หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

เจ้าศรีพรหมาเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2431 มีพระนามเดิมว่า เจ้าศรี เป็นพระธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) มีเจ้าพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 5 องค์ เป็นชาย 3 องค์ (ถึงแก่กรรมหมด) หญิง 2 องค์ คือ เจ้าบัวแก้ว ณ น่าน และเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน (ซึ่งท่านเป็นองค์สุดท้อง)

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา พระธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดชเจ้าประเทศราชผู้ครองนครน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) เป็นหม่อมเอกในหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

(ภาพนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายให้ด้วยฝีพระหัตถ์และทรงตั้งไว้ในห้องพระบรรทม)

 

เจ้าศรีพรหมาเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2431 มีพระนามเดิมว่า เจ้าศรี เป็นพระธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช เจ้าประเทศราชผู้ครองนครน่าน กับหม่อมศรีคำ (ชาวเวียงจันทน์) มีเจ้าพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 5 องค์ เป็นชาย 3 องค์ (ถึงแก่กรรมหมด) หญิง 2 องค์ คือ เจ้าบัวแก้ว ณ น่าน และเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน (ซึ่งท่านเป็นองค์สุดท้อง)

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรักษ์) และคุณหญิงอุ๊น ภริยา ได้ทูลขอเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน กับพระเจ้าสุริยะพงศ์ผลิตเดชเป็นธิดาบุญธรรมเมื่ออายุได้ 3 ปีเศษ ตามบิดาและมารดาบุญธรรมไปกรุงเทพ เข้าศึกษาที่โรงเรียนสุนันทาลัย เป็นเวลา 5 เดือน และโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) 8 เดือน

ปี พ.ศ. 2442 พระยามหิบาลฯ และภริยา ต้องเดินทางไปรับราชการที่ประเทศรัสเซีย จึงต้องถวายตัวเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ไว้ในพระอุปการะสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน จึงใช้ชีวิตและทรงเรียนหนังสืออยู่ในวังกับเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ เป็นเวลา 3 ปี ต่อจากนั้นจึงตามพระยามหิบาลฯ และครอบครัวไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย และประเทศอังกฤษ ตามลำดับ หลังจากกลับจากต่างประเทศ ก็กลับเข้ารับราชการ ในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์ ในบางครั้งยังทำหน้าที่เป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างประเทศ

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

มีเรื่องเล่าว่า "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ทรงพึงพอพระราชหฤทัย ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ ตรัสขอเจ้าศรีพรหมาด้วยพระองค์เอง ให้รับราชการในตำแหน่งเจ้าจอม เจ้าศรีพรหมาได้กราบบังคมทูลพระกรุณาปฏิเสธเป็นภาษาอังกฤษว่า ท่านเคารพพระองค์ท่าน ในฐานะพระเจ้าอยู่หัว แต่มิได้รักใคร่พระองค์ในทางชู้สาว" ในกราบบังคมทูลปฏิเสธ โดยเลี่ยงไม่ใช้ภาษาไทย แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษ" เป็นการง่ายต่อการกราบบังคมทูลปฏิเสธ และไม่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย เรื่องความกล้าของเจ้าศรีพรหมาครั้งนี้ และพระมหากรุณาของรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมา มิทรงได้ถือโทษ ยังพระราชทานเมตตาต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมาตราบจนเสด็จสวรรคต

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามเจ้าศรี เป็น "เจ้าศรีพรหมา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เจ้าศรีพรหมาจึงมีฐานะเป็น “หม่อมศรีพรหมา” มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี หม่อมเจ้าสิทธิพร ซึ่งรับราชการในตำแหน่งอธิบดี ในกระทรวงเกษตร ถวายบังคมลาออกจากราชการซึ่งก็ถูกห้ามปรามอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อยู่ที่บางเบิด (ปัจจุบันคือตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มทำการเกษตรบนที่ดินของหม่อมเจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา ที่ได้รับเป็นมรดกจากท่านเจ้าคุณมหิบาลฯ โดยปลูกผักสวนครัว พืชไร่ เลี้ยงไก่ สุกรพันธุ์เนื้อ และโคนม และต่อมาขยายกิจการเป็นฟาร์ม มีผลผลิตประสบความสำเร็จครั้งแรกของไทย ฟาร์มนี้ยังเป็นสถานีทดลองทางการเกษตรที่มีผลต่อ กสิกรรมในวงกว้าง เป็นผลทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ของไทย

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น ซึ่งหม่อม เจ้าศรีพรหมานับเป็นคนไทยคนแรกที่ทำหมูแฮมและเบคอนได้ในประเทศไทยในสมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หม่อมเจ้าสิทธิพรกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม กระทรวงเกษตร เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาจึงต้องติดตามมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งในวาระที่หม่อมเจ้าสิทธิพรดำรงตำแหน่งอยู่ กรมตรวจกสิกรรมสามารถส่งข้าวเข้าประกวดได้รางวัลชนะเลิศเป็นที่ 1 ของโลก

 

แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องออกจากราชการ และเกิดกบฏบวรเดช ซึ่งพระเชษฐา คือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงเป็นหัวหน้าในการก่อการแย่งชิงอำนาจกลับคืนจากคณะราษฎรผู้ปกครองแผ่นดิน ซึ่งเปลี่ยนระบบการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมก่อการด้วย แต่การก่อการไม่สำเร็จ ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องโทษจำคุกตลอดพระชนม์ชีพ ที่เกาะตะรุเตา และเกาะเต่า ภายหลังได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม จึงจำคุกเพียง 11 ปี หม่อม เจ้าศรีพรหมาต้องรับภาระหนักทั้งเลี้ยงดูโอรสธิดา ดูแลกิจการที่อำเภอบางเบิด และ ตามไปส่งอาหารและยาให้หม่อมเจ้าสิทธิพรตามสถานที่ต่างๆ ที่ถูกคุมขังไว้

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา พิราลัยเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2521 ชันษาได้ 90 ปี พระอัฐิของท่านได้นำมาประดิษฐานไว้ที่ ณ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารร่วมกับพระอัฐิของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

 

หม่อมเจ้าศรีพรหมา สตรีผู้ปฏิเสธรักจาก รัชกาลที่ 5

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/หม่อมศรีพรหมา_กฤดากร_ณ_อยุธยา