ย้อนรอยจุดเริ่มของ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5

“สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561

“สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561

ย้อนรอยจุดเริ่มของ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5

จุดเริ่มของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มาจาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขและยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์อีก 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม คือ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 และพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 และได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561

ย้อนรอยจุดเริ่มของ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5

   การบริหารจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการปกครองในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีวิวัฒนาการเคียงคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยมาโดยตลอด นับตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ทรัพย์สินในราชอาณาจักรเป็นของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงอยู่ในฐานะ “พระเจ้าแผ่นดิน” แต่เพียงพระองค์เดียว อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์ได้ทรงพยายามแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) การค้าขายกับต่างประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก 

จึงได้ทรงเก็บสะสมกำไรที่ได้จากการค้าสำเภาซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไว้ในถุงผ้าสีแดงซึ่งเรียกกันว่า “เงินถุงแดง” ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม เรียกว่า “เงินข้างที่” ซึ่งต่อมามีจำนวนมากขึ้นก็เก็บไว้ในห้องข้างๆที่บรรทม จึงเรียกว่า “คลังข้างที่” โดยได้พระราชทานให้ไว้เป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ในยามบ้านเมืองเกิดภาวะคับขัน และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2426) ที่สยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสจึงได้นำเงินถุงแดงมาสมทบเพื่อเป็นการชดใช้ค่าเสียหายและค่าประกันแก่ฝรั่งเศส จนสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ได้

     รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นยุคแห่งการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการคลังใหม่และมีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้รายรับและรายจ่ายของแผ่นดินเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนซึ่งการจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ได้มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดินอย่างเด็ดขาด โดยทรงมอบหมายให้ “กรมพระคลังข้างที่” เป็นผู้จัดการดูแล   พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อรายได้ของแผ่นดินมากขึ้นอันเนื่องมาจากการปฏิรูปทางการเงิน ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ ซึ่งมีการจัดตั้งกระทรวงการคลังขึ้นมาเป็นครั้งแรก ส่งผลให้จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรของกรมพระคลังข้างที่ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน 

ย้อนรอยจุดเริ่มของ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5

ในช่วงแรกรายได้ของกรมพระคลังข้างที่นำไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาพระราชวัง และค่าใช้จ่ายในการเสด็จไปทรงศึกษาต่อยังต่างประเทศของพระราชโอรสเป็นหลัก เมื่อรายได้เพิ่มมากขึ้นจึงมีเงินเหลือจ่ายจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงเกิดการริเริ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนและให้โอกาสในการทำการค้าขาย นอกจากนี้เมืองสำคัญในต่างจังหวัดยังได้มีการสร้างตลาดขึ้น เพื่อนำค่าบำรุงตลาดไปใช้ในการพัฒนาระบบสุขาภิบาลและสาธารณูปโภคพื้นฐานในเขตศูนย์กลางเมืองใหม่เหล่านี้ควบคู่พร้อมไปกับการตัดถนนของกระทรวงโยธาธิการ ดังที่กล่าวข้างต้นนี้ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน


“ตราเครื่องหมายของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์”
ใช้ครุฑครอบพระมหามงกุฎ และมีชื่อสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ครุฑ

ย้อนรอยจุดเริ่มของ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5