สันติภาพซีเรียกำลังจะกลับมา!! สหประชาชาติ  รับรอง ข้อตกลงหยุดยิงของซีเรีย  ที่เดินหน้าโดย "รัสเซีย และ ตุรกี"  ส่วน "สหรัฐฯ" ยังมีคำถาม?

15 ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมให้การรับรองข้อตกลงหยุดยิงในซีเรีย

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงาน การประชุมของ 15 ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมให้การรับรองข้อตกลงหยุดยิงในซีเรียตามการผลักดันของรัสเซียและตุรกี เพื่อไปสู่การเจรจาสันติภาพระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกบฏ ในเดือนม.ค.นี้ ที่กรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน โดยมีรัสเซีย ตุรกี และอิหร่าน ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย


นายวิทาลี เชอร์กิน เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นหารลงมติ ว่าข้อตกลงหยุดยิงฉบับนี้เป็น เอกสารเพิ่มเติม ไม่ไช่เอกสารแทนที่ความพยายามทั้งหมดของยูเอ็นในการสร้างสันติภาพในซีเรีย ที่รวมถึงการเจรจาครั้งต่อไปในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ที่นครเจนีวาด้วย ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งตั้งข้อสงสัยต่อท่าทีของรัสเซียมาตลอด ยอมรับว่าการหยุดยิงครั้งนี้ มีสัญญาณเชิงบวก

 

ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสแสดงความหวังว่าคู่กรณีทุกฝ่ายจะเคารพข้อตกลงหยุดยิงอย่างเรียบร้อยเช่นนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายขอให้รัสเซียและตุรกีชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และข้อตกลงส่งผลต่อกลุ่มกบฏที่อยู่นอกจังหวัดอเลปโป

ส่วนข้อตกลงหยุดยิงที่มีรัสเซียและตุรกีเป็นคนกลาง เข้าสู่วันที่ 2 ชองการบังคับใช้ ซึ่่งส่วนใหญ่ยังได้รับการยึดถือ ขณะที่มอสโกและอังการา ประสานงานกันใกล้ชิดขึ้นในประเด็นซีเรีย
       
       กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อสิทธิมนุษยชนในซีเรีย ซึ่งมีสำนักงานในอังกฤษ ระบุว่าสถานการณ์ในซีเรียในวันเสาร์ ยังคงสงบ แม้มีการปะทะบ้างกันประปราย
       
       ข้อตกลงดังกล่าวไม่นับรวมกลุ่มนักรบญิฮาดอย่างกลุ่มไอเอส และอดีตกลุ่มฟาเตห์ อัล-ชาม ฟรอนต์ เครือข่ายของอัลกออิดะห์
       
       ตุรกีและรัสเซีย บอกว่าการเจรจาที่อัสตานา จะเป็นส่วนเสริม ไม่ใช่การแทนที่ความพยายามสันติภาพที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติ ในนั้นรวมถึงการเจรจาที่เจนีวา ซึ่งกำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์
       
       สหรัฐฯไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการใหม่นี้ แต่เรียกข้อตกลงดังกล่าวว่าเป็นสัญญาณเชิงบวก ส่วนรัฐบาลซีเรียในดามันกัส บอกว่าข้อตกลงหยุดยิงคือโอกาสที่แท้จริงในการหาทางออกทางการเมืองแก่สงครามที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 310,000 ศพ

 



สันติภาพซีเรียกำลังจะกลับมา!! สหประชาชาติ  รับรอง ข้อตกลงหยุดยิงของซีเรีย  ที่เดินหน้าโดย "รัสเซีย และ ตุรกี"  ส่วน "สหรัฐฯ" ยังมีคำถาม?

ก่อนหน้านี้ทางด้านประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้แถลงข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศระหว่างรัฐบาลซีเรียและพวกกลุ่มกบฎ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่เที่ยงคืนวันพฤหัสบดี ที่ 29ธ.ค. เป็นต้นไป
       
       คำแถลงของรัสเซียมีขึ้นหลังจากรัสเซีย อิหร่านและตุรกี บอกว่าพวกเขาพร้อมเป็นคนกลางของข้อตกลงสันติภาพในสงครามกลางเมืองซีเรียที่ยืดเยื้อมาเกือบ 6 ปีแล้ว กองทัพซีเรียแถลงหยุดการสู้รบทั่วประเทศ แต่บอกว่าพวกไอเอส และกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสองกลุ่มนี้ จะไม่ถูกนับรวมในข้อตกลงดังกล่าว แต่ไม่ได้ยืนยันว่ามีกลุ่มใดบ้างที่ถูกกีดกันจากข้อตกลงหยุดยิงทางด้านฝั่งกลุ่มกบฎ ก็เห็นด้วยกับแผนหยุดยิง 



 

       
       ทางด้านผู้นำรัสเซีย ได้เปิดเผยว่ากลุ่มกบฏและรัฐบาลซีเรีย ลงนามในเอกสารจำนวนมาก ในนั้นรวมถึงการหยุดยิง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในช่วงค่ำคืนวันที่ 29-30 ธันวาคม  นอกจากนั้น ก็บอกบอกต่อว่า ทางด้านรัสเซีย ก็จะทำการลดการประจำการของทหารในซีเรีย อีกด้วย

 

ส่วนทางด้านสหรัฐฯไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจานี้ และไม่มีคิวเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพรอบต่อไปในกรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน พันธมิตรหลักของรัสเซีย       การไม่มีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ตอกย้ำให้เห็นถึงความรู้สึกผิดหวังมากขึ้นเรื่อยๆของตุรกี และรัสเซีย ต่อนโยบายซีเรียของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย บอกว่าอเมริกาควรเข้ารวมกระบวนการสันติภาพ เมื่อว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่ง  โดยข้อตกลงนี้ซึ่งมีตุรกีและรัสเซียรับหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกัน เกิดขึ้นแม้ว่าตุรกี และรัสเซีย จะให้การสนับสนุนคนละฟากฝั่งของสงคราม โดยตุรกียืนกรานว่าประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ต้องลงจากอำนาจ แต่รัสเซียให้การสนับสนุนผู้นำรายนี้
       
       นอกจากนั้นความต้องการของกองทหารจากฮิซบอลเลาะห์  ก็ไม่ตรงกับอิหร่าน ผู้สนับสนุนคนสำคัญของผู้นำซีเรีย แม้ว่านักรบฮิซบอลเลาะห์จะสู้รบเคียงข้างกองกำลังรัฐบาลซีเรียเช่นกัน โดยกองกำลังนักรบต่างชาติเหล่านี้ก็ต้องเดินทางออกจากซีเรียเช่นกัน
       
       ภายใต้กรอบข้อตกลงระหว่าง 3 ชาติ ซีเรียอาจถูกแบ่งเป็นโซนของมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการ และ ประธานาธิบดี บาซาร์ อัล-อัสซาด จะยังคงเป็นผู้นำซีเรียต่อไป

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์