อังกฤษไม่ยอมให้ฝรั่งเศสขุดคอคอกระในสยาม!! "ขุดคอคอดกระ" อภิมหาโปรเจ็คที่ไม่เคยสำเร็จ เพราะ  อังกฤษคือผู้ขัดขวางตัวจริง

เมื่ออังกฤษไม่ยอมให้ฝรั่งเศสขุดคอคอกระในสยาม เพราะการขุด จะต้องเริ่มต้นในอาณาเขตอาณานิคมของอังกฤษด้วย

 

ในช่วงเวลานี้ กระแสข่าวการขุดคลองเชื่อมระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย กลับเข้ามาสู่ความสนใจอีกครั้ง ดังนั้น จะได้นำเอาบทวิเคราะห์ ที่ทาง เสธ น้ำเงิน ได้เขียนไว้บนเพจ แฉ..ความลับ มาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านกัน หลังจากที่ได้นำเสนอตอนแรก ไขปริศนา..ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จมานานถึง 357 ปี จากอาณาจักรอโยธยา (ตอน 1)


 

วันที่ 17 ส.ค.57 ไขปริศนา..ขุดคอคอดกระ ทำไมสร้างไม่สำเร็จ อังกฤษคือผู้ขัดขวาง (ตอน 2)

ความเดิมตอนแรกที่แล้ว ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่ามาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้ว ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมยกทัพกลับอีก และไทยก็กองทัพอ่อนแอไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญา ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ ทำให้สยามไม่ไว้วางใจฝรั่งเศส และบรรยากาศในการเจรจาใดๆ กับฝรั่งเศสมีท่าทีไม่เป็นมิตรอีกต่อไป

พ.ศ. 2423 ฝรั่งเศสมีแนวความคิดในการขุดคลองปานามา แต่ก็ต้องล้มเหลวไป สาเหตุจากโรคระบาด (มาลาเรีย หรือ ไข้เหลือง) และดินถล่ม มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต

พ.ศ. 2426 การผนวกเวียดนามของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสต้องเผชิญหน้ากับจีน ซึ่งครอบครองเวียดนาม อยู่ก่อน และต้องทำสงครามกับจีน จนเกิดเรื่องอื้อฉาวที่รู้จักกันในเวลานั้นว่า ภารกิจในตองแกง

แต่สงครามที่ยืดเยื้อกับจีน ทำให้ฝรั่งเศส สูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาล และชีวิตทหารหาญที่ตายไปจำนวนมาก จนนักการเมืองฝ่ายค้าน โจมตีนายรัฐบาลอย่างรุนแรง และเรียกร้องให้มีการโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาล

รัฐบาล ร้องของบประมาณเพิ่มจากสภาเพื่อสนันสนุนภารกิจในตองแกง เวียดนามเหนือ ซึ่งสภาต้องอนุมัติเป็นการเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนกองทัพ ให้เดินหน้าทำสงครามกับจีนต่อไป แต่ผลโหวตวุฒิสภา รัฐบาลฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างราบคาบ ทำให้รัฐบาลต้องล้ม

การพ้นจากตำแหน่งของนายก และการยุบสภา หมายถึง การยกเลิกนโยบาย และแผนงานต่างๆ ที่รัฐบาลเก่าวางไว้ รวมถึงสงครามกับจีน ในความพยายามในการผนวกอินโดจีน จึงกระทบแผนขุดคลองกระในสยามด้วย

พ.ศ. 2433 พรรคการเมืองฝ่ายขวาเดิม ได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้ง แต่เป็นผู้นำคนใหม่ แต่โครงการคอคอดกระก็มิได้แจ้งเกิดอีกเลย ทันทีที่รัฐบาลฝรั่งเศส ละทิ้งความสนใจในคอคอดกระไป อังกฤษก็หันมาดำเนินนโยบายเชิงรุก เข้าครอบงำแหลมมลายูอย่างจริงจัง

เมื่ออังกฤษไม่ยอมให้ฝรั่งเศสขุดคอคอกระในสยาม เพราะการขุด จะต้องเริ่มต้นในอาณาเขตอาณานิคมของอังกฤษด้วย ถ้าอังกฤษไม่ยอมให้ขุดก็ขุดคลองกระไม่ได้ ถ้าเลื่อนแนวหลบเขตแดนอังกฤษลงต่ำไป ก็เป็นเทือกเขาสูงทั้งนั้น ฝรั่งเศส จึงได้เลิกพยายาม แต่แก้เกี้ยวว่าจะต้องขุดตัดเทือกเขา

ถ้าฝรั่งเศส ขัดใจอังกฤษ ก็จะเป็นข้อพิพาททางการเมือง เพราะฝรั่งเศสหวังผลกำไรทางเศรษฐกิจ และลู่ทางธุรกิจการค้ามากกว่า จึงยังไม่พร้อมจะทำสงคราม 2 ด้าน คือ กับจีน เพื่อแย่งชิงเวียดนาม กับอังกฤษ หรือสยามในเวลานั้น จึงไม่ต้องการหาศัตรูเพิ่ม

สยามเอง ต้องรักษาดุลยภาพแห่งอำนาจไว้ได้ คือ หากเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ระหว่างอังกฤษหรือฝรั่งเศส ก็จะมีสภาพเป็นเสียเปรียบทุกประตู ตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า คายไม่ออก จำเป็นต้องเล่นเกมการเมือง กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อรักษาจุดยืนของตนเอง

คือ เอาใจอังกฤษไว้ คานอำนาจฝรั่งเศส อีกทางหนึ่ง คือ แสดงให้อังกฤษเห็นว่า สยามไม่จำเป็น ต้องสนใจความรู้สึกของอังกฤษ และ จะทำอย่างไรก็ได้ เหนือดินแดนในอำนาจอธิปไตยของสยามเอง การตัดสินใจให้ฝรั่งเศสสำรวจพื้นที่คอคอดกระ เพื่อเหยียบเรือสองแคม อยากเอาใจฝรั่งเศส เพื่อคานอำนาจอังกฤษ

ทั้งยังเป็นการหยั่งเชิงอังกฤษว่า จะมีปฏิกิริยาอย่างไร กับการที่สยามให้ฝรั่งเศสสำรวจพื้นที่ แทนที่จะให้อังกฤษ อีกใจหนึ่งก็เพื่อตัดไม้ข่มนาม มิให้ทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศสเห็นว่าสยามเกรงใจฝ่ายใด และจะตัดสินใจอย่างไรก็ได้ เพื่อประโยชน์ของตนเองโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอกประเทศ

ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม รัชกาลที่ 5 ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยยิ่งนัก งดงานรื่นเริงและกิจกรรมต่างๆ ทรงงดออกมหาสมาคม และลดพระราชกรณียกิจต่างๆ ลงหลายอย่าง ทรงไว้ทุกข์ 2 ปี งดรับแขกเมือง นักธุรกิจ และนักลงทุนที่ปกติจะขอเข้าเฝ้าเป็นประจำ รวมถึงการเจรจาใดๆ และภารกิจที่ไม่เร่งด่วน ทีมงานฝรั่งเศส ขอเข้ามาสำรวจพื้นที่ก็ต้องชลอไป

ช่วงนั้นสยามเอง ก็ไม่มีทุนรอนในการลงทุนขุดคลองคอคอดกระด้วยตนเอง เพราะต้องใช้เงินทุนมหาศาล หากจะใช้เงินทุนกู้นอกประเทศทำให้สยามเสียเปรียบ เพราะจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ และไม่ใช่เจ้าของคลองโดยพฤตินัยและนิตินัย ถึงแม้สยามจะเป็นเจ้าของประเทศ แต่ไม่ใช่เจ้าของคลอง เพราะจะมีนายทุนต่างด้าวครอบครอง และบริหารกิจการแทน

รัชกาลที่ 5 ยังต้องการตัดทอนอำนาจ และลดบทบาทของขุนนางตระกูลใหญ่ ที่ต้องการอำนาจในการปกครอง และแสวงหาผลประโยชน์อยู่ในพื้นที่ และหวั่นว่าจะเสียดินแดนเพิ่มอีก หากขุดคลองกระ ซึ่งจะกว้างและลึกมากเท่าแม่น้ำสายหนึ่ง อาจกลายเป็นข้อพิพาทเรื่องใหม่ระหว่างสยามกับชาติมหาอำนาจ นั้นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในวันข้างหน้าคือ การคิดแบ่งแยกดินแดนออกไป เป็นเขตสยาม ต่อแดนมลายูก็ย่อมเป็นได้

พ.ศ.2435 เสียดินแดนครั้งที่ 9 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ( 5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับอังกฤษ เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดม ด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง เพราะอังกฤษบังคับเอาให้ได้

 

อังกฤษไม่ยอมให้ฝรั่งเศสขุดคอคอกระในสยาม!! "ขุดคอคอดกระ" อภิมหาโปรเจ็คที่ไม่เคยสำเร็จ เพราะ  อังกฤษคือผู้ขัดขวางตัวจริง

 

พ.ศ.2436 เสียดินแดนครั้งที่ 10 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ดินแดนนี้เป็นของไทยมาตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย และเสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก

เท่านั้นยังไม่หนำใจ ฝรั่งเศสได้ ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราดไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขาย เครื่องแต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย รัชกาลที่ 5 เป็นค่าปรับ จนต้องนำถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้

รัชกาลที่ 5 ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทม จนประชวรหนัก เหตุเพราะท้องพระคลังมีเงินไม่พอ พระองค์ทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย ขมขื่นและระทมทุกข์ จากชาติฝรั่งเศสที่เข้ามารุกรานแผ่นดินสยาม จนท้อพระทัยว่า พระนามของพระองค์จะถูกลูกหลานในอนาคตติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น

เปรียบเสมือนสองกษัตริย์ “ทวิราช” ที่สูญเสียเศวตฉัตร แห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาให้กับอังวะในปี พ.ศ. 2310 และวิฤติการณ์ ร.ศ.112 ในครั้งนี้ ได้เป็นจุดเริ่มแห่งความเจ็บช้ำในพระทัยต่อพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์และทรงจดจำมิลืมเลือน จึงทรงสักยันต์ "ตราด ร.ศ.112" ไว้ตรงพระอุระของพระองค์ เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงความเจ็บช้ำที่เกิดจากเหตุการณ์ในกาลนั้น


พ.ศ. 2440 อังกฤษประสบความสำเร็จในการบีบคั้นสยามให้ทำ “อนุสัญญาลับ” กับอังกฤษขึ้นฉบับหนึ่ง โดยมีหลักใหญ่ใจความว่า สยามจะไม่ยินยอมให้ประเทศใดก็ตามซื้อเช่า หรือถือกรรมสิทธิ์ดินแดนสยาม ตั้งแต่บริเวณใต้ตำบลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษก่อน

เพื่อสกัดกั้นการขุดคอคอดกระมิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต อนุสัญญาพิเศษฉบับนี้ เปิดโอกาสให้อังกฤษเป็นชาติเดียวที่มีอิทธิพลทั้งทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนตลอดแหลมมลายู เพื่อกีดกันมหาอำนาจชาติอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวอีก

อิทธิพลของอังกฤษ ทำให้ได้รับสัมปทานจากสยาม ให้ทำเหมืองแร่ทองคำ ที่ตำบลบางสะพาน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และโครงการคอคอดกระ ก็มิได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกเลยจนตลอดรัชกาลที่ 5

พ.ศ.2446 เสียดินแดนครั้งที่ 11 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน คือ จำปาสัก และไซยะบูลี) ให้กับฝรั่งเศส พื้นที่ 25,500 ตร.กม. โดยไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศส คืนจันทบุรีให้ไทย

แต่ฝรั่งเศสถอนไปจากจันทบุรี แล้วหันไปยึดเมืองตราดแทน ต่ออีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้ หลวงพระบางแล้ว ยังลุกล้ำ บ้านนาดี ด่านซ้าย จ.เลย และยังได้ขนเอาศิลาจารึกที่ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย

พ.ศ.2449 เสียดินแดนครั้งที่ 12 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด, เกาะกง,ด่านซ้าย จ.เลย ตลอดจนอำนาจศาลไทย ที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศส ในประเทศไทย

เพราะขณะนั้นมีคนจีน ญวน ไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจาก จ. ตราด กับด่านซ้าย คงเหลือ แต่เกาะกงฝรั่งเศสไม่ยอมคืนให้ไทย

พ.ศ.2451 ครั้งที่ 13 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เสียรัฐกลันตัน , ตรังกานู , ไทรบุรี , ปะริส ให้กับอังกฤษ พื้นที่ 80,000 ตร.กม พลเมืองกว่า 5 แสนคน ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจศาลไทย ที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย

และเพื่อยกเลิก “อนุสัญญาลับ” ปี พ.ศ. 2440 กับอังกฤษ ที่ว่าสยามจะไม่ยินยอมให้ประเทศใดก็ตามซื้อเช่าดินแดนสยาม ตั้งแต่บริเวณใต้ตำบลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษก่อน

พ.ศ.2457 สหรัฐอเมริกาได้ทำสงครามกับสเปน เห็นว่าถ้ามีคลองลัดย่นระยะทางการเดินทางของเรือรบ และเรือขนส่งยุทธสัมภาระ ระหว่างฝั่งตะวันตกกับตะวันออกเป็นเรื่องยุทธศาสตร์เปรียบ สหรัฐเจรจากับรัฐบาลโคลอมเบีย แต่การตกลงเรื่องราคาค่าเช่าไม่ได้ ไม่ตกลงกับรัฐบาลอเมริกา

ชาวปานามากลัวว่า โคลอมเบียจะไม่แบ่งผลประโยชน์ ให้เท่าที่พวกตนควรได้ จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นและประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช ซึ่งอเมริกาได้รับรองการเป็นเอกราชของปานามา และได้สัมปทานดำเนินการก่อสร้างคลองนี้ขึ้น

พ.ศ. 2460 สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยในเรื่องคลองกระ เพราะทรงเห็นว่า อำนวย
ประโยชน์ และความเจริญมาสู่ประเทศอย่างมหาศาล แต่เนื่องจากปัญหาทางการเมือง ทำให้ตัดสินพระทัยไม่ทรงอนุญาตให้มีการขุดคลองกระ

พ.ศ. 2478 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นักการเมืองไทย ได้รื้อฟื้นโครงการคลองกระมาพิจารณา แต่ก็มีหลายเหตุผลคัดค้าน เช่น ประเทศไทยต้องมีเงินทุนเพียงพอ โดยเฉพาะปัญหาความมั่นคง การแบ่งแยกประเทศออกเป็นสองส่วน ผนวกกับ ประเทศสิงคโปร์กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย

 

อังกฤษไม่ยอมให้ฝรั่งเศสขุดคอคอกระในสยาม!! "ขุดคอคอดกระ" อภิมหาโปรเจ็คที่ไม่เคยสำเร็จ เพราะ  อังกฤษคือผู้ขัดขวางตัวจริง

 

พ.ศ. 2489 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โอกาสขุดคลองคอคอดกระก็ลดน้อยลง เมื่อสนธิสัญญายุติสงคราม ระหว่างไทยกับอังกฤษ สนธิสัญญานี้ ชื่อว่า ความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อยุติภาวะสงครามระหว่างสยาม อังกฤษ และอินเดีย โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังนี้คือ

1. ไทยจะต้องคืนดินแดนทั้ง 4 รัฐในมลายู คือ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส
2. ไทยรับรองว่าจะไม่ขุดคอคอดกระ เพื่อเชื่อมมหาสมุทอินเดียวกับไทย โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษ
3.ไทยต้องส่งข้าวจำนวน 1,500,000 ตันโดยไม่คิดมูลค่า (ตอนหลังอังกฤษตกลงที่จะซื้อข้าวกดราคาถูกๆ)
4. ไทยต้องขายดีบุก ข้าว ยาง และชา ตามราคาที่กำหนด
5. ไทยจะเข้าเป็นสมาชิก UN ได้ก็ต่อเมื่อได้รับเสียงสนับสนุนจากอังกฤษและอินเดีย

ในสัญญาว่าไทย จะไม่ขุดคอคอดกระเพื่อเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับไทย โดยยังมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งหมายความว่า “ อังกฤษไม่อยากให้ไทย มาทำธุรกิจการเดินเรือแข่งกับสิงคโปร์ “ ในเนื้อหาของสัญญานี้ไม่ได้ระบุอายุของสนธิสัญญา ว่านานแค่ไหน

พ.ศ. 2544 วุฒิสภา ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ผลการศึกษานั้น ตัดคำว่าคอคอดกระ และให้ใช้คำว่า “คลองไทย” แทน เพราะบริเวณที่จะขุดเชื่อมทะเลสองฝากฝั่งนั้น อาจไม่ใช่คอคอดกระ

ด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ และทางภูมิศาสตร์ เพราะสภาพพื้นที่บริเวณคอคอดกระ เป็นภูเขาและหิน มีความยากลำบากมาก และปัญหาความมั่นคง เนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่าปากแม่น้ำกระบุรี บริเวณที่มีความเป็นไปได้ และ ในการขุดคลองไทย คือ เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120 กิโลเมตร

คลองไทย สามารถร่นระยะเวลาเดินทางอ้อมแหลมมลายูได้ 2 วัน หากเปรียบเทียบกับคลองสุเอซ หรือคลองปานามา ที่สามารถร่นระยะเวลาได้ประมาณ 7 วัน ประเทศจีน จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้คลองไทย ร่นระยะเวลาในการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางไปจีน

แผนที่คอคอดกระ และพิมพ์เขียวของฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ซับซ้อน ผูกโยงไว้ด้วยเหตุผลทางการเมือง การทหาร การต่างประเทศ การคลัง เศรษฐกิจ และผลประโยชน์แอบแฝง ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกบงการอยู่

การตัดสินใจของบรรพบุรุษพระมหากษัตริยไทย ที่ยังไม่ได้ขุดจนบัดนี้ ก็เพราะสมัยนั้นมีความล่อแหลม และสุ่มเสี่ยงต่อภัยอำพรางต่างๆ ต่อประเทศขณะเวลานั้นนั่นเอง

 

อังกฤษไม่ยอมให้ฝรั่งเศสขุดคอคอกระในสยาม!! "ขุดคอคอดกระ" อภิมหาโปรเจ็คที่ไม่เคยสำเร็จ เพราะ  อังกฤษคือผู้ขัดขวางตัวจริง