เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

               เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือเทศกาลตังโจ่ย หรือ เทศกาลฤดูหนาว หรือ ตังจี๋ หรือ ตงเจี่ย (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ตั่งเจะ (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) มีความหมายถึง วันเหมายัน คือ วันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุด หรือ วันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว แต่ในยุคโบราณชาวจีนจะเรียกวัน ๆ นี้ว่า เฉี่ยงจี่ (สุดยาว) หรือวันนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น่ำจี่ (สุดใต้) ถือเป็นวันตายตัวของวันที่ 22 หรือวันที่ 21 ธันวาคม ตามปฏิทินทางสุริยคติสากล แต่สำหรับในปฏิทินจีน ได้ใช้หลักตามจันทรคติ ดังนั้น เมื่อถือตามหลักของปฏิทินจีน วันตังโจ่ย จึงไม่มีการตายตัวทุก ๆ ปี แต่จะตรงกับเดือน 11 ตามปฏิทินจีน (เดือนธันวาคม) ซึ่งเรียกว่า เกี๋ยวง๊วย

                 ชาวจีนให้ความสำคัญกับเทศกาลตังโจ่ยไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะถือเสมือนเทศกาลสิ้นปี ผู้คนจะปิดร้านรวงและบ้านเรือน ทำบุญตามวัดหรือไหว้เจ้า เอกลักษณ์ที่สำคัญในเทศกาลนี้ คือ ผู้คนจะปั้นและกินขนมที่มีลักษณะคล้ายขนมบัวลอยของไทย (ออกเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า อี๊) ซึ่งทำจากแป้งและต้มกับน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ในภูมิภาคแต่ละที่ของจีนจะกินขนมชนิดนี้และมีชื่อเรียกแตกต่างออกไป เช่น ทางเหนือจะกินเกี๊ยวน้ำ ทางใต้จะกินขนมชนิดนี้ที่มีลูกใหญ่และเรียกว่า "ถ่างหยวน"  โดยมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้วคนในครอบครัวจะรักผูกพันกันยิ่งขึ้น เพราะเมื่อถึงเทศกาลนี้แล้ว ญาติพี่น้องที่จากไปอยู่แต่ละที่ จะหวนคืนกลับบ้านมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นมงคลเพราะอายุเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปี เทศกาลนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งแบบไทยว่า เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ซึ่งประเพณีการรับประทานขนมบัวลอยนี้ก็ยังคงปฏิบัติมาจนถึงคงปัจจุบัน

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

ขนมในเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย

         สำหรับขนมบัวลอยหรือขนมอี๋ ที่ใช้ในเทศกาลนี้  อี๊ หรือ อี๊ แปลว่ากลม ๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ำตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็น สาคู หรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน  ขนมอี๊ (ขนมหวานจีน) ถือว่าเป็นขนมมงคล อีกชนิดหนึ่งของคนจีน ที่รับประทานเพื่อความเป็น สิริมงคล ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน ที่เชื่อว่า การทานขนมอี๊ จะทำให้คนทั้งสองนั้นรักใคร่กลมเลียว เหนียวแน่น รวมถึง เทศกาลตรุษจีนหรือเปิดกิจการใหม่ ดั้งเดิม ทำจากแป้งข้าวเหนียวใส่น้ำนิดหน่อยเอามาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ตามท้องถิ่น แล้วเอาไปต้มน้ำเดือด ใส่น้ำตาลรับประทานขณะที่ร้อนเพื่อกันหนาวได้ เดิมคงไม่ได้ใส่สี คงเป็นสีขาว ต่อมาได้พัฒนาไปตามกาลเวลา ได้มีการใส่ไส้ทั้งหวานและคาว ส่วนตัวแป้งผสมสีให้เป็นแป้งสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว แดง เหลือง ขาว แล้วเอามาปั้น ต้มน้ำเดือด  ขนมอี๊แตกต่างกันไปตามภูมิภาคของจีน เมื่อคนจีนอพยพไปอยู่ยังประเทศอื่น ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นขนมอี๊อยู่ ด้วยการดัดแปลงส่วนผสมไปตามท้องถิ่นใหม่ที่หาวัสดุการทำง่าย แต่ก็ยังรักษาวัฒนธรรมของขนมอี๊ นั่นก็คือ ใช้แป้งข้าวเหนียวเอามาปั้นเป็นพื้น เช่นองชาวภูเก็ตจะไม่ใส่ไส้ ปั้นเป็นลูกกลม ทำแม่อี๊ที่เรียกว่า อี๊โบ้ โดยปั้นให้ลูกใหญ่กว่าลูกอื่นๆ เวลาตักเอาไปไหว้จะตักอีโบ้ลูกหนึ่ง ที่เหลือลูกเล็กกี่ลูกก็ได้ ส่วนขนมอี๊ใส่ไส้ ส่วนที่ทำไส้ มีงาดำบด แป้งถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้แห้งชนิดต่างๆ เอาไส้รวมกัน ปั้นเป็นลูกเล็ก ทำแป้งข้าวเหนียวให้ปั้นได้ เอาไส้ใส่ปั้นเป็นลูกกลม เอาไปต้ม ทอด หรือนึ่ง

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

        ของที่ใช้ในการไหว้ขนมบัวลอย

              1. กระถางธูป

              2. เทียนแดง 1 คู่

              3. ธูป 3 หรือ 5 ดอก

              4. ผลไม้

              5. น้ำชา 5 ถ้วย

              6. ขนมบัวลอย 5 ถ้วย

เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย(เทศกาลตังโจ่ย) มาทำความรู้จักประเพณีไหว้แบบคนไทยเชื้อสายจีน

ขอขอบคุณแหล่งภาพ และข้อมูล : กระปุกดอทคอม / ทรูปลูกปัญญาดอทคอม / วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์