คนดีต้องชื่นชม!! อดีตอาจารย์จุฬาฯ ควักเงินส่วนตัว ให้กระเป๋ารถเมล์ เก็บเงินล้าน ส่งคืน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำดี

จากกรณีที่ นางสุมน มหิดุลย์ พนักงานรถประจำทางได้เก็บเงินของผู้โดยสารได้เมื่อวันที่ 23 ก.ค ซึ่งเป็นจำนวนเงิน 1,120,000 บาท แล้วได้แจ้งกับทางผู้จัดการฝ่ายให้ตรวจสอบนั้น ต่อมาได้มีเจ้าของเข้ามาติดต่อรับ ซึ่งเป็นหมอสูติฯ ท่านหนึ่ง โดยได้มอบขนม 2 ห่อเป็นสินน้ำใจให้กับพนักงานเก็บเงิน ก่อนแยกย้ายออกจากโรงพักไป นั้น หลังจากโลกออนไลน์ได้มีการวิพากวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมและได้มีการแชร์ความรู้เกี่ยวกับข้อกฏหมายเกี่ยวกับการเก็บเงินได้ต้องได้ค่าตอบแทน หากมูลค่าเกิน30000 เราต้องได้ 10 % นั้น คุณหมอได้โทรมาขอโทษที่ไม่ได้ให้ค่าสินน้ำใจพร้อมกับแจ้งว่าต้องเอาเงินไปใช้หนี้ให้กับครอบครัว ฟังขึ้นไหม!! หมอสูติฯ โทรขอโทษกระเป๋ารถเมล์ เหตุไม่ให้สินน้ำใจ แจงเอาเงินไปใช้หนี้ให้ครอบครัว

ทำดีไม่หวังสิ่งตอบแทน!! เปิดใจพนง. ขสมก.ลั่นแม้เป็นเพียงขนมก็ถือว่าเป็นรางวัลของการทำดีแล้ว

 


 

 

คนดีต้องชื่นชม!! อดีตอาจารย์จุฬาฯ ควักเงินส่วนตัว ให้กระเป๋ารถเมล์ เก็บเงินล้าน ส่งคืน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำดี

ล่าสุด หลังจากที่ รศ.ดร.ธีระพร วีระถาวร อดีตอาจารย์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ได้รับทราบข่าว กรณีพนักงาน ขสมก. กระทำความดีเก็บเงินจำนวน 1,120,000 บาท ส่งคืนเจ้าของ เมื่อวัน 23 ก.ค.60 จึงมีความประสงค์มอบเงินส่วนตัว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ นางสุมน มหิดุลย์ พนักงานเก็บค่าโดยสาร และนายปุณณวิช ฉลองเนตรสดใส พนักงานขับรถ สาย 511 โดยจะส่งมอบเงินให้กับพนักงานทั้ง 2 คน คนละ 5,000 บาท  ณ Meeting Room ชั้น 1 อาคารสำนักงานใหญ่ ขสมก.

 

คนดีต้องชื่นชม!! อดีตอาจารย์จุฬาฯ ควักเงินส่วนตัว ให้กระเป๋ารถเมล์ เก็บเงินล้าน ส่งคืน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำดี

คนดีต้องชื่นชม!! อดีตอาจารย์จุฬาฯ ควักเงินส่วนตัว ให้กระเป๋ารถเมล์ เก็บเงินล้าน ส่งคืน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำดี

คนดีต้องชื่นชม!! อดีตอาจารย์จุฬาฯ ควักเงินส่วนตัว ให้กระเป๋ารถเมล์ เก็บเงินล้าน ส่งคืน เพื่อเป็นกำลังใจในการทำดี รศ. ดร.ธีระพร วีระถาวร
1. ประวัติการศึกษา

Ph.D. (Statistics) 2521-2526 The University of Michigan, U.S.A.
M.S. (Statistics) 2518-2520 Michigan State University, U.S.A.
วท.บ. (คณิตศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ2) 2514-2518 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศนียบัตรมัธยมปลาย 2512-2514 ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา

2. ประวัติการทำงาน (5 ปีย้อนหลัง) ที่สำคัญ

ภายในมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน:
- กรรมการดำเนินการโครงการแผนการดำเนินการเพื่อทำการศึกษาและวางแผนการดำเนินการ จุฬาฯ 100 ปี (พ.ศ. 2560)
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการปฏิรูปสายการจัดการของมหาวิทยาลัย
- รองประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ของนิสิตของมหาวิทยาลัย
- ที่ปรึกษานายกสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาฯ (ปีพ.ศ. 2554 – 2555)
- กรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติ) และศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางสถิติ

อดีต:

- กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ประจำ 8 สมัย (ปี พ.ศ.2534 – 2554)
- กรรมการพิจารณาโครงสร้างส่วนงานของมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.จุฬาฯ
- หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี พ.ศ. 2550 – 2554)
- กรรมการนโยบายการเงินของสภามหาวิทยาลัย 4 สมัย (ปี พ.ศ.2544 – 2552)
- กรรมการยกร่างกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการบริหารการเงินของมหาวิทยาลัย
- ประธานคณะกรรมการสอบสวนบุคลากรของมหาวิทยาลัย

ภายนอกมหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน:
- กรรมการบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารดีเด่นปี 2552 และ 2553)
- กรรมการตรวจสอบของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถานศึกษา ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา
- Elected ISI (The International Statistical Institute) Member

อดีต:
- อุปนายกสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(ปีพ.ศ.2549 – 2551)
- กรรมการสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย
- กรรมการเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์รองรับการเปิดเสรีการค้าการบริการด้านการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- กรรมการจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์สถิติศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน
- อุปนายกสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา (ปีพ.ศ. 2553 – 2554)
- ที่ปรึกษาสมาคมและที่ปรึกษานายกสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา

3. ความเชี่ยวชาญ

ความน่าจะเป็น การอนุมานเชิงสถิติ การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว และตัวแบบเชิงเส้น

4. ผลงานทางวิชาการบางส่วนที่สำคัญ

1. Robb J. Muirhead and Theeraporn Verathaworn, “In Estimating the latent Root of” Proceeding of the Sixth International Symposium on Multivariate Analysis (edited by P.R. Krishnah ), 28 pages,1984.
2. Theeraporn Verathaworn. “Conditions under which Improper Priors Lead to Coherent Posteriors”, Research Information of Faculty of Commerce and Accountancy. , Chulalongkorn University, 20 pages,1984.
3. ธีระพร วีระถาวร และคณะ. ความน่าจะเป็นกับสลากกินแบ่งรัฐบาล. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2528. 12 หน้า ( การประชุมทางวิชาการสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 5 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, พฤษภาคม 2528).
4. ธีระพร วีระถาวร และคณะ. การเสี่ยงกับสลากกินแบ่งรัฐบาล . กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์. 22 หน้า (การประชุมทางวิชาการสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 7 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, พฤษภาคม 2531)
5. ธีระพร วีระถาวร และคณะ. การลงทุนในสลากออมสิน : ความน่าจะเป็นของผลตอบแทน . จุฬาลงกรณ์วารสาร, กรกฎาคม - กันยายน 2534 , หน้า 64 - 76. วารสารสถิติ มิถุนายน 2535 , หน้า 34 - 50. และเสนอในการประชุมทางวิชาการสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 9 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สิงหาคม 2535, หน้า 427-447.
6. ธีระพร วีระถาวร และนพดล โศภิษฐกมล. บัตรออมทรัพย์ทวีสินน่าลงทุนจริงหรือ? . จุฬาลงกรณ์วารสาร, มกราคม - มีนาคม 2542, หน้า 65 - 83.
7. ธีระพร วีระถาวร. “หวยล็อก” เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ?. จุฬาลงกรณ์วารสาร, กรกฎาคม - กันยายน 2545, หน้า 30 - 38.
8. ธีระพร วีระถาวร. หลักสูตรนานาชาติและส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง. จุฬาลงกรณ์วารสาร, เมษายน - มิถุนายน 2547, หน้า 11 - 39.
9. ธีระพร วีระถาวร. การจัดการการศึกษานานาชาติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : บริษัทแอคทีพ พริ้นท์ จำกัด , 2548. 55 หน้า. (ชุดรวมบทความอันดับที่ 24 อนาคตอุดมศึกษาไทยภายใต้กระแสการค้าเสรีข้ามชาติ)
10.ธีระพร วีระถาวร. โครงการวิจัยเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์รองรับการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ในส่วนของผลกระทบการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษาฯ โดยเน้นเรื่องหลักสูตรนานาชาติและสาขาวิชาบริหารธุรกิจ). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สิงหาคม 2550, หน้า 61 – 85 และหน้า 124 – 127.
11.ธีระพร วีระถาวร. 2554. กระบวนการพัฒนาของมหาวิทยาลัยระดับโลก : กรณีศึกษาของประเทศที่มีอัตราเร่งในการพัฒนาสูง. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 24 (มกราคม – เมษายน 2554). หน้า 1 – 48.
12.ธีระพร วีระถาวร. “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : ปัญหาที่ท้าทายปัญญาชน.” มติชนรายวัน ( 23 กุมภาพันธ์ 2544) : หน้า 6 และกรุงเทพธุรกิจ (2 มีนาคม 2544 ) : หน้า 4. และผู้จัดการรายวัน ( 22 พฤศจิกายน 2543) : หน้า 9. และจุฬาสัมพันธ์ ( 22 มกราคม 2544)
13.ธีระพร วีระถาวร. “ ผู้มีความสามารถพิเศษ : ทรัพยากรอันล้ำค่าของแผ่นดิน.” มติชนรายวัน ( 16 เมษายน 2546) : หน้า 14.
14.ธีระพร วีระถาวร. “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : ปรัชญา หลักการ และนโยบายที่จำเป็น” มติชนรายวัน (27 ธันวาคม 2549) : หน้า 7.
15.ธีระพร วีระถาวร. “บทเรียนจาก ‘มหาอุทกภัย’ ปี 2554.” มติชนรายวัน (6 ธันวาคม 2554) : หน้า 6.

หมายเหตุ ผลงานทางวิชาการโดยส่วนใหญ่ทำเพื่อแก้ปัญหาในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม เช่น สลากรัฐบาล ระบบการสอบคัดเลือก ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และกระบวนการพัฒนาของมหาวิทยาลัยระดับโลก

5. รางวัลและทุนต่าง ๆ ที่ได้รับ

1. ทุนเรียนดีขากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาบัณฑิต
2. เหรียญทองแดงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาบัณฑิต
3. เข็มทองคำมูลนิธิ ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ
4. ทุนปริญญาขั้นสูงเพื่อการศึกษาในต่างประเทศของจุฬาฯ (ปริญญาเอก)
5. ทุน TA จาก Michigan State University และ RA จาก The University of Michigan
6. ทุนวิจัยจากสภามหาวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)