"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว

"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว

หลวงปู่ขาว เล่าถึงคำสอนของ หลวงปู่มั่นเกี่ยวกับการหลับนอนของพระ ต่อไปดังนี้
ท่านควรขบคิดคำว่า จำวัด กับคำว่า นอน ซึ่งเป็นคำทั่วๆ ไป เทียบกันดูจะเห็นว่าผิดกันและมีความหมายต่างกันอยู่มาก
ระหว่างคำว่า จำวัดของศากยบุตร กับคำว่า นอนของคนและสัตว์ทั่วไป
ดังนั้นความรู้สึกของพระผู้เป็นศากยบุตรที่จะปลงใจจำวัดแต่ละครั้ง จึงควรมีความสำคัญติดตัวในขณะนั้นและเวลาอื่นๆ
จึงจะสมชื่อว่า ผู้ประคองสติ
ผู้มีปัญญา คิดอ่านไตร่ตรองในทุกกรณี ไม่สักว่าคิด สักว่าพูด สักว่าทำ สักว่านอน สักว่าตื่น สักว่าฉัน สักว่าเดิน สักว่านั่ง
สัก เป็นอาการปล่อยตัวเกินเพศเกินภูมิของศากยบุตรที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว

"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว ในวงปฏิบัติโดยมากมักเข้าใจกันว่า
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายนิพพานไปแล้ว สาปสูญไปแล้ว ไม่มีความหมายอะไรเกี่ยวกับท่านและตนเองเสียแล้ว ก็พระธรรมอันเป็นฝ่ายเหตุที่สอนกันให้ปฏิบัติอยู่เวลานี้ เป็นธรรมของท่านผู้ใดขุดค้นขึ้นมาให้ได้เห็นและได้ปฏิบัติตามเล่า?
ความจริง พุทธะ และ สังฆะ ก็คือ ดวงใจบริสุทธิ์ที่พ้นวิสัยแห่งความตาย และความสาปสูญอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
จะให้ตายให้สาปสูญให้หมดความหมายไปได้อย่างไร เมื่อธรรมชาตินั้นมิได้เป็นไปกับสมมติ มิได้อยู่อำนาจแห่งความตาย
มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความสาปสูญ มิได้อยู่ในอำนาจแห่งการหมดความหมายใดๆ
พุทธะ จึงคือ พุทธะอยู่โดยดี
ธัมมะ จึงคือธัมมะอยู่โดยดี
และสังฆะ จึงคือสังฆะอยู่โดยดี
มิได้สั่นสะเทือนไปกับความสำคัญใดๆ แห่งสมมติที่เสกสรรทำลายให้เป็นไปตามอำนาจของตน
"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว

"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว
ฉะนั้นการปฏิบัติด้วย ธัมมานุธัมมะ จึงเป็นเหมือนการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์  อยู่ตลอดเวลาที่มี ธัมมานุธัมมะ ภายในใจ
เพราะการรู้พุทธะ ธัมมะ สังฆะ โดยหลักธรรมชาติจำต้องรู้ขึ้นที่ใจ  ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งธรรมอย่างเหมาะสมสุดส่วน
ไม่มีภาชนะใดยิ่งไปกว่า ดังนี้
โอวาทธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เล่าไว้โดยพระอาจารย์ขาว อนาลโย
ที่มา  FB : เพจ วัดป่า @watpah

"จำวัด"ผิดกันกับ"นอน" อย่างไร?  หลวงปู่มั่นได้เมตตาแยกแยะทั้ง๒คำนี้ไว้ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่ขาว