัชกาลที่ ๗ (ชมคลิป) !!

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เสาชิงช้า

              https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชพิธีตรียัมพวาย_ตรีปวาย

คลิปจาก : https://www.youtube.com/watch?v=nvH6hOFSzoM