ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

เนื่องด้วยสถานการณ์ในช่วงนี้ เป็นช่วงหน้าฝน ทำให้กรุงเทพมหานครของเราเกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ เราจึงรวมภาพเหตุกาณ์ในอดีตที่กรุงเทพเกิดน้ำท่วม ด้วยเหตุที่สยาม เป็นพื้นที่ราบลุ่ม บ้านเมืองของเราจึงเต็มไปด้วยคูคลอง ทั้งที่เป็นคลองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและคลองที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นับเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราโดยแท้ จากการที่มีคูคลองจำนวนมากนั้น กรุงรัตนโกสินทร์จึงได้รับขนานนามว่า เวนิชตะวันออก

เนื่องด้วยสถานการณ์ในช่วงนี้ เป็นช่วงหน้าฝน ทำให้กรุงเทพมหานครของเราเกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ เราจึงรวมภาพเหตุกาณ์ในอดีตที่กรุงเทพเกิดน้ำท่วม ด้วยเหตุที่สยาม เป็นพื้นที่ราบลุ่ม บ้านเมืองของเราจึงเต็มไปด้วยคูคลอง ทั้งที่เป็นคลองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและคลองที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นับเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราโดยแท้ จากการที่มีคูคลองจำนวนมากนั้น กรุงรัตนโกสินทร์จึงได้รับขนานนามว่า เวนิชตะวันออก

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

น้ำท่วมบริเวณสี่พระยา

 

บ้านเมืองของเราครั้งก่อน สงบ ร่มเย็น เมื่อประเทศของเราเริ่มมีวัฒนาการเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ประชากรเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีห้วย หนอง คลอง บึง เป็นจำนวนมากที่ใช้เป็นเส้นทางสัญจรและยังใช้เป็นแหล่งระบายน้ำตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เมื่อความเจริญเข้ามามากขึ้น พื้นที่คลอง บึง ต่าง ๆ ถูกถมให้เป็นถนนหนทาง กลายเป็นอาคารบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เพื่อรองรับกับความเจริญและปริมาณประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้แหล่งระบายน้ำธรรมชาติมีน้อยลงตามไปด้วย เมื่อยามเมื่อน้ำเหนือไหลหลาก น้ำทะเลหนุน และเหตุแผ่นดินทรุดตัว เหตุนี้ประเทศสยามของเราจึงประสบกับปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ  

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

ภาพน้ำท่วมกรุงเทพฯ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๓

 

ปัญหาน้ำท่วมไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบัน  ปัญหาอย่างเดียวแต่สภาพบ้านเมืองที่แปรเปลี่ยนไปการดำรงชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนไป  สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญ ๆ ในสยามนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

ถนนพลับพลาไชย กรุงเทพมหานคร ถ่ายเมื่อปี ค.ศ.๑๙๕๐

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

บริเวณหน้ากระทรวงสาธารณสุข ปีพ.ศ.๒๔๘๕

 

น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ ในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว

น้ำท่วมเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๖๒ ในรัชกาลที่ ๒ ข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๓ คราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ในรัชกาลที่ ๔ และเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๐ อีกคราวหนึ่งแต่เสียหายไม่มาก เพียงท่วมภายนอกกำแพงพระราชวังเท่านั้น

น้ำท่วมเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๒ ในรัชกาลที่ ๕ น้ำท่วมเพียงประตูพิมานไชยศรี

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชกาลที่ ๖ น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้าถึงกับมีการแข่งเรือกันได้

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

ภาพน้ำท่วมในสมัยรัชกาลที่ 5

น้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เริ่มท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึง ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕ น้ำท่วมมากกว่าปี พ.ศ.๒๔๖๐ เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ ๒.๒๗ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

น้ำท่วม พ.ศ.๒๕๑๘ เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๒๑ เกิดจากพายุ ๒ ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

บริเวณอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

น้ำท่วมเยวราชในปี พ.ศ. ๒๔๙๓

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

น้ำท่วมท่าเรือแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

 

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๒๓ เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ๒.๐๐ เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง ๔ วัน สูงถึง ๒๐๐ มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๒๖ น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม โดยวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ ๒๑๑๙ มม.

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

ภาพน้ำท่วมในอดีตบริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ ๘ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๙ เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก ๒๕๔ มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ ๒๗๓ มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๓๓ ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง ๖๑๗ มม.

 

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

ภาพน้ำท่วมในอีดตไม่ทราบปี รถเมล์สาย ๗๑ กำลังลุยน้ำ

 

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อวันที่ ๗ และ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๗ วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ ๔๕๗.๖ มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน ๒๐๐ มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหานคร

 

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๓๘ มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๘ มีค่าระดับสูงถึง ๒.๒๗ เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง ๕๐ - ๑๐๐ ซ.ม.

 

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๓๙ มีระยะเวลาท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม ๒๕๓๙ ตั้งแต่หลังปี ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ

 

 

ภาพประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งสำคัญในอดีต

ภาพน้ำท่วมบริเวณตลาดบางซื่อ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๑

 

น้ำท่วม พ.ศ. ๒๕๔๑ น้ำท่วมเกิดจากฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วัดน้ำฝนได้สูงสุดที่สถานีดับเพลิงพญาไท ๒๕๔๑ มม. จุดที่น้ำในถนนแห้งช้าที่สุดที่ถนนประชาสงเคราะห์(จากแยกดินแดงยาวตลอดสาย) เขตดินแดงท่วมสูง ๒๐ ซม. นาน ๑๙ ชม. โดยท่วมสูงสุดที่ถนนเพลินจิต และถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ท่วมสูง ๒๐ - ๔๐ ซม. นาน ๑๑ ชม.

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.lovesiamoldbook.com