13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

ปี พ.ศ. 2454 ที่ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบินที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ จึงมีคำสั่งให้นายทหาร 3 นาย คือ พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส

ในระหว่างที่นายทหารทั้ง 3 นายเดินทางไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ทางการก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินเป็นครั้งแรกจากฝรั่งเศส มาจำนวน 7 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง เข้าไว้ประจำการ นอกจากนี้ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ยังได้อุทิศทรัพย์ส่วนตัว ซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให้ราชการไว้ใช้งานอีก 1 เครื่อง ด้วยเห็นว่าเครื่องบินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ ทำให้ในยุคแรก ประเทศไทยมีเครื่องบินประจำการ จำนวน 8 เครื่อง

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

หลังสำเร็จการศึกษานายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย ได้กลับมาทดลองบินครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2456 ซึ่งนายทหารนักบินทั้ง 3 นาย สามารถขับเครื่องบินและร่อนลงจอดได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางเสียงชื่นชมของผู้ชมจำนวนมากที่มารอชม เนื่องจากในสมัยนั้น การขึ้นบินบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ที่สามารถขับเครื่องบินได้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ และถือเป็นเกียรติประวัติที่ควรได้รับการสรรเสริญ

ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการการบินไทยได้รับการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

(พระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ร.6)

จากนั้น ในวันที่ 13 มกราคม 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรการบิน โดยมีนายทหารนักบินขึ้นแสดงการบินถวายและโปรยกระดาษถวายพระพรชัยมงคล ในการนี้ก็มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ และประชาชนมาร่วมเฝ้าเสด็จและชมการแสดงการบินในครั้งนี้ด้วย

ในอดีตกิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้างอากาศยานใช้ในราชการได้ และหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การบินของไทยก็ได้ช่วยสร้างประโยชน์มากมาย อาทิ เช่น ป้องกันประเทศ (สงครามอินโดจีน ฯลฯ) ช่วยเหลือผู้ป่วย, ช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ (โรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ) และช่วยทำให้เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ และสินค้าได้รวดเร็วจนพัฒนามาเป็นสายการบินระหว่างประเทศ

นับได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มและมีสายพระเนตรยาวไกลต่อกิจการการบิน กระทั่งได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันการบินแห่งชาติขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อกิจการการบินของชาติ

กระทั่ง ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของการบินไทย และคุณประโยชน์ของกิจการการบิน

ขอบคุณที่มา : http://www.chanonpat.com/

จวบจนในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 9 ประเทศไทยก็มีเจ้าฟ้านักบินแห่งราชวงศ์จักรี ประดับเป็นคู่บุญบารมีบนผืนแผ่นดินไทย ดังข้อมูลที่จะขอยกมากล่าวถึงจากหนังสือ “ใกล้เบื้องพระยุคลบาท” (เย็นศิระเพราะพระบริบาล) โดย “ลัดดาซุบซิบ ได้เล่าไว้ว่า

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

“ลัดดา” ขอน้อมเกล้าฯ ถวายความจงรักภักดีด้วยเรื่อง “เจ้าฟ้านักบิน” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

           สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 
ทรงสนพระทัยด้านอากาศยานและการบินตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

ทรงเริ่มทำการบินตามหลักสูตรการฝึกบินเฮลิ-
คอปเตอร์ของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ เมื่อ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๒

พระองค์เริ่มทำการบินเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-๑ เอช และเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-๑ เอ็น

         เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรทรงขึ้นรับพระราชทานประดับเครื่อง
หมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีนั้นเองยังทรงสำเร็จหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบกรวม ๒ เดือน

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

          ในช่วงปี ๒๕๒๓ ขณะติดตามสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐฯ ทรงเข้ารับการฝึกบิน
เฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-๑ เอช ของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่นอร์ธแคโรไลนา 
และปี ๒๕๒๕ เสด็จยังฐานทัพอากาศวิลเลียม รัฐแอริโซนา สหรัฐ
อเมริกา

        ทรงฝึกศึกษาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบเอฟ ๕ อี/เอฟ และทรงเข้ารับการฝึกบินในหลักสูตรการบินรบชั้นสูง (Advance Fighter 
Course)
กับเครื่องเอฟ ๕ ดี/เอฟ ที่กองบิน ๑ ฝูง ๑๐๒ จนสำเร็จตามหลักสูตร มีชั่วโมงบินทุกประเภทรวมกันกว่า ๑,๐๐๐ ชม.

        

            พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน ฝึกสอนทั้งภาควิชาการกับการฝึกบินแก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นพระเมตตา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร มิได้ทรงละเลยการฝึกบินแบบใหม่ๆ โดยทรงเข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินใบพัดแบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และฝึกบินกับเครื่องบินไอพ่นแบบที ๓๗ กับแบบที ๓๓ และจบ
หลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ ๕ อี/เอฟ ของกองบิน ๑ ฝูงบิน ๑๐๒ รวมชั่วโมงบิน ๒๐๐ ชั่วโมง ด้วยความสนพระทัยอย่างมาก จนกระทั่งทรงพร้อมรบและครบ๑,๐๐๐ ชั่วโมง เมื่อ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๒ อีกทั้งยังทรงเข้าร่วมการแข่งขัน
ใช้อาวุธทางอากาศประจำปี โดยทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา

กองทัพอากาศจึงทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ ๑ ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว

 

          ไม่แต่เท่านั้น พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน ฝึกสอนทั้งภาควิชาการกับการฝึกบินแก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นพระเมตตา

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย

ข่าวโดย : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)