"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

“ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้” หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

ระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2531 เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ทำให้เกิดอุทกภัยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร พื้นที่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่เศรษฐกิจใกล้เคียง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 4,000 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ มีพระราชดำรัสกับนายจริย์ ตุลยานนท์ อธิบดีกรมชลประทาน นายสุเมธ ตันติเวชกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน กปร. และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา ให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขและบรรเทาอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

พระองค์ท่านทรงดำรัสไว้ว่า

“...การแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยด้วยวิธีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่คลองอู่ตะเภาหรือตามลำน้ำสาขาเพื่อสกัดกั้นน้ำจำนวนมากไม่ให้ไหลมายังเมืองหาดใหญ่นั้นคงไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีทำเลที่เหมาะสมในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ดังกล่าวได้เลย ดังนั้นการแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาหรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว นอกจากนั้นหากต้องการที่จะป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ธุรกิจให้ได้ผลโดยสมบูรณ์แล้ว หลังจากที่ก่อสร้างคลองระบายน้ำเสร็จ ก็ควรพิจารณาสร้างคันกั้นน้ำรอบบริเวณพื้นที่ดังกล่าวพร้อมกับติดตั้งระบบสูบน้ำออกจากพื้นที่ไม่ให้ท่วมขังตามความจำเป็น  ทั้งนี้ให้พิจารณาร่วมกับระบบของผังเมืองให้มีความสอดคล้องและได้รับประโยชน์ร่วมกันด้วย...”

"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

แต่แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2543 เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันอีกครั้งหนึ่ง  คลองระบายน้ำธรรมชาติที่กรมชลประทานได้ดำเนินการขุดลอกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมขังบริเวณเทศบาลนครหาดใหญ่ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท จากผลองน้ำท่วมในครั้งนั้น

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานในโอกาสที่คณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 27 พฤศจิกายน 2543

       “...ที่หาดใหญ่ ที่น้ำท่วมอย่างมากมายเช่นนี้ ท่านผู้ที่อยู่ในท้องที่ก็ได้เห็นด้วยตาของตนเอง แต่ว่าไม่ทันรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าถามผู้อยู่ที่หาดใหญ่เองทั้งประชาชน ทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร และพลเรือน ว่าน้ำนั่นมาอย่างไร สักแปดสิบเปอร์เซ็นต์จะไม่ทราบ แม้แต่ผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในทางอุทกศาสตร์ หรือในทางชลประทานก็ไม่ทราบ ความจริง ก่อนที่เกิดเรื่องอย่างนี้ได้เคยไปที่หาดใหญ่แล้ว และเคยไปชี้ว่าควรที่จะทำอะไร แต่ไม่ได้ทำ หรือทำแล้ว ก็ได้สร้างอะไรอื่นๆ ขึ้นมาขวางกิจการที่จะป้องกัน หรือทำให้ไม่เกิดอุทกภัยเช่นนี้ ถ้าไปดูท่านผู้ที่อยู่แถวนั้น และจะกลับบ้าน หรือกลับไปในที่ที่ไปปฏิบัติได้ ให้ไปดูทางด้านตะวันตกของเมือง มีถนน แต่ว่าถนนนั้นพยายามทำขึ้นมาแล้วเป็นคล้ายๆ พนังกั้นน้ำมิให้น้ำเข้าไปในเมือง ก็ไม่ได้ทำ หรือทำแล้วก็ไม่ได้รักษา ทางทิศเหนือ หรือทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีถนนที่กำลังสร้าง หรือสร้างใหม่ๆ กั้นน้ำเป็นเหมือนเขื่อน มิให้น้ำออกจากตัวเมืองได้ จึงทำให้น้ำท่วมในตัวเมืองถึง 2 เมตร 3 เมตร ทีแรกได้ยินข่าวว่าน้ำท่วม 2 เมตร 3 เมตร ไม่เชื่อ ฟังวิทยุ ดูในหนังสือพิมพ์ว่า ทำไมน้ำจะท่วมได้ 2 เมตร 3 เมตร ก็เป็นความจริงว่าท่วม ท่วมรถยนต์ไม่เห็นเลย ท่วมไปหมด คนที่อยู่บ้านชั้นเดียว ก็ต้องปีนขึ้นไปบนหลังคา อันนี้เป็นความจริง แต่ว่าถ้าหากทำอย่างที่ว่า ซึ่งบอกให้ทำมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทำพนัง หรือคัน และไม่ทำถนนที่กั้นน้ำเป็นเขื่อน ก็จะทำให้ตัวเมืองหาดใหญ่ไม่เป็นอ่างเก็บน้ำ ที่แปลก โดยมากก็ชอบทำเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อจะเก็บน้ำเอาไว้ใช้ แต่นี่มาทำอ่างเก็บน้ำเอาไว้จม...”

และในปีเดียวกันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ในหลวงรัชกาลที่๙ ได้มีพระราชดำรัสต่อคณะบุคคลที่เข้าเฝ้า เกี่ยวกับอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ณ พระราชวังสวนจิตลดา สรุปความว่า

“...เมื่อวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2543 มีน้ำท่วมภาคใต้ โดยเฉพาะที่อำเภอหาดใหญ่ มีความเสียหายหลายพันล้านบาท ซึ่งถ้าได้ทำตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ปี 2531 ที่ลงทุนนั้นจะได้รับคืนมาหลายเท่าตัว...”

ทำให้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ให้กรมชลประทานดำเนินการโครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบอุทกภัยในส่วนของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการขุดคลองระบายน้ำเพิ่ม จำนวน 7 สาย ระยะเวลาดำเนินงาน 7 ปี (2544-2550) โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 4,700 ล้านบาท สามารถระบายน้ำได้รวม 1,075 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คลองสายสำคัญที่สุดนั่นคือคลองระบายน้ำที่ 1 หรือคลอง ร.1 เริ่มต้นจากบ้านหน้าควนลัง แบ่งเบาน้ำจากคลองอู่ตะเภาก่อนไหลเข้าตัวเมืองหาดใหญ่

ต่อมาได้มีโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) บรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงสร้างขึ้นก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 ให้สามารถระบายน้ำตามการปรับปรุงคลองระบายน้ำสายที่ 1 (คลอง ร.1) และ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 กรมชลประทานได้อนุมัติในหลักการดำเนินการโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จ.สงขลา โดยสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้งบประมาณดำเนินโครงการ 6,500 ล้านบาท เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2562 โดยหลักใหญ่ใจความสำคัญของโครงการอยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองระบายน้ำ ร.1 จากเดิม 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ให้ระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และลดระดับความเสียหายจากอุทกภัยช่วงฤดูฝนในพื้นที่เศรษฐกิจของอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 5.0 ล้านลูกบาศก์เมตร

"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

และเมื่อโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ ดำเนินการแล้วเสร็จ ปัญหาอุทกภัยของอำเภอหาดใหญ่ก็บรรเทาเบาบางลงไปเป็นอย่างมาก แม้แต่ในปีที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศเตือนให้เฝ้าระวังอุทกภัย แต่ชาวอำเภอหาดใหญ่ก็รอดพ้นจากภัยน้ำท่วมมาได้ทุกครั้ง อาจมีบ้างที่น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นในตัวเมือง แต่น้ำก็จะไหลลงสู่คลองระบายน้ำ และไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลาภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวอำเภอหาดใหญ่ และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างอเนกอนันต์ พสกนิกรชาวหาดใหญ่ต่างยังคงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำริแก้ปัญหาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ ให้รอดพ้นจากภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างยั่งยืน และเนื่องจากปัจจุบันหย่อมความกดอากาศต่ำที่ส่งผลให้เกิดฝนในภาคใต้ตอนล่างของไทยและจังหวัดสงขลาถึงสองรอบ ได้เคลื่อนตัวเข้ามาซึ่งจะส่งผลทำให้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนมาก และ ยังมีการก่อของกลุ่มฝนที่จาอีกในไม่ช้า แต่การระบายน้ำในลำน้ำสำคัญเริ่มทำได้ดีขึ้น น้ำในคลองอู่ตะเภาลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่  เนื่องจากการระบายลงทะเลได้ดี ถึงแม้นน้ำในทะเลสาบอาจหนุนสูงสภาพน้ำในเมืองหาดใหญ่อยู่ในสภาวะปกติ

"ด้วยพระบารมีและสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง ร.๙ ที่ทรงจัดวางแนวทางป้องกันภัยน้ำท่วมไว้ให้" หาดใหญ่จึงรอดพ้นภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ครั้งนี้

ข้อมูลจาก :  http://www.sator4u.com  , http:// rdo.psu.ac.th

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์