"สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" อีกบท"วัดใจ"ของหน่วยงานรัฐ

"สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" อีกบท"วัดใจ"ของหน่วยงานรัฐ

จากผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในช่วง3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง

เพื่อต้องการลดความซำ้ซ้อนและรวบรวมของงานด้านน้ำ ซึ่งปัจจุบันกระจายอยู่ใน 10 กระทรวง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 30 หน่วยงาน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 30 ฉบับ 

นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคสช.จึงออกคำสั่งมาตรา 44 จัดตั้ง"สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ "ให้ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี  เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบ  เตรียมรับมือและวางแนวทางป้องกันไม่ว่าจะน้ำแล้ง น้ำท่วม รวมถึงเตรียมการรองรับ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.)

 

 

ซึ่งเดิม ได้เตรียมขยับโอนหน่วยงานด้านน้ำมารวมอยู่ในสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยเริ่มจากกรมทรัพยากรน้ำ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลัก ขณะที่กรมชลประทาน  ที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเดิมมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนำ้ กลับเป็นหน่วยงานระดับรองหรือระดับปฎิบัติ

เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับพล.อ.ฉัตรชัย  สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ถึงกับออกมาปฎิเสธ การยุบกรมชลประทาน เข้าไปรวมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 

นั่นเป็นเหตุผลสำคัญ ที่รัฐบาลออกเบรค  พร้อมสั่งให้การชะลอ การโอนย้ายกรมทรัพยากรน้ำ ไว้ก่อน

ซึ่ง พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า รัฐบาลได้พิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า เรื่องน้ำ ไม่ได้อยู่ที่กรมทรัพยากรน้ำอย่างเดียว แต่มีกรมอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย  


ซึ่งการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติขึ้นมาใหม่ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลสำนักนายกฯ ทำหน้าที่ในการบูรณาการงานของกรมน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมชลประทาน รวมบูรณาการข้อมูล แผนงานโครงการ งบประมาณ การติดตามประเมินผล และการควบคุมการปฏิบัติงาน 

 

"สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" อีกบท"วัดใจ"ของหน่วยงานรัฐ

"สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" อีกบท"วัดใจ"ของหน่วยงานรัฐ

 

 

อย่างไรก็ตามกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำงานตามปกติเหมือนเดิม แต่อะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ต่อการบริหารจัดการเพื่อป้องกันเหตุรุนแรง หรือแผนงานใหญ่ๆ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติจะเป็นผู้ดำเนินการเอง

นี่เป็นเพียงระยะแรก  ยังมีปัญหา"ชิงดี ชิงเด่น ..หวงอำนาจ"ระหว่างหน่วยงานขนาดนี้ และในระยะต่อไป รัฐบาลยังจะมีโปรเจคเตรียมตั้งกระทรวงน้ำอีก 

จะเป็นอย่างไร ..ยังไม่อยากคิด

หากเป็นเช่นนี้ ประชาชน คงเจอสภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง ต่อไป