พลิกประวัติศาสตร์สยาม!! ครบรอบ ๑๙๑ปี รัฐบาลสยามลงนามใน "สนธิสัญญาเบอร์นี่" สนธิสัญญาทางพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตก #วันนี้ในอดีต

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

พลิกประวัติศาสตร์สยาม!! ครบรอบ ๑๙๑ปี รัฐบาลสยามลงนามใน "สนธิสัญญาเบอร์นี่" สนธิสัญญาทางพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตก #วันนี้ในอดีต

           สนธิสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty) คือ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่กรุงรัตนโกสินทร์ (ต่อมาคือประเทศไทย) ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

           ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เฮนรี เบอร์นี ได้เป็นทูตอังกฤษเดินทางเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. ๒๓๖๘ เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้า ในด้านการค้า รัฐบาลอังกฤษประสงค์ขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวกในการในการค้าได้โดยเสรี การเจรจาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๙ และมีการลงนามในสนธิสัญญากัน

         

พลิกประวัติศาสตร์สยาม!! ครบรอบ ๑๙๑ปี รัฐบาลสยามลงนามใน "สนธิสัญญาเบอร์นี่" สนธิสัญญาทางพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตก #วันนี้ในอดีต

            สนธิสัญญาเบอร์นีประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีรวม ๑๔ ข้อ และมีสนธิสัญญาทางพาณิชย์แยกออกมาอีกฉบับหนึ่งรวม ๖ ข้อ ที่เกี่ยวกับการค้า ได้แก่ ข้อ ๕ ให้สิทธิพ่อค้าทั้งสองฝ่ายค้าขายตามเมืองต่าง ๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเสรีตามกฎหมาย ข้อ ๖ ให้พ่อค้าทั้งสองฝ่ายเสียค่าธรรมเนียมของอีกฝ่าย และข้อ ๗ ให้สิทธิแก่พ่อค้าจะขอตั้งห้าง เรือนและเช่าที่โรงเรือนเก็บสินค้าในประเทศอีกฝ่ายหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกรมการเมือง            

            โดยสัญญาเบอร์นี จัดทำขึ้น ๔ ภาษาได้แก่ ไทย อังกฤษ โปรตุเกส และมลายู สนธิสัญญาเบอร์นีมีสาระสำคัญได้แก่ อนุญาตให้พ่อค้าไทยทำการค้ากับพ่อค้าอังกฤษได้อย่างเสรี รัฐบาลไทยจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษตามความกว้างของปากเรือ เจ้าพนักงานไทยมีสิทธิ์ลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษ และชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขายในเมืองไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกประการ การทำสนธิสัญญาเบอร์นีก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ๒ ประการคือ ทำให้รัฐต้องปรับวิธีการหารายได้และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในรูปภาษีมากขึ้น และก่อให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าส่งออกเพิ่มขึ้น ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ รัฐได้หันกลับมาใช้นโยบายการค้าผูกขาดอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาเบอร์นี ก่อให้เกิดปัญหาทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษ นำไปสู่การทำ สนธิสัญญาเบาริง (Bowring treaty) ในปี ๒๓๙๘ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งไทยต้องยอมรับระบบการค้าเสรีของอังกฤษในที่สุด

 

จุดประสงค์ของอังกฤษ

        ในทางการเมือง อังกฤษต้องการให้ไทยช่วยรบกับพม่า และส่งยานพาหนะให้แก่อังกฤษ ตลอดจนต้องการให้สุลต่านไทรบุรีกลับไปครองเมืองดังเดิม และให้ไทยเลิกแผ่อำนาจลงไปใต้เมืองปัตตานี ส่วนในทางการค้า อังกฤษต้องการให้ไทยผ่อนปรนการผูกขาดการค้าและเรียกเก็บภาษีอากรในการค้า ให้เหมือนกับที่พ่อค้าไทยมีเสรีภาพทางการค้าเมื่อค้าขายกับอาณานิคมอังกฤษ

สัญญาลำลอง

เฮนรี เบอร์นี ได้ลองทำหนังสือสัญญาลำลองกับเจ้าพระยานคร (น้อย) ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน เพื่อดูว่าไทยต้องการทำสนธิสัญญาหรือไม่ โดยสัญญาลำลองมีใจความว่า

(๑) เจ้าพระยานครสัญญาว่าจะไม่ส่งทหารไปยังเประและสลังงอ บริษัทอังกฤษให้สัญญาว่าจะไม่ยึดครองเประ
(๒) บริษัทอังกฤษจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับไทรบุรี แต่ถ้าสุลต่านไทรบุรีได้กลับมาครองเมือง ก็สัญญาจะส่งเครื่องบรรณาการถวายทุกสามปี และเงินปีละ ๔,๐๐๐ เหรียญสเปน เจ้าพระยานครสัญญาว่าถ้าสุลต่านไทรบุรีได้กลับครองเมืองก็จะไม่ขัดขวางและไม่รุกราน
(๓) เจ้าพระยานครสัญญาจะช่วยปราบโจรสลัดในทะเลด้านตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และยินดีช่วยอังกฤษในการเจรจาที่กรุงเทพต่อไป
เมื่อรัฐบาลอินเดียพิจารณาสัญญาลำลองดังกล่าวแล้ว ก็เห็นว่าไทยยินยอมเจรจาตามแนวทางที่ตนต้องการ จึงให้เบอร์นีเดินทางไปเจรจาที่กรุงเทพมหานคร

พลิกประวัติศาสตร์สยาม!! ครบรอบ ๑๙๑ปี รัฐบาลสยามลงนามใน "สนธิสัญญาเบอร์นี่" สนธิสัญญาทางพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตก #วันนี้ในอดีต

เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ ทูตอังกฤษได้บันทึกข้อเรียกร้องทั้งหลายในระหว่างการเจรจาว่า

๑.ไทยควรปล่อยให้พ่อค้าอังกฤษมีเสรีภาพทางการค้าเหมือนกับที่พ่อค้าไทยได้รับเสรีภาพดังกล่าวเมื่อไปค้าขายกับดินแดนในบังคับอังกฤษ และขอให้เปิดเผยพิกัดอัตราค่าธรรมเนียม อย่าปิดบัง

๒.ไม่ควรให้การค้ากับชาวต่างชาติขึ้นกับเจ้าพระยาพระคลังคนเดียว เพราะไม่เคยอนุญาตให้พ่อค้าไทยคนใดขายให้หรือซื้อสินค้าจากพ่อค้าอังกฤษ

๓.กรมพระคลังสินค้าโก่งราคาสินค้ามาก

๔.พ่อค้าต่างชาติไม่สามารถขายสินค้าแก่เอกชนได้ ต้องรอข้าราชการกรมท่าเลือกซื้อ แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก

๕.มีการเก็บภาษีรุนแรงเกินควร ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมโดยไม่แจ้งให้ทราบ

๖.ต้องการให้ไทยลดค่าธรรมเนียมแก่เรือที่สัญจรไปมาบ่อย

ทั้งนี้ได้ยื่นข้อเสนอให้ไทยพิจารณา ความว่า

๑.ให้เรือต่างชาติยื่นรายชื่อคนบนเรือ และเครื่องสรรพาวุธต่อเสนาบดีกรมท่า หากรายการที่ยื่นไม่ตรงให้ริบได้

๒.ให้เจ้าพนักงานวัดส่วนกว้างของเรือ แล้วเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นอัตราที่ชัดเจน โดยเสนอว่าควรเก็บวาละ 1,500 บาท

๓.ขอให้ลดการเก็บค่าธรรมเนียมแก่เรือที่สัญจรไปมาบ่อย และไม่ควรเรียกเก็บค่าจ้างเรือลำเลียงสินค้าขนาดเล็กในการช่วยขนสินค้า

๔.ขอให้พ่อค้าอังกฤษและสุหรัดมีเสรีภาพในการซื้อขายอย่างเต็มที่

๕.ขอให้ไทยแต่งตั้งเจ้าพนักงานไว้ตรวจการตวงข้าวและเกลือ และกำหนดให้เสียค่าจ้างเป็นพิกัดอัตราแน่นอน

๖.เมื่อเรือมาถึงปากน้ำ ขอให้ขนเฉพาะกระสุนปืนและดินดำขึ้นบก

๗.หากคนในบังคับอังกฤษจะเรียกหนี้สินจากคนไทย ให้ยื่นคดีต่อเจ้าพระยาพระคลังและข้าราชการ และหากไต่สวนพบว่าผิดตามที่กล่าวหา ให้ลูกหนี้มาชำระหนี้แก่คนนั้น

๘.ขอให้เรืออังกฤษและพ่อค้าอังกฤษ มีเสรีภาพจะไปค้าขายตามเมืองท่าของไทยได้ทุกเมือง และคนในบังคับอังกฤษจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย

            ภายหลังการยื่นบันทึกดังกล่าวได้ ๑๑ วัน รัฐบาลไทยทราบว่าพม่ายอมแพ้อังกฤษ ทำให้เป็นการไม่เหมาะที่จะไม่ยอมลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวตามที่อังกฤษ ต้องการพระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ ก็ทรงได้รับกราบทูลให้ทำสนธิสัญญาไว้ พระองค์จึงทรงเชิญเฮนรี เบอร์นีเข้ามาทำสนธิสัญญายังที่พัก

 

การลงนาม

         วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๙ ไทยและอังกฤษได้ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาสองฉบับ เป็นหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขาย จากนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงถอดพระยาชุมพร (ซุย) ออกจากตำแหน่ง "เพราะมีความผิดไปตีครัวมะริดของอังกฤษ อังกฤษเข้ามาตามขอดี ๆ ก็ไม่ให้ ได้สู้รบกันก็แพ้เขา ทำให้เสียพระเกียรติยศ"

        ในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขาย พบว่า ผู้แทนรัฐบาลไทยได้รักษาเกียรติยศและผลประโยชน์ของประเทศชาติไว้ดีที่สุด โดยไม่ยอมให้อังกฤษตั้งกุงสุลและเอากฎหมายอังกฤษมาใช้ในไทย โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ผู้กำกับกรมท่าและกรมมหาดไทย เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในการเจรจาดังกล่าว ทรงถูกมองว่าเป็นผู้ให้ "ความเห็นของรัฐบาลไทย"

หนังสือสัญญาดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่ไทยยอมทำกับต่างประเทศ รัฐบาลไม่ค่อยเต็มใจทำเนื่องจากเนื้อหาทำให้รัฐบาลและขุนนางกรมท่าขาดรายได้

สาระสำคัญ

๑.ให้เรือพ่อค้าอังกฤษปฏิบัติตามธรรมเนียมไทย ห้ามมิให้ขายกระสุนดินดำแก่เอกชน ให้ขายเฉพาะในหลวงเท่านั้น แต่สินค้าอื่นสามารถค้าขายได้อย่างเสรี ค่าธรรมเนียมสลุบกำปั่นรวมเบ็ดเสร็จ ถ้ามีสินค้าเข้ามาขาย คิดวาละ ๑,๗๐๐ บาท ถ้าไม่มีสินค้าเข้ามาขาย คิดวาละ ๑,๕๐๐ บาท โดยไม่เรียกเก็บจังกอบ ภาษี และค่าธรรมเนียมเพิ่ม

๒.เรือพ่อค้าชาวอังกฤษจะต้องมาทอดสมอคอยอยู่นอกสันดอนปากแม่น้ำก่อน นายเรือจะต้องให้คนนำบัญชีรายชื่อสินค้าที่บรรทุกมาตลอดจนอาวุธยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ แจ้งแก่เจ้าเมืองปากน้ำ เจ้าเมืองปากน้ำจะให้คนนำร่องและล่ามกฎหมายมาส่ง แล้วจึงจะนำเรือนั้นเข้ามายังแผ่นดิน

๓.เจ้าพนักงานสามารถตรวจสอบเรือสินค้าได้ แล้วเอาสินค้ายุทธภัณฑ์ไว้ ณ เมืองปากน้ำ แล้วเจ้าเมืองจึงอนุญาตให้เรือมาถึงกรุงเทพมหานคร

๔.เมื่อเรือสินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครแล้ว เจ้าพนักงานตรวจสอบเรือสินค้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วให้ค้าขายกันอย่างเสรี (ตามข้อ ๑) เวลาจะขนสินค้ากลับ จะไม่คิดค่าธรรมเนียมเรือลำเลียง

๕.ถ้าเรือบรรทุกสิ่งของเสร็จ ก็ให้นายเรือขอเบิกล่องต่อเจ้าพระยาพระคลัง แล้วไปหยุดทอดสมอตรงที่เคยทอด (ตามข้อ ๒) เจ้าพนักงานตรวจสอบแล้วรับเอายุทธภัณฑ์กลับไป

๖.พ่อค้าอังกฤษ ตลอดจนผู้บังคับการเรือและลูกเรือทั้งหลายซึ่งเข้ามาค้าขายยังเมืองไทย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกประการ คนอังกฤษและคนไทยย่อมได้รับโทษเท่ากัน

 

 

 

ที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาเบอร์นี