ปฎิบัติการ "กามิกาเซ่" กับเวลา 2 ชั่วโมง  "เพิร์ลฮาร์เบอร์" ราบเป็นหน้ากลอง

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา

นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นเดินทางมาถึงฐานทัพร่วมเพิร์ล ฮาร์เบอร์-ฮิคแคม รัฐฮาวาย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ในภารกิจการเดินทางเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพราะถือว่าเขาจะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกที่ไปเยือนอนุสรณ์สถานแห่งนี้เพื่อเป็นเกียรติแด่ทหารเรือและนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นเมื่อปี 2484 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

 


ก่อนหน้านี้ นายชิเงรุ โยชิดะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเคยเดินทางมาเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ 6 ปีหลังญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่นั่นก็เป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการสร้างอนุสรณ์สถานเรือยูเอสเอส แอริโซนา ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีโยชิดะมาเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ในปี 2494 แล้วยังได้เข้าเยี่ยมสำนักงานกองเรือแปซิฟิกของพล.ร.อ.อาร์เธอร์ ดับเบิลยู.อาร์. แรดฟอร์ด ซึ่งสามารถมองเห็นเพิร์ล ฮาร์เบอร์

 อนุสรณ์สถานเพิร์ล ฮาร์เบอร์ จะปิดไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมในวันอังคารที่ 27 ธ.ค. เพราะผู้นำญี่ปุ่นนั้นจะไปเยี่ยมชมครั้งประวัติศาสตร์ พร้อมกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพักผ่อนพร้อมครอบครัวที่รัฐฮาวายในขณะนี้

ความสำคัญของการไปเยือนสถานที่สำคัญซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสองประเทศ นับเป็นการแลกเปลี่ยนครั้งสำคัญ และยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น แม้จะเคยขัดแย้งกันแต่ก็ถือเป็นการเยือนครั้งสำคัญซึ่งต้องใช้เวลากว่า 70 ปีกว่าจะก้าวมาถึงจุดนี้ของความสัมพันธ์สหรัฐฯ กับญี่ปุ่น

 

ทางด้านโฆษกนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงยืนยันเมื่อช่วงต้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาว่า นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะไม่กล่าวขอโทษต่อการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นในการเดินทางมาเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์

 

ปฎิบัติการ "กามิกาเซ่" กับเวลา 2 ชั่วโมง  "เพิร์ลฮาร์เบอร์" ราบเป็นหน้ากลอง

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

      การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีฉับพลันของจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฝ่ายกองทัพอเมริกา โดยการโจมตีเกิดขึ้นที่ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ฝูงบินรบ "กามิกาเซ่" (kamikaze) ของกองทัพอากาศญี่ปุ่นลอบโจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ซึ่งเป็นฐานทัพที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ ในภาคพื้นแปซิฟิก ตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวาย ทำให้กองเรือรบและฝูงบินได้รับความเสียหายรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ นับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผลักดันให้อเมริกาประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ การโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 2,335 นาย ทหารอากาศ 55 นาย ทหารเรือดำน้ำ 9 นาย พลเรือน 68 คน ทหารบาดเจ็บ 1,143 นาย พลเรือน 35 คน เรือรบจม 4 ลำ และเสียหายอีก 4 ลำ เครื่องบินถูกทำลาย 29 ลำ และเรือดำน้ำเสียหายอีก 4 ลำ ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิต 185 คน จากนั้นอีก 44 เดือน กองเรือสหรัฐ ได้จมเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นในกองกำลังที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ได้ทุกลำ ส่วนนางาซากิซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตตอร์ปิโดชนิดพิเศษ ซึ่งใช้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ก็ถูกสหรัฐทิ้งปรมาณูถล่มราบคาบ ญี่ปุ่นจึงยกธงขาวและลงนามในเอกสารยอมแพ้สงคราม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาเหตุของการโจมตี

ผลสืบเนื่องมาจากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จุดเริ่มต้นของสงครามคือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองดินแดนแมนจูเรียหลังเกิดกรณีมุกเดน เพราะเนื่องจากญี่ปุ่นได้เล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ หลังจากยึดครองสำเร็จก็แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดให้อยู่ภายใต้การนำของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีจักรพรรดิปูยี (อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง1) ให้มาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูเรียได้แต่เพียงในนามเท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจแก่สาธารณรัฐจีนเป็นอย่างมากจึงได้ไปร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ เวลาต่อมาสันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นสันนิบาตชาติก็ได้ลงความเห็นเห็นว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นฝ่ายผิดและเป็นผู้รุกราน จึงออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรียและออกคำสั่งให้ญี่ปุ่นถอนกองทัพออกจากดินแดนแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจพร้อมประกาศถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติไปโดยสิ้นเชิง

 

ด้วยการที่สันนิบาตชาติทำอะไรกับญี่ปุ่นไม่ได้ ทำให้จีนผิดหวังและญี่ปุ่นก็เริ่มฮึกเหิมที่คิดจะทำการยึดครองจีนต่อไปโดยไม่มีประเทศใดๆมาขัดขวาง และแล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ส่งกองทัพเข้าไปรุกรานจีนได้อย่างเต็มตัว แม้กองทัพจีนจะพยายามต้านทานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่อาจต้านทานกองกำลังแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำให้จีนต้องสูญเสียดินแดนให้กับญี่ปุ่น เช่น ปักกิ่ง เป่ยผิง เทียนจิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันเมืองนานกิงเองก็ได้ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองและทำการสังหารหมู่ชาวจีนไปเป็นจำนวนมาก สร้างความโกรธแค้นให้กับชาวจีนเป็นอย่างมาก

 

ในช่วงที่กองทัพจีนได้พ่ายแพ้กองทัพญี่ปุ่นมาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และแล้วความหวังก็ได้ปรากฏขึ้น เนื่องจากจีนได้เล็งเห็นประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งที่สามารถถ่วงดุลอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ ดังนั้นจีนจึงส่งขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐฯทันที แม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามทำตัวเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามก็ตามแต่ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือกับจีนอย่างเต็มที่

 

สหรัฐฯภายใต้การนำโดยประธานาธิปดีรูสเวลท์ก็ได้ประกาศยุติการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น เช่น น้ำมัน เหล็ก เป็นต้น ทำให้ญี่ปุ่นขาดปัจจัยในการบำรุงกองทัพโดยเฉพาะน้ำมัน ทำให้การบุกเข้ายึดจีนต่อไปต้องหยุดชะงักลง จักรวรรดิญี่ปุ่นญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูตไปเจรจากับสหรัฐฯเพื่อขอให้ส่งน้ำมันต่อ แต่ว่าการเจรจาก็ล้มเหลวหมดเพราะสหรัฐฯได้ยื่นคำขาดว่าให้ญี่ปุ่นยุติการยึดครองจีน และถอนกำลังออกจากอินโดจีนไป ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ที่อยู่บริเวณของหมู่เกาะฮาวายที่เป็นฐานทัพเรือสหรัฐฯประจำภาคพื้นทะเลแปซิพิกด้วยการเป็นอย่างลับๆ เพื่อเปิดเส้นทางการขยายอำนาจในภาคพื้นทะเลแปซิพิกแก่จักรวรรดิญี่ปุ่น

 

ปฎิบัติการ "กามิกาเซ่" กับเวลา 2 ชั่วโมง  "เพิร์ลฮาร์เบอร์" ราบเป็นหน้ากลอง

การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ (World War II: The Attack on Pearl Harbor)

                การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยกองทัพญี่ปุ่นนั้น เป็นผลมาจากความไม่ลงรอยกันระหว่างสองประเทศ ที่กินเวลายาวนานกว่าสองทศวรรษ ความพยายามขยายอาณาเขตของฝ่ายญี่ปุ่น ทำให้เกิดความตึงเครียดกับเหล่าประเทศฝั่งตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษมากขึ้นไปอีก

                การเข้าโจมตีประเทศจีนของฝ่ายญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1937 ได้ถูกประเทศในองค์การสันนิบาติชาติ (The League of Nations) วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และยังแสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพและความพร้อมที่จะลงมือของประเทศจากเอเชียแห่งนี้ด้วย

                หลังสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ความพยายามยับยั้งญี่ปุ่นยิ่งไร้ผล และเมื่อวันที่ 27กันยายน ค.ศ. 1940 ญี่ปุ่นก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาสามฝ่าย (Tripartite Pact) เพื่อเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ พร้อมกับนาซีเยอรมนี และฟาสซิสต์อิตาลี นี่เป็นการคุกคามที่มีผลต่อสหรัฐอเมริกาโดยตรง เนื่องจากสหรัฐฯ จะตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีได้จากทั้งสองฝั่งของมหาสมุทร

                สหรัฐฯ ได้เตรียมการรับมือสงคราม แต่ยังคงวางตัวเป็นกลางอยู่

              ช่วงปี ค.ศ. 1940-1941 ญี่ปุ่นยังคงเดินหน้ารุกรานดินแดนในแถบอินโดจีน (Indo-China)ต่อไป ขณะที่สหรัฐฯ ก็พยายามขัดขวาง โดยห้ามส่งออกสินค้าสำคัญ อย่างน้ำมันดิบและวัตถุดิบต่างๆไปยังญี่ปุ่น ปิดเส้นทางการเดินเรือสินค้า หรือยุทธวิธีอื่นๆที่คล้ายกัน

            ญี่ปุ่นจำเป็นต้องได้น้ำมันดิบจากสหรัฐ แต่สหรัฐยื่นคำขาดว่าญี่ปุ่นต้องถอนทัพออกจากประเทศจีนก่อน ประเทศญี่ปุ่นปฏิเสธ และตัดสินใจว่าการลงมือทางการทหารที่รวดเร็วเป็นทางเลือกเดียวที่ทำได้

           การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายถูกเลื่อนออกไป จนในที่สุด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1941 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยินยอมให้ประเทศทำสงครามกับสหรัฐฯ อังกฤษ และฮอลแลนด์ อย่างเป็นทางการ การโจมตีของญี่ปุ่นจะเริ่มขึ้นด้วยการทำลายกองกำลังในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ บนเกาะโอวาฮู (O’aho) รัฐฮาวาย (Hawaii)

       ญี่ปุ่นหวังว่าจะสามารถเข้าควบคุมประเทศในแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้โดยไม่มีใครมาขัดขวาง พวกเขาโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์เพื่อจุดประสงค์นี้ ในขณะเดียวกันยังสามารถทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกันได้ และยังลดความสามารถของสหรัฐ เพื่อให้ตนขยายอำนาจไปในพื้นที่อื่นๆได้อีกด้วย

         การต่อสู้ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์เริ่มขึ้นก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศสงครามกับสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ การโจมตีครั้งนี้จึงเกิดขึ้นโดยฝ่ายสหรัฐไม่ทันได้ตั้งตัว และจำต้องป้องกันตัวเองอย่างฉุกละหุก โดยการโจมตีจากญี่ปุ่นมีมาสองระลอก จากทั้งทางอากาศและทางน้ำ การโจมตีระลอกแรก เริ่มขึ้นก่อน 8 นาฬิกาของวันที่ 7 ธันวาคมเพียงเล็กน้อย และระลอกที่สองก็ตามมาอีกหนึ่งชั่วโมงให้หลัง

 

          ถึงแม้ว่ารวมแล้วการจู่โจมจะกินเวลาเพียงสองชั่วโมง เมื่อทุกอย่างจบลง เครื่องบินของฝ่ายสหรัฐกลับถูกทำลายเกือบทั้งหมด เช่นเดียวกับยานพาหนะอื่นๆของกองทัพ เรือรบขนาดใหญ่สองลำ คือ เรือ ยู.เอส.เอส โอกลาโฮมา (USS Oklahoma) และ ยู.เอส.เอส. แอริโซนา (USS Arizona) ถูกทำลายจนย่อยยับ ปัจจุบันนี้ ซากเรือ ยู.เอส.เอส. แอริโซนา ยังคงจมอยู่ใต้น้ำที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์อุทิศให้เหล่าผู้คนที่เสียชีวิตในการต่อสู้ครั้งนั้นจำนวนผู้สูญเสียชีวิตในเหตุการณ์สูงถึงกว่า 2,300 คน ซึ่งรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกองทัพและประชาชนทั่วไป 

 

        เพียงหนึ่งวันหลังจากนั้น สหรัฐอเมริกาก็เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของความขัดแย้งครั้งประวัติศาสตร์นี้

 

ปฎิบัติการ "กามิกาเซ่" กับเวลา 2 ชั่วโมง  "เพิร์ลฮาร์เบอร์" ราบเป็นหน้ากลอง

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์