10 อาหารแสลงต้องห้ามเมื่ออยู่ในการรักษาโรค

เมื่อเวลาที่เราไม่สบาย สุขภาพไม่ดี หลักการสำคัญที่จะทำให้เราหายป่วยได้คือการพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามโรค แต่ถึงแม้ว่าได้รับการรักษาแล้วเราต้องดูแลตัวเราอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ซึ่งเรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติเมื่อเวลาที่เราป่วยเสมอว่าไม่ควรกินนั่นกินนี่เพราะเป็นอาหารแสลง วันนี้เรามาดูกันว่า 10 อาหารแสลงต้องห้ามทาน เมื่อเวลาที่เราป่วยกำลังพักรักษาโรคนั้น มีอะไรบ้าง

ไบโอเดอร์มา
สุขภาพและความงามโดยแนน

 

อาหารแสลง

1.อาการไข้สูง  ห้ามกินอาหารรสเผ็ดร้อน เปรี้ยว และมัน
อาการไข้สูงเกิดจากธาตุไฟกำเริบ ทำให้ร่างกายมีความร้อนมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นการกินอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เปรี้ยว และมัน จะเป็นตัวเสริมให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น

2.อาการไอเจ็บคอ ไม่ควรทานอาหารมัน อาหารทอด และน้ำเย็นเพราะ จะทำให้มีอาการมากขึ้น
ซึ่งโดยปกติการไอเป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกาย เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม ที่ติดหรืออุดกั้นบริเวณหลอดลมและปอด ดังนั้นหากกินของพวกนี้ไปจะส่งผลให้หลอดลมเกิดการระคายเคืองตลอดเวลา

3.ท้องผูก ไม่ควรทานอาหารที่มีรสฝาด
เมื่อเกิดอาการท้องผูก แนะนำให้ทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว ซางมีสารแอนทราควิโนน เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้มีการบีบตัว และไม่ควรทานอาหารที่มีรสฝาด

4.กินถั่วลิสง ไข่ ทำให้เกิดแผลเป็นนูน
แม้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า โปรตีนเป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์กรดแอมิโนในกระบวนการสร้างคอลลาเจน เพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น แต่การแพทย์แผนไทยก็ยังมีการห้ามกิน เพราะในอดีตกลัวว่าการกินโปรตีนที่มากจนเกินไปนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดการซ่อมแซมของร่างกายมากเกินไป จนเป็นแผลคีลอยด์หรือแผลนูนแดง

 

5.อาหารที่ทำให้เกิดอาการคัน เช่น อาหารทะเล อาหารหมักดอง
โดยอาการคันเกิดจากความผิดปกติของระบบน้ำเหลือง หรือระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งการห้ามกินอาหารทะเล และอาหารหมักดองนั้น จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย เช่น การแพ้สารไคตินจากเปลือกกุ้ง การแพ้สารเคมีที่ใช้ในอาหารหมักดอง

 

6.ท้องอืดท้องเฟ้อ ห้ามกินอาหารรสเย็น ขม ฝาด
หากใครที่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่ควรทานอาหาร ผักสดและผลไม้ที่มีรสเย็นจัด เพราะการกินในปริมาณมากเกินไป จะทำให้มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้

7.ไข้ทับระดู ห้ามกินอาหารรสเผ็ดร้อนและรสเย็นจัด
อาหารรสเผ็ดร้อน ส่งผลให้ธาตุไฟในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งจะเข้าไปเร่งอุณหภูมิให้ร่างกายให้ร้อนขึ้นอีก ส่วนอาหารรสเย็นจัด เช่น แตงโม น้ำมันมะพร้าว รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด น้ำส้มสายชู ถึงแม้ว่าความเย็นจะช่วยให้ความร้อนลดลงบ้าง แต่ถ้าเป็นรสเย็นจัดก็ควรต้องระมัดระวัง เพราะการพยายามทำให้ร่างกายเย็นลงอย่างรวดเร็วนั้น จะส่งผลให้ธาตุในร่างกายแปรปรวน ทำให้อาการแย่ลง อีกทั้งความเย็นจะทำให้ธาตุลมไหลเวียนไม่สะดวก เกิดการหดรัดและหนาตัวของมดลูก จนอาจทำให้มีอาการปวดมากขึ้นไปอีก

8.ห้ามกินข้าวเหนียว
ทางแพทย์แผนไทย เชื่อว่าการกินข้าวเหนียวทำให้เลือดมีความหนืด การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ไม่ดี แทนที่จะหายได้ไวขึ้น กลับทำให้หายช้าลง เนื่องจากข้าวเหนียวทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และให้พลังงานมากกว่าข้าวธรรมดานั่นเอง

9. ห้ามกินหน่อไม้
ซึ่งหนี่อไม้เป็นอาหารแสลงในตำราแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคกระดูกและข้อ เพราะหน่อไม้มีสารพิวรีนสูง เป็นสารต้นแบบในการผลิตกรดยูริก ส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ หรือมีอาการปวดข้อได้

10.ห้ามกินเครื่องในสัตว์
เครื่องในสัตว์ มีปริมาณสารพิวรีนสูง ส่งผลโดยตรงกับคนที่เป็นโรคเกาต์ หรือมีอาการปวดข้อ ดังนั้นไม่แนะนำให้คนที่มีภาวะกรดยูริกในร่างกายสูงกิน