รู้หรือไม่?? ภายในรพ. พระมงกุฎเกล้าฯ มีพระราชวังพญาไท ซ้อนอยู่..พระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ..!!

รู้หรือไม่?? ภายในรพ. พระมงกุฎเกล้าฯ มีพระราชวังพญาไท ซ้อนอยู่..พระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ..!!

วังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอด พระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับรวมถึง ส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนารวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญหลายครั้ง

รู้หรือไม่?? ภายในรพ. พระมงกุฎเกล้าฯ มีพระราชวังพญาไท ซ้อนอยู่..พระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ..!!

 

ใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือน ก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียงพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่งรัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวัง พญาไทไปประทับในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษ นายแพทย์ประจำกองทหารวังปารุสกวันพิจารณาเห็นว่า ควรจัดให้มีสถานพยาบาลเป็นแหล่งกลางของกองทัพบกขึ้นสักแห่งหนึ่ง ทำนองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งได้ขอยืมนายทหารกองทัพบกไปใช้ปฏิบัติงาน จึงได้นำความเรื่องนี้ปรึกษากับ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ท่านเห็นด้วยในหลักการและยินดีที่จะสนับสนุนสถานที่ ซึ่งอยู่ในข่ายพิจารณา 3 แห่ง คือ 1.โฮเต็ลพญาไท (พระราชวังพญาไท) 2.วังบางขุนพรหม 3.กรมแผนที่ทหารบก เมื่อได้พิจารณากันแล้วในที่สุดเห็นว่าโฮเต็ลพญาไท เหมาะกว่าที่อื่น พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษจึงได้เรียน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ให้ขอโฮเต็ลพญาสำหรับเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลต่อไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชวังพญาไทนี้เป็นสถานพยาบาลของทหาร จากนั้นได้รวมกองเสนารักษ์ที่ 1 (ปากคลองหลอด) และกองเสนารักษ์ที่ 2 (บางซื่อ) เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อใหม่ว่า กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ แล้วย้ายมาตั้ง ณ พระราชวังแห่งนี้ โดยมี พ.ท.หลวงวินิชเวชการเป็นผู้บังคับกอง และได้กระทำพิธีเปิดสถานพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดชและนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่านได้มาร่วมในพิธีนี้ การดำเนินการเพื่อที่จะให้การรักษาพยาบาลของสถานที่แห่งนี้ได้เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับทางกองทัพบกจึงได้โอนนายแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถอันดีเยี่ยมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการจำนวน 3 นาย คือ 1. รองอำมาตย์เอก หลวงวาทวิทยาวัฒน์ มาบรรจุในแผนกอายุกรรม 2. รองอำมาตย์ตรี สงวน โรจนวงศ์ มาบรรจุแผนกศัลยกรรม 3. รองอำมาตย์ตรี บุญเจือ ปุณโสนี มาบรรจุในแผนกสูตินรีเวชกรรม ตั้งแต่นั้นมา กิจการก็ดำเนินมาด้วยดี ในตอนปลายปี พ.ศ. 2476 ทางราชการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดจำหน่ายทหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะนั้นกองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1

 

รู้หรือไม่?? ภายในรพ. พระมงกุฎเกล้าฯ มีพระราชวังพญาไท ซ้อนอยู่..พระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ..!!

ตลอดเวลาสงครามเอเชียบรูพาและในระหว่างสงครามทางราชการทหารจำเป็นต้องระงับการช่วยเหลือประชาชนชั่วคราว ทั้งนี้เนื่องจากต้องจัดขยายสถานที่ไว้สำหรับรักษาพยาบาลทหารโดยเฉพาะ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2488 กองทัพบกได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงสมรรถภาพของทหารให้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งในด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ คือ แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ เทคนิคอื่น ๆ ตลอดการวิจัยในทางวิทยาวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 กองเสนารักษ์มลฑลทหารบกที่ 1 จึงแปรสภาพเป็นโรงพยาบาลทหารบกและโอนการบังคับบัญชาขึ้นตรงตรงต่อกรมการแพทย์สุขาภิบาล(กรมแพทย์ทหารบกในปัจจุบัน) โดยได้เปิดทำการรักษาพยาบาลประชาชนทั่วไปเช่นเดิมและในเวลาเดี่ยวกันก็ใช้โรงพยาบาลทหารบกแห่งนี้ เป็นแหล่งศึกษาสำหรับแพทย์ตลอดจนเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่น ๆ ด้วย

นสมัย พล.ต.ถนอม อุปถัมภานนท์ เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบก กองทัพบก พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งโรงพยาบาลทหารบกในขณะนั้น เดิมเป็นพระราชวังพญาไท และเป็นพระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับในรัชสมัยของพระองค์ สมควรจะได้รับการขนานชื่อ โดยเชิญพระปรมาภิไธยในพระองค์ท่าน มาเป็นชื่อโรงพยาบาล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ผู้ทรงริเริ่มสถาปนา พระบรมราชานุสรณ์รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้รายงานกระทรวงกลาโหมเพื่อพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ตามหนังสือแจ้งความกองทัพบก ที่ 16/13208 ซึ่งลงนาม ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2495 โดย พล.อ.ผิน ชุนหะวัน ผบ.ทบ.

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 จอมพลผิน ชุนหะวัน ผบ.ทบ. เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายนามหน่วย “โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า”

รู้หรือไม่?? ภายในรพ. พระมงกุฎเกล้าฯ มีพระราชวังพญาไท ซ้อนอยู่..พระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ..!!

 

อยากไรก็ตาม ปัจจุบันพระราชวังพญาไทได้มีการบูรณะใหม่ โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมฟรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน และในวันเสาร์จะเปิด ให้ชมภายในพระราชวังวันละ 2 รอบ เวลา 9.30 น. และ 13.30 น. สามารถสอบถามรายละเอียดและเยี่ยมชมวังได้ที่ สำนักงาน ชมรมคนรักวังฯ พระที่นั่งพิมานจักรี ชั้น 1 พระราชวังพญาไท ( ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ) เลขที่ 315 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0-2354-7660, 0-2354-7600-28 ต่อ 93646, 93694