สิทธิมนุษยชน ไทยในเวทีโลก

นายสมชาย แสวงการ ตีแผ่อีกมุมเวทีสิทธิฯสหรัฐฯ ตกที่นั่งเดียวกับไทย

สิทธิมนุษยชน ไทยในเวทีโลก

 

15 พ.ค. 59 นายสมชาย แสวงการ รองประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “สมชาย แสวงการ” เปิดเผยอีกแง่มุมหนึ่งของการประชุมคณะทำงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (ยูพีอาร์) รอบที่ 2 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมตั้งคำถามถึงการรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทย ที่นำเสนอแต่แง่ลบเฉพาะของประเทศไทย ทั้งที่หลายประเทศรวมถึงประเทศมหาอำนาจ อย่าง สหรัฐอเมริกา ก็ถูกตั้งประเด็นคำถามถึงเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นกัน และหลายประเทศก็ไม่สามารถชี้แจงต่อที่ประชุมได้

 

นอกจากนี้ นายสมชาย ระบุด้วยว่า หลังการชี้แจงของประเทศไทยเสร็จสิ้น หลายประเทศก็ให้ความชื่นชมและให้กำลังใจประเทศไทย ในหลายๆ ด้าน อาทิ การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3  การดำเนินการเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ  การตราหรือแก้ไขกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน  การดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์และแรงงาน เป็นต้น

สิทธิมนุษยชน ไทยในเวทีโลก

ข้อความดังนี้

 

แปลกใจการลงข่าวของสื่อไทย

 

ในการไปชี้เเจงเรื่องสิทธิมนุษยชนของทีมไทยเเลนด์นำโดยปลัดกระทรวงยุติธรรมเเละผู้เเทนกระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้ผลดีเกินคาด เรียกได้ว่าประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม

เมื่อเทียบกับอีกหลายชาติรวมถึงชาติมหาอำนาจ ที่ปากพร่ำประชาธิปไตยเเต่ก็เจอข้อหาละเมิดสิทธมนุษยชนเพียบ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา หรืออีกหลายสิบประเทศที่ถูกตั้งประเด็นเป็นร้อยหรือบางประเทศเป็นหลายร้อยประเด็นด้วยซ้ำ

บางประเทศไม่สนใจชี้เเจง ขณะที่บางประเทศก็ชี้เเจงไม่ได้นับสิบนับร้อยประเด็น

ต่างกับไทยไม่ได้อยู่ในลิสท์ท็อปเท็น หรือท็อปทเวนตี้ ในเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนเเรงตามที่บางกลุ่มบางพวกพยายามสร้างข่าวให้ร้ายเเรงตามเเผนโลกล้อมประเทศด้วยซ้ำไปที่สำคัญหลังการชี้เเจงของฝ่ายไทยเสร็จสิ้นอย่างกระจ่างชัด หลายคนในนั้นลุกขึ้นเเละเดินมาชื่นชมให้กำลังใจทีมประเทศไทยเเละคนไทยด้วยครับ

แปลกใจก็คือ ข่าวเเบบนี้ไม่เห็นมีในหน้าสื่อบ้านเรา หรือจะว่าข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์ก็หาใช่ไม่

ในประสาคนเคยทำสื่อ บอกได้คำเดียวครับ ว่า สื่อวันนี้ทำการบ้านหาข้อมูลเชิงวิเคราะห์เเละเจาะลึกน้อย ขณะที่บางพวกบางสำนัก รับข้อมูลมาออกในเชิงลบฝ่ายเดียว

ดังนั้นจึงขอเอาข้อมูลดีๆจากการประชุมวันนั้นมาสื่อสารให้พี่น้องประชาชนได้รู้บ้างไม่งั้นจะกังวลกับการปลุกกระเเสโลกล้อมประเทศที่นับวันจะหมดน้ำยาไปเรื่อยๆครับเเละหากสื่อน้ำดีจะเอาไปขยายความหรือนำไปตีพิมพ์ซ้ำก็ยินดีเเละขอบคุณเเทนคนไทยทั้งประเทศครับ

สมชาย เเสวงการ รองประธานกรรมาธิการ การต่างประเทศ สนช

 

ข้อมูลที่ได้รับคำชมจากที่ประชุมUPR

ในช่วงการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ ระหว่างการประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่ ๒๕ เมื่อวันที่่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๙ ที่นครเจนีวา

กว่า ๑๐๒ ประเทศ ได้แสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนแก่ประเทศไทย โดยหลายประเทศได้ชื่นชมไทยเรื่องการพยายามยึดมั่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และประชาธิปไตย รวมทั้งความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการนำเสนอรายงานตามกลไก UPR รอบที่ ๑ เมื่อปี ๒๕๕๔ จนทำให้เกิดผลลัพธ์และความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในหลาย ๆ ด้าน ในช่วง ๔ ปีครึ่งที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ไทยได้รับความชื่นชม ประกอบด้วย

1. กระบวนการจัดทำรายงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาสังคม

2. การจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ ซึ่งได้รวมข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการนำเสนอรายงานประเทศตามกลไก UPR รอบที่ ๑ ส่งผลให้สามารถปฏิบัติตามข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. การดำเนินการเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ซึ่งส่งผลให้ไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) หลายประการ

4. การตราหรือแก้ไขกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ร.บ. คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยสื่อลามกอนาจารเด็ก ตลอดจนการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายถูกบังคับ และการศึกษาความเป็นไปได้ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต

5. การให้สัตยาบันและการถอนข้อสงวนต่อตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สัตยาบันอนุสัญญาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และพิธีสารเลือกรับว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นต้น

6. การดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับอย่างจริงจัง และการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย

7. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มเปราะบาง (เด็ก สตรี ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์) เช่น การขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี การลดอัตราการเสียชีวิตของแม่และทารกแรกเกิด การจดทะเบียนเกิดให้แก่เด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) การส่งเสริมบทบาทสตรี

8. การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ผ่านนโยบายการศึกษาถ้วนหน้า และนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า

9. หลายประเทศแสดงความชื่นชมต่อบทบาทนำด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในระดับภูมิภาคและการให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันกับกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน

10. การเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความช่วยเหลือทางวิชาการระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ

11. ความช่วยเหลือและความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนของไทยแก่คนต่างชาติ เช่น แรงงานต่างด้าว (โดยเฉพาะนโยบายการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และการจัดทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้าน การจ้างแรงงานกับประเทศเพื่อนบ้าน) ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ (เช่น การจัดประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ๒ ครั้ง) และการดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาร์”

 

สิทธิมนุษยชน ไทยในเวทีโลก