"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อาจจะมีบ้างในบางครั้งที่น้ำเพิ่มระดับสูงบ้าง แต่สุดท้ายน้ำก็จะไหลลงสู่คลองระบายน้ำด้วยดี และไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลาได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง  จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของ “ในหลวง ร.9” ต่อชาวอำเภอหาดใหญ่ และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างอเนกอนันต์

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

 

เมื่อปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัส เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายนมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้เกิดอุทกภัย สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก บ้านเรือน ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย ประมาณ 4,000 ล้านบาท ดังนี้

“การแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยด้วยวิธีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่คลองอู่ตะเภาหรือตามลำน้ำสาขา เพื่อสกัดกั้นน้ำจำนวนมากไม่ให้ไหลมายังเมืองหาดใหญ่นั้น คงไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่มีทำเลที่เหมาะสมในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ดังกล่าวได้เลย ดังนั้น การแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภา หรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว นอกจากนั้น หากต้องการที่จะป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ธุรกิจให้ได้ผลโดยสมบูรณ์แล้ว หลังจากที่ก่อสร้างคลองระบายน้ำเสร็จ ก็ควรพิจารณาสร้างคันกั้นน้ำรอบบริเวณพื้นที่ดังกล่าว พร้อมกับติดตั้งระบบสูบน้ำออกจากพื้นที่ไม่ให้ท่วมขังตามความจำเป็น ทั้งนี้ ให้พิจารณาร่วมกับระบบของผังเมือง ให้มีความสอดคล้องและได้รับประโยชน์ร่วมกันด้วย”

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

 

น้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ปี2531

จึงเป็นที่มาของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งพระราชทาน เมื่อวันที่  24  ธันวาคม พ.ศ.2531 กรมชลประทานจึงได้สนองพระราชดำริ โดยการขุดลอกคลองธรรมชาติ  ในปีพ.ศ.2532  จำนวน  4  สายรวม 46.900 กม. เพื่อให้สามารถระบายน้ำเร็วขึ้น  ประกอบด้วย

1. คลองอู่ตะเภา  ความยาว 19.000  กิโลเมตร

2.คลองอู่ตะเภา แยก 1  ความยาว  5.900 กิโลเมตร

3.คลองอู่ตะเภา แยก 2  ความยาว  5.500 กิโลเมตร

4.คลองท่าช้าง-บางกล่ำ  ความยาว  16.500 กิโลเมตร

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2543ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันอีกครั้ง ทำให้คลองระบายน้ำธรรมชาติที่ขุดลอกไว้ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้จึงทำให้เกิดอุทกภัยบริเวณเทศบาลนครหาดใหญ่ และบริเวณใกล้เคียง  สร้างความเสียหายประมาณ  18,000 ล้านบาท  ประชาชนเสียชีวิต  30  คน

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

 

น้ำท่วมหาดใหญ่ ปี  2543

คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่  19  ธันวาคม พ.ศ.2543 ให้ดำเนินการโครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบอุทกภัย ในส่วนของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  จึงได้ดำเนินการขุดคลองระบายน้ำเพิ่มจำนวน  7 สายดังนี้

1.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.1 พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองระบายน้ำสายหลักในการผันน้ำจากคลองอู่ตะเภาอ้อมเมืองหาดใหญ่สู่ทะเลสาบสงขลาโดยตรง ความยาว  21.343  กม. สามารถระบายน้ำได้  465ลบ.ม./วินาที โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ ประกอบด้วย

- ประตูระบายน้ำคลองอู่ตะเภา ขนาด  12.50 x 7.50  ม. จำนวน  2  ช่อง

- ประตูระบายน้ำบ้านหน้าควน ขนาด  12.50 x 7.50  ม. จำนวน  2  ช่อง

- ประตูระบายน้ำบางหยี  ขนาด  6.00 x 6.00  ม. จำนวน  6  ช่อง

2.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.3 พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองแบ่งน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำจากคลองอู่ตะเภาตอนนอกเมืองหาดใหญ่ซึ่งช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่ริมฝั่งคลองอู่ตะเภาตอนล่าง ความยาว 8.200 กม.สามารถระบายน้ำได้  195  ลบ.ม./วินาที โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ ประกอบด้วย  ประตูระบายน้ำปลายคลองขนาด 6.00x6.00 ม. จำนวน  3  ช่อง

3.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.4  พร้อมอาคารประกอบ  เป็นคลองแบ่งน้ำจากคลองเตยตามเขตทางรถไฟ  สายหาดใหญ่-สงขลา  และรับน้ำจากคลองระบายน้ำ ร.5  สู่ทะเลสาบสงขลา  ผ่านทางคลองระบายน้ำ ร.3  ความยาว  6.920 กม. สามารถระบายน้ำได้  55 ลบ.ม./วินาทีโดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ ประกอบด้วยประตูระบายน้ำกลางคลอง ขนาด 6.00 x 5.00 ม. จำนวน  2  ช่อง

4.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.5 พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองระบายน้ำจากบริเวณสามแยกคอหงส์ออกทะเลสาบสงขลา  ผ่านคลองระบายน้ำ  ร.4  และ  ร.3 ตามลำดับ  ความยาว  2.660 กม.  สามารถระบายน้ำได้  30 ลบ.ม. /วินาที

5.ขุดคลองระบายน้ำ ร.6  พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองผันน้ำจากคลองเรียนและแก้มลิงของเทศบาลนครหาดใหญ่ไปลงคลองหวะ เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาผ่านคลองระบายน้ำ ร.1ช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ตอนล่างของคลองเรียน ความยาว  3.160  กม. สามารถระบายน้ำได้  50  ลบ.ม./วินาที โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ ประกอบด้วย

- ประตูระบายน้ำ  ขนาด 3.80 x 4.00 ม.  จำนวน  2  ช่อง

- ท่อระบายน้ำคลองเรียน  ขนาด 2.00 x 2.00 ม. จำนวน  2  ช่อง

6.  ขุดคลองระบายน้ำ 1ซ. – ร.1  พร้อมอาคารประกอบ  ความยาว 4.620  กม.  ประกอบด้วย

- ประตูระบายน้ำคลองระบาย  1 ซ – ร.1  ขนาด 6.00 x 6.00  ม.  จำนวน  2  ช่อง

7. ขุดคลองระบายน้ำ  1ข.–1ซ.–ร.1ความยาว  0.562 กม. ประกอบด้วย

- ประตูระบายน้ำคลองต่ำ  ขนาด 6.00 x 6.00  ม. จำนวน  1  ช่อง

- ประตูระบายน้ำคลองวาด  ขนาด  6.00 x 6.00  ม.  จำนวน  1  ช่อง

รวมงบประมาณที่ใช้ก่อสร้างทั้งสิ้น 2,900  ล้านบาท สามารถระบายน้ำได้รวม 1,075 ลบ ม./วินาที  ซึ่งมากกว่าเมื่อยังไม่ก่อสร้างโครงการฯถึง  2.5 เท่า

"คิดถึงพ่อ"...สิ่งที่"ในหลวง ร.9"ฝากไว้ ให้ชาวหาดใหญ่ได้พ้นภัยน้ำท่วม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่จะจดจำไว้ในหัวใจไปจนวันตาย...

 

โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่

คลองระบายน้ำ  โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่

 ขนาดคลองระบายน้ำ

Cr.rdpb.go.th