ฟองน้ำล้างจาน  แหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข ว่ามีสถิติผู้ป่วย โรคอาหารเป็นพิษ ประจำปี ๒๕๕๒ นั้นสูงถึง ๑ แสนรายต่อปี และสาเหตุสำคัญมาจากอุปกรณ์ทำความสะอาดภาชนะชนิดนี้นั่นเอง


    "ฟองน้ำ” หรือ "แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่ใช้กันอยู่ในทุกครัวเรือนท่านทราบหรือไม่ว่าหากทำความสะอาดไม่ถูกสุขลักษณะ อาจเป็นแหล่งสะสม ขยายพันธุ์ และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียไปสู่เครื่องใช้ในครัวเรือนทั้ง จาน ชาม ช้อน ซ้อม หรืออื่นๆ ที่เรามั่นใจว่าล้างทำความสะอาดแล้วเป็นอย่างดีได้

    เนื่องจากมีข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข ว่ามีสถิติผู้ป่วย โรคอาหารเป็นพิษ ประจำปี 2522 นั้นสูงถึง 1 แสนรายต่อปี และสาเหตุสำคัญมาจากอุปกรณ์ทำความสะอาดภาชนะชนิดนี้นั่นเอง เพราะ "ฟองน้ำ” หรือ "แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่เราใช้กันอยู่อาจเป็นแหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียไปสู่เครื่องใช้ที่เรามั่นใจว่าล้างทำความสะอาดแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งแบคทีเรียที่แฝงอยู่ใน "แผ่นใยขัดล้างจาน” หรือ "ฟองน้ำ” นั้น สามารถเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ อาทิเช่น โรคอาหารเป็นพิษซึ่งเกิดจากการเพาะบ่มของเชื้อแบคทีเรีย "ซัลโมเนลล่า” ที่ติดมากับวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เป็นต้น


    ดังนั้นเรามีวิธีลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียใน แผ่นใยขัดล้างจาน หรือ ฟองน้ำ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน และควรทำหลังจากที่ผ่านการล้างทำความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ แล้วนั้น เราก็ควรต้องทำความสะอาดฟองน้ำด้วยเช่นกันพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค มีวิธีการลดการสะสมเชื้อด้วย 

ฟองน้ำล้างจาน  แหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรีย

1.ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อโรค เป็นวิธีที่ปฏิบัติได้ง่าย โดยหลังจากที่เราใช้งานแล้วให้ใช้น้ำยาล้างจานบีบใส่ฟองน้ำ ล้างออกด้วยน้ำสะอาด บีบน้ำออกให้แห้งและนำไปตากแดดหรือทิ้งไว้ในที่แห้งหรือถ้าจะให้ดีควรนำไปตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 ชมและเก็บควรเก็บแยกฟองน้ำแต่ละชนิดที่ใช้ต่างกันแยกจากกัน เช่น ฟองน้ำที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดน้ำมัน วัตถุดิบทั่วไป ฟองน้ำใช้ สำหรับล้างแก้ว ล้างจาน เป็นต้น เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนจากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่ง 

 

ฟองน้ำล้างจาน  แหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรีย


2.ใช้ความเป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู โดยการใช้น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 1 แก้ว แช่ฟองน้ำค้างคืนซึ่งสารละลายที่เป็นกรดจะทำให้จำนวนเชื้อโรคลดน้อยลงไปได้ แต่น้ำส้มสายชูจะต้องมีการเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งที่มีการใช้งานแล้ว ไม่ควรใช้งานซ้ำ 

 

ฟองน้ำล้างจาน  แหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรีย


3.ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างจานที่มีส่วนช่วยในการทำความสะอาดเพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม ฟองน้ำนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งในขั้นตอนการทำความสะอาดภาชนะ โดยวิธีการที่สำคัญกว่านั้นคือการล้างภาชนะซึ่งมี ๓ ขั้นตอน ได้แก่ 1.เขี่ยเศษอาหารทิ้งและล้างน้ำสะอาดเพื่อลดคราบไขมันหรือ สิ่งสกปรกให้ออกไปก่อน 2. ใช้น้ำยาล้างจานด้วยฟองน้ำเพื่อลดจำนวนเชื้อโรคที่มีการปนเปื้อนและล้างออกด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง และขั้นตอนที่ 3.เรามักมองข้ามไปคือการใช้น้ำร้อนลวกภาชนะจะทำให้ภาชนะต่าง ๆ ลดเชื้อโรคได้มากและสุดท้ายควรมีการเปลี่ยนฟองน้ำบ่อยๆ ประมาณเดือนละครั้งหรือแล้วแต่การใช้งาน

 

ฟองน้ำล้างจาน  แหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรีย

 

อย่างไรก็ตาม ได้มีทีมนักวิจัยฯ ระบุว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียซัมโมเนลล่ารวมทั้งเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายคือการดูแลรักษาบริเวณห้องครัวให้สะอาดและมีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ รวมทั้งการใส่ใจกับการทำความสะอาดฟองน้ำหรือแผ่นใยขัดล้างจาน ซึ่งแต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะสะดวกใช้วิธีไหน ที่สำคัญคือเน้นที่ความปลอดภัยและความมั่นใจของแต่ละบุคคล เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวรวมทั้งผู้บริโภคปลอดภัยห่างไกลจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

 

ฟองน้ำล้างจาน  แหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรีย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์,สื่อสารสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่สองพิษณุโลก