ปราชญ์ธรรมชาติ...ที่สุดแห่งพระอัจฉริยะภาพที่ทุกคนควรรู้ !...กับวิธีบริหารจัดการน้ำ

ติดตามเรื่องราวดี ๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

ปราชญ์ธรรมชาติ...ที่สุดแห่งพระอัจฉริยะภาพที่ทุกคนควรรู้ !...กับวิธีบริหารจัดการน้ำ  

ตลอดเวลา ๒๖ ปีในการทำงานรับใช้พระองค์ ผมได้เห็นแล้วว่าพระองค์ทรงใช้ธรรมะแก้ไขธรรมชาติ โดยทรงรับสั่งว่าธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ถูก ออกแบบมาให้เอื้อต่อกัน มนุษย์ทำแค่เพียงมาบริหาร จัดการเท่านั้น

(ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา)

เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนายังกล่าวอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองว่า น้ำฝนหยด แรกที่มาจากยอดเขามีค่ามหาศาลกับธรรมชาติ และน้ำ หยดแรกนี้ควรจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการกักเก็บไว้ ให้นานที่สุด

ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาชาญในหลักแห่ง ธรรมชาติทำให้ทรงคิดวิธีบริหารจัดการน้ำ และการปลูกป่าด้วยวิธีที่ง่ายดายจนน่าอัศจรรย์ นั่นคือ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก?!

เพราะ...ผืนดิน ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ย่อมก่อเกิดพืชพรรณที่หลากหลายและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เป็นผืนป่าอันอุดมได้เอง...ตามธรรมชาติ

“ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ” ที่มนุษย์ต้องช่วยธรรมชาติ คือ เก็บกักน้ำเอาไว้ให้ผืนป่าได้ดูดซับความชุ่มชื้นเอาไว้ให้นานที่สุดเท่านั้นเอง ซึ่งนี่คือที่มาของ ฝายชะลอน้ำ

ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีขั้นสูงใดๆ มาช่วย ใช้เพียงแค่ดิน ต้นไม้ ใบไม้ ซากไม้ที่ปรักหักพังใส่เข้าไป เท่านี้ก็จะได้ “ฝายดิน” เล็กๆ ที่แข็งแรง ซึ่งสามารถทำหน้าที่เก็บกักน้ำเอาไว้ สร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าได้นานขึ้น

แนวพระราชดำรินี้ ทรงใช้หลักการเดียวกับ ถุงน้ำเกลือที่คอยส่งน้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายทีละหยดๆ ซึ่งทรงคิดต่อยอดไปว่าหากทำให้เกิด ถุงน้ำเกลือ(คือฝายดิน) เก็บกักน้ำเป็นกระเปาะเล็กๆ เอาไว้ในหลายๆ จุดกระจายอยู่ทั่วผืนป่า ก็จะเกิดความชุ่มชื้นไปทั่วภูเขา ความอุดมสมบูรณ์ของป่าก็จะยิ่งขยายวงกว้างมากขึ้นตามไปด้วย

 

ปราชญ์ธรรมชาติ...ที่สุดแห่งพระอัจฉริยะภาพที่ทุกคนควรรู้ !...กับวิธีบริหารจัดการน้ำ

พระองค์ทรงมองเห็นคุณค่าของน้ำแต่ละหยด ทรงเคยรับสั่ง

ว่า น้ำฝน ๑๐๐ หยดในเมืองไทยนั้น มีการกักเก็บมาใช้ประโยชน์เพียง หยดเท่านั้น อีก ๙๒ หยดกลับไหลบ่าท่วมบ้านเรือน ไหลทิ้งลงแม่น้ำโขง ลงทะเล

ดร.สุเมธกล่าว และยังกล่าวถึงแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านอีกด้วยว่า

พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการกักเก็บน้ำ คือจะต้องมีตั้งแต่ยอดเขา กลางเขา และตีนเขา โดยจะต้องกักเก็บกันเป็นลำดับชั้น เช่น ช่วงกลางเขา อาจจะต้องมีพืชเศรษฐกิจปลูกไว้ มีเขื่อนมีฝาย และส่วนตีนเขาคือการปล่อยให้ชาวบ้านได้ใช้ ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเพื่อเลี้ยงดูคนเมือง

ปราชญ์ธรรมชาติ...ที่สุดแห่งพระอัจฉริยะภาพที่ทุกคนควรรู้ !...กับวิธีบริหารจัดการน้ำ

นอกจากนี้ ต้นไม้ใบหญ้า ใบไม้ที่ร่วงทับถมกันในป่าที่มีความชื้น จะป้องกันการเกิดไฟป่าไปในตัว โดยทรงตรัสว่าเป็นวิธีการ “Wet Fire Brake” หรือการใช้ความชื้นสกัดไฟป่า ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายในการทำพื้นที่ให้เตียนโล่งเพื่อให้เป็นเขตปลอดไฟป่า เพราะการที่เก็บใบไม้ออกไปหมดนั้นเป็นการทำลายความชุ่มชื้นในผืนดินออกไป และทำให้เกิดไฟป่าได้ง่ายกว่า ในขณะที่วิธีการ “Wet Fire Brake” นั้นนอกจากจะให้ธรรมชาติได้สร้างสมดุลในตัวเองแล้ว ความชุ่มชื้นในป่าก็จะทำให้ไฟป่าลดลงซึ่งเป็นผลพลอยได้โดยที่มนุษย์แทบไม่ต้องยุ่งยากหรือใช้งบประมาณประเทศมากมายแต่อย่างใด

 

ปราชญ์ธรรมชาติ...ที่สุดแห่งพระอัจฉริยะภาพที่ทุกคนควรรู้ !...กับวิธีบริหารจัดการน้ำ