"พิธีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ของโบราณ" ตามคำสั่งเสียหลวงปู่ใหญ่(หลวงปู่จันทร์ศรี) มีที่มาและพิธีเช่นไร

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

“พิธีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ของโบราณ” ตามคำสั่งเสียหลวงปู่ใหญ่(หลวงปู่จันทร์ศรี) มีที่มาและพิธีเช่นไร

 

ในงานศพของหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป ซึ่งหลวงปู่ได้สั่งเสียไว้ว่า”ให้สร้างจิตกาธาน ณ สนามทุ่งศรีเมือง อุดรธานี เพื่อรองรับศิษยานุศิษย์ทั่วสารทิศ ที่จะเดินทางมาร่วมพิธีฯ”นั้น  โดยให้วางโลงศพนี้บนนกหัสดีลิงค์ ซองการจัดพิธีการทำศพแบบนกนกหัสดีลิงค์นั้น เดิมทีในโบราณพิธีจะจำกัดเฉพาะกลุ่มเจ้านายอุบลฯ เท่านั้น ผู้ไม่ใช่เจ้านายไม่อนุญาตให้ทำศพแบบนี้ ระยะแรก การเผาศพทำที่ทุ่งศรีเมือง มาภายหลัง เมื่อกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ปกครองเมืองอุบลฯ ให้ยกเลิกประเพณีการเผาศพที่ทุ่งศรีเมือง และอนุญาตให้พระเถระที่ทรงคุณธรรม เมื่อมรณภาพ ให้จัดประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ได้ จากข้อมูลเบื้องต้นจึงใคร่ขอเสนอที่มาแบบแผนการจัดพิธีศพดังกล่าวดังนี้

"พิธีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ของโบราณ" ตามคำสั่งเสียหลวงปู่ใหญ่(หลวงปู่จันทร์ศรี) มีที่มาและพิธีเช่นไร

ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ในโบราณเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานี ถือเป็นราชสกุลที่มาแต่เมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า เมื่อถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ให้เชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนกสักกะไดลิงค์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็ญกุศลที่ทุ่งศรีเมืองเป็นเวลา 3 วัน จึงเผาศพ งานพิธจำกัดเฉพาะกลุ่มเจ้านายอุบลฯ เท่านั้น นอกนั้นไม่อนุญาตให้ทำศพแบบนี้ระยะแรก การเผาศพทำที่ทุ่งศรีเมือง มาภายหลัง เมื่อกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  ปกครองเมืองอุบลฯ ให้ยกเลิกประเพณีการเผาศพที่ทุ่งศรีเมือง และอนุญาตให้พระเถระที่ทรงคุณธรรม เมื่อมรณภาพ ให้จัดประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ได้ด้วย โดยเริ่มจากธรรมบาลผุย หลักคำเมือง เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เนื่องจากกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงศรัทธาเลื่อมใสท่านธรรมบาล เมื่อท่านธรรมบาล (ผุย) ถึงแก่มรณภาพ จึงนับเห็นนกตัวสุดท้าย ที่ได้รับเกียรติยศให้เผาที่ทุ่งศรีเมือง หลังจากนั้นแล้ว ไม่มีการเผาศพที่ทุ่งศรีเมืองอีกเลย พระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ จึงได้รับเกียรติยศให้ขึ้นนกตั้งแต่นั้นมา

ตำนานการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ กล่าวว่า นครๆ หนึ่งชื่อนครเชียงรุ้งตักศิลา พระเจ้าแผ่นดินถึงแก่สวรรคต พระมเหสีนำพระบรมศพ แห่แหนไปถวายพระเพลิงนอกเมือง นกสักกะไดลิงค์บินจากป่าหิมพานต์มาเห็นเข้า จึงได้โฉบลงแย่งพระศพ พระมเหสีให้หาคนที่จะสู้นก แย่งเอาพระศพคืน มีหญิงสาวชื่อ เจ้านางสีดา เป็นบุตรีของมหาราชครู อาสาต่อสู้นกหัสดีลิงค์ เจ้านางสีดามีวิชายิงศรเป็นเยี่ยม ใช้ศรยิงถูกนกใหญ่ ตกลงตาย พระมเหสีจึงให้ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพร้อมกับนกใหญ่ กลายเป็นธรรมเนียมสำหรับเจ้านายเชื้อสายอุบลฯ ว่า เมื่อถึงแก่อนิจกรรมแล้วให้ทำเมรุรูปนกประกอบหอแก้ว แล้วเชิญศพขึ้นตั้ง ชักลากออกไปบำเพ็ญกุศลครบถ้วน 3 วัน จึงเผา ก่อนเผาต้องมีพิธีฆ่านก แล้วเผาทั้งศพทั้งนก

การสร้างนก นกนี้สร้างด้วยไม้ไผ่มาจักตอก แล้วสานเป็นโครงรูปนก ทำเมรุหอแก้วบนหลังนก สมัยโบราณ นิยมสร้างให้ท้องนกติดพื้นดิน ไม่ยกร้านหรือยกพื้นเหมือนปัจจุบัน เพื่อสะดวกในการเผาศพ เมื่อสร้างโครงรูปนกด้วยไม้ไผ่แล้ว ให้นำกระดาษมากรุให้ทั่ว แล้วเขียนลายด้วยฝุ่นให้เหมือนนกจริงๆ ส่วนสำคัญคือ ส่วนศีรษะนก จะต้องให้งวงม้วนได้ ตากระพรึบได้ หันคอได้ หูแกว่งได้ อ้าปากและร้องได้

"พิธีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ของโบราณ" ตามคำสั่งเสียหลวงปู่ใหญ่(หลวงปู่จันทร์ศรี) มีที่มาและพิธีเช่นไร

"พิธีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ของโบราณ" ตามคำสั่งเสียหลวงปู่ใหญ่(หลวงปู่จันทร์ศรี) มีที่มาและพิธีเช่นไร

การเชิญศพขึ้นสู่หลังนก และจัดกระบวนแห่ ในพิธี ญาติพี่น้องจะแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว เมื่อพร้อมกันแล้ว ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นประธาน จะนำยันห้า ประกอบด้วย เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ขอขมาศพ แล้วนำศพสู่เมรุนก เมื่อตั้งศพเรียบร้อยแล้ว นิมนต์พระเถระทั้งสี่ ขึ้นนั่งบนที่นั่งหลังนก เพื่ออ่านคัมภีร์บนนกนั้นด้วย กระบวนแห่ศพจะนำเชือกหนังอย่างดีผูกมัดกับฐานนก ชั่งทำเป็นตะเข่ใหญ่ 3 เส้น แล้วจัดคนเข้าแถวตามเส้นเชือกนั้นเป็น 3 แถว กระบวนสุดคือต้นแถว จะมีคนหามฆ้องใหญ่ตีให้สัญญาณนำหน้า แถวถัดมาก็จะเป็นกระบวนพิณพาทย์ เครื่องประโคมแห่ มีคนถือธงสามหาง และธงช่อ ธงชัย กระบวนหอก กระบวนดาบ กระบวนช้าง กระบวนเครื่องยศของผู้ตาย แล้วจึงถึงกระบวนชักลากด้วยเชือกสามสายดังกล่าว เมื่อได้สัญญาณแล้ว ก็จะพร้อมกันดึงนกให้เคลื่อนที่ แห่ไปตามถนนจนถึงวัด กระบวนท้ายคือกระบวนผู้ที่จะใช้ท่อนไม้งัดตะเข่นนกใหญ่ หากติดขัดในการแห่นกใหญ่ จะมีคนมาร่วมกระบวนมาก เรียกว่า พร้อมทั้งบ้านเมืองเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเคารพรักแก่ผู้ตายในครั้งสุดท้าย แม้แต่เจ้านายที่เป็นญาติกันที่อยู่เมืองอื่นก็มาร่วมงานด้วย ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ถือเป็นงานใหญ่ เจ้าภาพจึงด้องจัดโรงทานไว้เป็นประจำตลอดงาน

พิธีฆ่านก เจ้าภาพมอบให้ผู้มีเชื้อสายเจ้านาย ชาย 2 คน หญิง 2 คน เชิญผู้ฆ่านกไปฆ่านก เมื่อคนทรงได้รับเชิญแล้ว จะเข้าประทับทรงเชิญเจ้านางสีดามารับเชิญ และเรียกค่าบูชาครูก่อนทำพิธีฆ่านก เรียกว่า คายหน้า เมื่อคนทรงทำพิธีบวงสรวงในตอนเช้าก่อนเที่ยงแล้ว ก็จะเข้าประทับทรง แล้วทรงเครื่อง สวมหมวก ถือศร แล้วก็ร่ายรำไปขึ้นเสลี่ยง เข้ากระบวนแห่ไปบริเวณงานศพที่มีนกใหญ่หรือนกสักกะไดลิงค์ตั้งอยู่ โดยมีคนขึ้นสัปทนแดงให้ มีทหารถือหอกง้าวแห่ตามไปพร้อมตน พร้อมกล้วย อ้อย และบริวารตามไปเป็นแถว เมื่อไปถึงบริเวณงาน กระบวนนางทรงฆ่านก ก็จะแห่ไปรอบๆ นก และทำท่าล่อหลอกนก ฝ่ายนกเมื่อเห็นคู่ต่อสู้ไปถึง ก็จะยกงวงร้องเสียงดัง และกลอกตากระพือ แกว่งหู หันหน้าเข้าใส่คนฆ่านก ประหนึ่งต่อสู้กัน ฝ่ายข้างนางทรงผู้ฆ่านก พอได้ที่ก็จะยิงศรใส่นกสามลูกดอก เมื่อศรปักอกนก คนอยู่ข้างในร่างนกก็จะเทสีแดงออกมาตามรูลูกศร ประหนึ่งเลือดนกออก เมื่อนกถูกศร ก็จะดิ้นรนกระวนกระวายจนเงียบไป งวงตก ตาหลับ เป็นสัญญาณว่านกตาย ช่างนกก็จะนำผ้าขาวมามัดส่วนหัวนก แล้วหันหน้านกเข้าไปทางศพที่ตั้งอยู่ ก็เป็นอันเสร็จพิธีฆ่านก แล้วเตรียมการเผาศพ

ก่อนมีพิธีฆ่านก เจ้าภาพจะจัดพิธีทอดผ้าทางศาสนาเสียก่อน หลังจากเผานกและเมรุแล้ว คืนนั้นจะมีมหรสพสมโภชอัฐไปด้วย รุ่งเช้าเก็บอัฐและเดินสามหาบ นำอัฐไปก่อธาตุบรรจุต่อไป เป็นอันเสร็จพิธีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์

จากข้อมูล : หนังสืออุบลราชธานี 200 ปี พ.ศ.2535 เรียบเรียงโดย นายบำเพ็ญ ณ อุบล และ ผศ.คนึงนิตย์ จันทบุตร

ด้วยความขอบคุณข้อมูลจาก http://guideubon.com/news/view.php?t=15&s_id=22&d_id=22

"พิธีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ ของโบราณ" ตามคำสั่งเสียหลวงปู่ใหญ่(หลวงปู่จันทร์ศรี) มีที่มาและพิธีเช่นไร

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์