อ่านแล้วปลื้มปีติ! ทศพิธราชธรรม...ที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัยของในหลวง ตลอด ๗๐ปี...

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyaan.tnews.co.th

ท่านทั้งหลายคงประหลาดใจว่า ทำไมผมพูดยังไม่เห็นมี “ทศพิธราชธรรม”  ผมกล่าวอยู่เดี๋ยวนี้ว่า  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสั่งสอนอบรมธรรมทุกประการเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมหาชนทั้งหลาย  ในส่วนที่เกี่ยวด้วยพระมหากษัตริย์หรือพระราชา พระพุทธเจ้าท่านมีพระพุทธดำรัสไว้อยู่ในพระไตรปิฎก อยู่ใน “มหาหังสชาดก”  ถ้าจะให้อ้างอิงก็คือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๘ หน้า ๘๖ เป็นต้น  ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าได้มีพระพุทธดำรัสเรื่อง “ทศพิธราชธรรม” คือ ธรรมของพระราชา ๑๐ ประการ  หมายความว่า พระราชาที่ดีทรงประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ แล้วประเทศชาติจะมั่นคงและมีความสุขความสงบโดยถาวร
อ่านแล้วปลื้มปีติ! ทศพิธราชธรรม...ที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัยของในหลวง ตลอด ๗๐ปี...

ราลองมาดูทีว่า ทศพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ จะปรับเข้ากันได้ดีกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์นี้ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่หรือไม่  อันนี้เราจะกระทำอย่างนักวิชาการ ไม่จำเป็นต้องเชื่อก่อน วิเคราะห์แล้วจึงเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็สุดแล้วแต่ข้อพิจารณา
ทศพิธราชธรรมประการที่ ๑ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าคือ “ทาน” ซึ่งก็แปลว่า “การให้” และอธิบายว่า จงเป็นผู้ให้ ให้ทรัพย์ ให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นทานด้วยความเสียสละ
ทศพิธราชธรรมประการที่ ๒ คือ “ศีล” คือ ความประพฤติที่ดีงาม งดเว้นจากการทำชั่ว เสียหาย ไม่ทำอะไรที่เป็นการไม่เหมาะสม ไม่ควร
ทศพิธราชธรรมประการที่ ๓ คือ “ปริจจาคะ” แปลว่า “การบริจาค” คือ ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งกว่า ยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ทศพิธราชธรรมประการที่ ๔ คือ “อาชชวะ” คือ ความเป็นคนตรง ไม่คิดคดต่อประเทศชาติและประชาชน
ทศพิธราชธรรมประการที่ ๕ คือ “มัททวะ” คือ ความสุภาพอ่อนโยนต่อชนทั้งปวง
ทศพิธราชธรรมประการที่ ๖ คือ “ตปะ” คือ ความเพียรปฏิบัติกรณียะต่างๆ ไม่ลดละเบื่อหน่าย
ประการที่ ๗ คือ “อักโกธะ” ความไม่โกรธ ไม่ลุอำนาจของความโกรธและกระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ
ประการที่ ๘ “อวิหิงสา” ไม่เบียดเบียน  หมายความว่า ไม่ทำอะไรเป็นการเบียดเบียนอาณาประชาราษฎร์ มีความกรุณาแผ่ไปในอาณาประชาชนทั้งปวง
ประการที่ ๙ “ขันติ” ความอดทน  มีความอดทนต่อปัจจัยที่จะทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงทั้งหลาย อดทนต่อความลำบากตรากตรำทั้งปวง อดทนต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกิน
ประการที่ ๑๐ “อวิโรธนะ” คือ ความไม่ผิด  คือจะทำอะไรก็ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองให้มีความรู้ทั่วถึง รอบคอบ เพื่อให้เกิดความไม่ผิดพลาดและให้ถูกต้องในเรื่องทั้งปวง
อ่านแล้วปลื้มปีติ! ทศพิธราชธรรม...ที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัยของในหลวง ตลอด ๗๐ปี...

นี่แหละคือทศพิธราชธรรมในพระพุทธวจนะ  เราทั้งหลายผู้มีใจเป็นธรรม ขอจงพิจารณาด้วยความเป็นธรรมว่า ทศพิธราชธรรมอันประเสริฐ ๑๐ ประการนี้ สถิตอยู่ในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์นี้หรือเปล่า  ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาดูด้วยความเป็นธรรม
ผมคิดว่าเวลาหมดแล้วก็เลยไม่มีเวลาพูดว่า ทศพิธราชธรรมนี้ เราผู้เป็นประชากรจะปฏิบัติตอบไปได้อย่างไร ซึ่งข้อนี้จะใช้เวลาอีกมาก  ฉะนั้น ของด ไม่พูด  และถ้าท่านจะหาท่านเองก็ขอให้ไปอ่านในพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร  ท่านแสดงไว้ชัดว่า  ทศพิธราชธรรมนี้ไม่ใช่เฉพาะแต่ที่พระมหากษัตริย์จะทรงปฏิบัติต่อประชาชนเท่านั้น  หากแต่ประชาชนเรานี้ก็ย่อมปฏิบัติทศพิธราชธรรมตอบเบื้องพระยุคลบาทของพระมหากษัตริย์ได้ด้วย  ข้อนี้เป็นเรื่องของวัฒนธรรมไทยแต่ครั้งดั้งเดิมมา  เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง
ในที่สุด กระผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลายน้อมจิตอธิษฐานด้วยความสะอาด สว่าง สงบ ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเจ้าจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน และให้ประชาชนชาติไทยทั้งชาติมีความปลอดภัย มีความสมบูรณ์ และมีความสุขความสงบตลอดกาลนาน

อ่านแล้วปลื้มปีติ! ทศพิธราชธรรม...ที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัยของในหลวง ตลอด ๗๐ปี...

อ่านแล้วปลื้มปีติ! ทศพิธราชธรรม...ที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัยของในหลวง ตลอด ๗๐ปี...

จากหนังสือสองธรรมราชา โดยคุณอัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์