พระอุปคุต"พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มาก บำเพ็ญเพียรใต้ท้องมหาสมุทร

ประวัติพระอุปคุต พระเถระ ที่เกิดในช่วงยุคหลังของพระพุทธเจ้า

เชื่อกันตามประวัติกล่าวว่าท่านเป็นบุตรของเศรษฐีของเมืองมถุรา ริมฝั่งแม่น้ำยมนา เกิดหลังพระพุทธองค์ปรินิพานแล้ว ๒๐๐ ปีแต่เนื่องจากบิดาได้เคยสัญญาก่อนที่จะมีบุตรต่อพระสาณวารี ว่าหากมีบุตรชายจะให้ออกบวช จนกระทั้งได้บุตรชาย ( พระอุปคุต ) เมื่อถึงอายุบวชท่านก็ได้ออกบวชหลังจากออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา

 

พระอุปคุต

พระอุปคุต

 

พระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมตามรอยพระพุทธองค์และได้บำเพ็ญอยู่ใต้ท้องทะเล หรือสะดือทะเลจากนั้นไม่นาน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในครั้งนั้นพุทธศาสนาเสื่อมถอยลงเนื่องจาก มีกลุ่มชาวบ้านแฝงมาอาศัยผ้าเหลืองหากินทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เสื่อมศรัทธาในพระศาสนา ในครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชดำรัสที่จะชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ ตามเจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางการดำเนินแนวทางไว้ให้ จึงทรงสร้างพระสถูปเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์

 

ครั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์จะจัดการฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ ให้สมพระราชศรัทธา โดยจะจัดฉลองเป็นเวลาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ทรงเห็นว่า งานสมโภชพระมหาธาตุนี้เป็นงานใหญ่ เกรงว่า จะมีอันตรายและมีปัญหาต่างๆพระองค์ทรงขอให้คณะสงฆ์หาทางช่วยป้องกันเหตุต่างๆโดยขอให้คัดเลือกพระเถระผู้สามารถมาช่วยป้องกันภัยอันตราย เมื่อพระเถระเข้าญาณพิจารณา ก็ทราบด้วยญาณของตนว่า เนื่องในงานสมโภชพระมหาเจดีย์ครั้งนี้ภัยจะเกิดขึ้น ต่างก็หาวิธีแก้ไขต่างๆ จึงได้ทำการปรึกษากับคณะสงฆ์

 

เปิดตำนาน "พระอุปคุต"พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มาก..บำเพ็ญเพียรใต้ท้องมหาสมุทร..

พระอุปคุต

 

พระสงฆ์ทั้งปวงจึงกล่าวว่า “พระอุปคุตที่จำศีลอยู่กลางสะดือทะเล เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์มากสามารถเนรมิตครอบแก้วคลุมตนไว้ ควรที่มหาบพิตรจะไปอาราธนามาดูแลละป้องกันภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น”พระองค์ทรงทราบความจึงขอให้คณะสงฆ์ ไปทำการอาราธนา พระเถระทั้งหลายจึงให้พระภิกษุหนุ่ม ๒ รูป ผู้ทรงอภิญญาสมาบัติไปอาราธนาพระอุปคุต ( ชื่อเต็มว่า พระกีสนาคอุปคุตมหาเถระ ) มาสู่ที่ประชุม พระภิกษุ ๒ รูปนั้น จึงเข้าญาณสมาบัติระเบิดน้ำลงไปหาท่านพระอุปคุตแล้วแจ้งให้ทราบว่า “บัดนี้คณะสงฆ์ทั้งหลายมีเถรบัญชาให้ข้าพเจ้าทั้งสองมาอาราธนาพระคุณท่านไปร่วมการประชุมเพื่อปรึกษางานพระพุทธศาสนา”

 

พระอุปคุตเถระทราบสังฆบัญชาเช่นนั้น คิดว่าจะต้องไปร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะขัดคณะสงฆ์ไม่ได้ ต้องเคารพอำนาจแห่งหมู่สงฆ์ และงานนี้ก็เป็นงานพระพุทธศาสนา จากนั้นพระอุปคุตเถระจึงบอกภิกษุ ๒ รูปนั้นว่า “ท่านจงกลับไปก่อนเถิด เราจะตามไปทีหลัง” พระภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้นกราบลาเดินทางล่วงหน้ามาก่อน พระอุปคุตจึงเข้าญาณสมาบัติมาถึงสำนักพระเถรานุเถระทั้งหลาย ก่อนภิกษุหนุ่ม ๒ รูป พระสงฆ์เถระประชุมสงฆ์ จึงกล่าวแก่พระอุปคุตว่า “คณะสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่ท่าน เพราะความผิดที่ท่านไม่มาร่วมสังฆกรรม ทำอุโบสถ ฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกับคณะสงฆ์ “พระอุปคุตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีรับทัณฑกรรมที่คณะสงฆ์จะลงโทษ”

 

พระสงฆ์เถระในที่ประชุมสงฆ์แล้วว่า “บัดนี้พระยาศรีธรรมาโศกราช ทรงปรารถนาจะทำการสมโภชพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ๘๔,๐๐๐ องค์ ที่ทรงสร้างไว้ในชมพูทวีปทั้งหมด ต้องใช้เวลาถึง ๗ปี ๗เดือน ๗ วัน ให้สมพระราชศรัทธา แต่เกรงว่าการสมโภชนั้นจะไม่พ้นภัย เกรงพญามารจะขัดขวางทำลายไม่ให้พระราชพิธีสมโภชนั้นดำเนินไปด้วยดี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ตรัสให้คณะสงฆ์ช่วยป้องกัน พระอุปคุต จึงถาม “พระคุณเจ้าทั้งหลายแจ้งมาว่า จะให้ข้าพเจ้าทำประการใด” พวกเราไม่มีใครสามารถจะช่วยได้ เห็นแต่ท่านผู้เดียวเท่า

 

พระอุปคุตจึง ก้มลงกราบแล้วกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายินดียอมรับทัณฑกรรม” เมื่อได้ผู้ป้องกันภัยอันตรายในการบำเพ็ญกุศลแล้ว คณะสงฆ์ โดยมี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน จึงถวายพระพรให้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ๆ ทรงโสมนัสยิ่งนัก นั้นอีก แล้วมาเพื่อป้องกันภัยในครั้งนั้น จากนั้นข่าวการสมโภชพระมหาธาตุก็ได้กระจายไปทั่ว ครั้งต่อมาพระองค์ทอดพระเนตรเห็นองค์พระอุปคุตมหาเถระแล้วก็หนักพระทัย เพราะท่านมีร่างกายผ่ายผอมและทรงเล็กมาก พระองค์จึงทดสอบโดยเมื่อครั้นรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นพระอุปคุตเดินไปบิณฑบาตทรงมีพระราชบัญชาสั่งให้พนักงานเลี้ยงช้าง ปล่อยช้างตกมันไล่พระอุปคุตเพื่อทดสอบ

 

พระอุปคุตมหา เถระเห็นช้างวิ่งไล่มาข้างหลัง จึงเข้าญาณสมาบัติอธิษฐานจิตให้ช้างตัวนั้นแข็งประดุจหิน ไม่อาจขยับเขยื้อนได้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงขอขมาและทรงพอพระทัยยิ่งนัก เกิดความเคารพนับถือพระมหาเถระอุปคุตเป็นอันมาก ครั้นได้มงคลฤกษ์จึงเริ่มบุญพิธีสมโภชพระมหาเจดีย์ตามพระราชประสงค์ ครั้งพญามารรู้ข่าวจึงคิดจะหยุดงานสมโภช ตำนานกล่าวว่า พญามาร หรือ พญาวัสวดีมาราธิราช ซึ่งเป็นตนเดียวกับที่ขัดขวางพระพุทธองค์ครั้งบำเพ็ญเพียรก่อนที่จะตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ คิดจะทำลายพิธีนั้น จึงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดมหาวาตพายุอย่างร้ายแรง มีกำลังพัดมาประหนึ่งจะถล่มแผ่นดินให้ทลาย พระอุปคุตเถระเห็นอากาศวิปริตอย่างนั้นทราบชัดด้วยญาณอันประเสริฐของท่าน ว่า บัดนี้พญามารมาทำลายแล้ว

 

พระพุทธรูปพระอุปคุต

พระอุปคุต

 

 

ท่านจึงเข้าญาณสมาบัติโดยพลัน อธิษฐานให้เกิดเป็นลมเหมือนกัน แต่ลมของพญามารก็พ่ายแพ้ พญามารก็แผลงฤทธิ์ใหม่ เป็นลมกรด เป็นเพลิง เป็นทรายเพลิง เร่าร้อนด้วยไฟ และประการอื่นอีกหลายอย่างเพื่อทำลายพิธีฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ จนพญามารเกิดโทสะแรงกล้าพยายามจะทำลายล้างพระมหาเถระ จึงปรากฏตัวเป็นพญามาร

 

คาถาบูชา

บูชาพระอุปคุต

อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

หรือ

(แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)

 

คำบูชาพระมหาอุปคุต

นโม ๓ จบ

พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ

อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ

(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)

 

พระอุปคุต พระอุปคุต

พระอุปคุต

 

คำบูชาขอลาภพระอุปคุต

มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ

เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ

 

พระเงินพระอุปคุต

พระอุปคุต

 

วิธีสวดขอลาภ

ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวด นะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมดคาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร

 

นโม ๓ จบ

มหาอุปคุตโต มหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ

(คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ ๑๐๘ ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก ๓ - ๗ คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)

 

ภาพวาด

พระอุปคุต

 

คำบูชาพระบัวเข็ม

นโม ๓ จบ

กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ

พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม

ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ

 

หรือ

จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโร นานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตา สัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ

 

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน (บูชาพระอุปคุต)

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน หรือที่ชาวเหนือเรียกกันว่า “ประเพณีเพ็งพุธ” (คำว่า “เพ็ง” เป็นคำพื้นเมือง มีความหมายว่า คืนวันเพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง) นับเป็นประเพณีที่ดีงามของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย ในอดีตอาณาจักรล้านนาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ตั้งแต่คราวที่พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่ายกทัพมาตี เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๑ เรื่อยมาเป็นระยะเวลานานเกือบ ๒๐๐ ปี ดังนั้น ประเพณีวัฒนธรรมของล้านนาจึงมีลักษณะการผสมผสานระหว่างขนบธรรมเนียมของไทลื้อ (ในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน) กับชาวไทใหญ่ในรัฐฉานของพม่า อิทธิพลดังกล่าวได้แทรกซึมไปถึงความเชื่อ ความศรัทธาของชาวล้านนาอย่างแนบแน่น

 

ประเพณีเพ็งพุธ เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลที่มาจากทางพม่าอย่างที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) ว่า (“ชาวเมืองรางกูน” หรือ “ย่างกุ้ง” แปลว่า No more War หรือไม่มีสงครามอีกแล้ว) ชาวเมืองรางกูนผู้หนึ่งได้ตักบาตรแก่พระอุปคุตเถระแล้ว ได้เป็นเศรษฐี ชาวเมืองรางกูนทั้งปวง จึงพากันหุงข้าวแต่ยังไม่สว่าง คอยตักบาตรแก่พระอุปคุตเถระ จนทุกวันนี้ก็ยังมีความนับถือพระอุปคุตเช่นนี้แพร่หลายมากขึ้น

 

พระอุปคุต เนื้อสำริด

พระอุปคุต

 

ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน ชาวชาวล้านนา กล่าวคือ พระภิกษุสามเณรในเมืองจะออกบิณฑบาตในช่วงเที่ยงคืน ในทุกปีที่มีวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในเดือนใด ดังนั้น บางปีอาจจะมีเพียงครั้งเดียว หรือ ๒ ครั้ง และบางปีก็ไม่มีเลย

 

ดังนั้น เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวเหนือที่มีความเชื่อ ความศรัทธา พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม ก็จะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรกันตามถนนสายต่าง ๆ

 

การใส่บาตรเที่ยงคืนของคนไทยทางภาคเหนือนี้ ต่างเชื่อกันว่าพระอุปคุตพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มากจะออกจากการจำพรรษาเหาะขึ้นมาจากมหาสมุทร (หรือสะดือทะเล) โดยจะแปลงกายเป็นสามเณรน้อย ออกมาโปรดสัตว์ (อิงตำนาน “ปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งกล่าวถึงสามเณรอายุ ๗ ขวบ ช่วยป้องกันอันตรายให้พญานาคพ้นจากการเบียดเบียนของพญาครุฑ เป็นผู้บอกข่าวพระอุปคุตแก่คณะสงฆ์ว่า พระอุปคุตเถระ สามารถทรมานพญามาร ที่มาก่อกวนพิธีฉลองพระสถูปเจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้) ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้ว บุคคลผู้นั้นจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี บังเกิดแต่สิ่งดีที่เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

 

พระอุปคุต พระอุปคุต พระอุปคุต

พระอุปคุต

 

ดังนั้น เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ ชาวเหนือจะนิยมไปคอยใส่บาตรมากเป็นพิเศษเพราะถือว่าได้อานิสงส์มาก คติดังกล่าว เป็นความเชื่อที่มีมาช้านานของชาวเหนือ

 

ในส่วนของประวัติของพระอุปคุต ได้ทรมานพระยาวัสวดีมาร ซึ่งจะมาก่อกวนงานพระราชพิธีฉลองพระสถูปเจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เนรมิตสุนัขเน่ามีกลิ่นเหม็นไปผูกติดไว้ที่คอของพญามารพร้อมกับอธิษฐานว่า “ไม่ว่าจะเป็นใคร เป็นเทพยดาหรือพรหมก็ตามที ขออย่าสามารถปลดเปลื้องหรือแก้ออกได้” ซึ่งจากตำนานก็จะมีแต่พระอุปคุตเถระเท่านั้นที่จะเป็นผู้แก้ไขได้ ดังนั้น ท้ายที่สุด พญามารหมดฤทธิ์ มีจิตอ่อนน้อมในพระพุทธศาสนา พระอุปคุตเถระพิจารณาเห็นความเป็นไปในทางตั้งใจดีของพญามารแล้ว จึงช่วยแก้ไขให้ ฯลฯ

 

เรื่องราวประวัติของพระอุปคุตเถระผู้มีมหิทธิเดชานุภาพรูปนี้ ตามตำนานไม่ได้กล่าวว่าท่านดับขันธปรินิพพานหรือยัง ท่านอาจจะมีชีวิตอยู่ถึงกัปหนึ่งก็ได้ ด้วยอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนาของท่าน ตามหลักฐานที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระอานนทเถระไว้ว่า “ผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ให้มาก กระทำให้เป็นญาณ กระทำให้เป็นที่ตั้งไว้เนือง ๆ สะสมรอบแล้วและปรารถนาดีแล้ว ผู้นั้นประสงค์จะอยู่ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัปก็ได้”......

 

องค์พระพระอุปคุต

พระอุปคุต

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มาก..บำเพ็ญอยู่ใต้ท้องทะเล เผยตำนาน "พระอุปคุต"ผู้ใดหมั่นบูชา..อานิสงส์สูงล้น มีโชคมีลาภ ป้องกันภัยทั้งปวง ๑๐๘ ประการ.

-วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน..น้อมบูชา "พระอุปคุต"พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์มาก.อานิสงส์สูงล้น มีโชคมีลาภ ป้องกันภัย.. #พระบัวเข็ม

 

ปล.พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็มคือองค์เดียวกัน

 

อ่านเพิ่มเติม... "๕ คาถาเด็ด ถอนของ ไล่ผี ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย"

 

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

วัดป่าคลองกุ้ง จันทบุรี

เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน