ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://www.tnews.co.th

ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป

เมื่อวานนี้เพจดังในสังคมโซเชีย ของเฟสบุ๊ค ผู้ใช้เพจนามว่า Siriwanna Jill – New  ได้โพส ลงเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการศึกษาในวงการพระสงฆ์ไทย ซึ่งทางมหาเถรสมาคมได้มีมติยกเลิกใน “การกำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่เทียบเคียงกับการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน
 

ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป
โดยได้โพสลงรายละเอีดว่า
ยศช้างขุนนางพระ ...... พระสงฆ์องค์เจ้าเป็น ดอกเตอร์ กันเกลื่อน จากการเทียบเปรียญ ต่อไปนี้ไม่ได้แล้ว เหตุระบบการศึกษาแตกต่างกัน
มติมหาเถรสมาคม ที่ ๗๑๖/๒๕๖๐ ในการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อ ๒๐ ธ.ค. ๖๐ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า พระพรหมมุนี แม่กองธรรมสนามหลวง และประธานคณะกรรมการ จัดทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... ได้มีลิขิต แจ้งว่า ตามมติที่ประชุม ครม. เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๙ ได้มอบหมายให้สำนักพุทธฯ รับร่าง พรบ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... ไปหารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีความขัดแย้งกันใน #การกำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ซึ่งกำหนดให้เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาภาคภาษาบาลี ถือเป็นการจัดการศึกษาเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนา
การกำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่มุ่งเน้นเทียบเคียงกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีวัตถุประสงค์และเกณฑ์การจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน จึงให้ปรับแก้ไข ดังนี้
ยกเลิก พรบ.กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง จากเดิม
๑.ชั้นเปรียญธรรม ๕ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาตรี
๒.ชั้นเปรียญธรรม ๗ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาโท
๓.ชั้นเปรียญธรรม ๙ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาเอก
แก้ไขเป็น ให้ผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ที่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม ตามหลักเกณฑ์ที่ คกก.กำหนดให้มีวิทยฐานะระดับใด ๆ โดยความเห็นชอบของ คกก.อุดมศึกษาและมหาเถรสมาคม
ซึ่งทำให้บรรดาลูกเพจลงมาเสนอความคิดเห็นกันมากมายทั้งในมุมมองของทางโลก และทางธรรมศึกษา คงต้องงรอดูกันว่า ในอนาคตทิศทางของการศึกษาของวงการพระสงฆ์ไทยจะไปทางไหนกันดี ระหว่างทางโลก และ ทางธรรม อันไหนควรมาก่อน ต้องมารอทาง มหาเถรสมาคม จะมีมติออกอย่างใดต่อไป

ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป

ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป

ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป
 

ดอกเตอร์...  พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นกันเกลื่อน  มหาเถรสมาคมมีมติยกเลิกการเทียบเปรียญ กับวุฒิฯ ทางโลก แล้วพระท่านทำไงต่อไป
หากที่ผ่านมาการพัฒนาการในการเทียบวุฒิความรู้พระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทย ในระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยมีดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐบาลสมัย ฯพฯ พลอกเปรม  ติณสูลานนท์  ได้เสนอพระราชบัญญัติกำหมดวิทยฐานะของผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา โดยกำหนดว่า
ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง เปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรีเรียกว่า “เปรียญธรรมเก้าประโยค” ใช้อักษรย่อว่า “ป.ธ.๙”
ตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า “ศาสนศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อว่า “ศน.บ.”
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตจากมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรีเรียกว่า “พุทธศาสตร-บัณฑิต” ใช้อักษรย่อว่า “พธ.บ.”
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลในสมัย ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ  เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้มหาวิทยาลัยทั้งสองมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและเป็นมหาวิทยาลัยในกับกับดูแลภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ สามารถจัดการศึกษาได้ถึงปริญญาเอก และเปิดโอกาสให้ภิกษุ  สามเณร คฤหัสถ์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้
ต่อมา โดยที่มาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถาบันพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ให้สิทธิสถาบันพรพุทธศาสนาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่พระภิกษุและสามเณร  โดยแบ่งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานออกเป็น สองระดับ คือ
๑.การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
๒.การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่ได้จัดให้แก่พระภิกษุและสามเณร ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาปีที่หกหรือเทียบเท่า และได้ศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยคำแนะนำของมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่แบ่งเป็นระดับดังต่อไปนี้
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ชั้นเปรียญธรรม ๓ ประโยค เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ชั้นเปรียญธรรม ๕ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาตรี
การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ชั้นเปรียญธรรม ๗ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาโท
การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ชั้นเปรียญธรรม ๙ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาเอก
และมติล่าสุด ของมหาเถรสมาคม ที่มีการประชุม เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม" มีรายละเอีดดังนี้
รายละเอียด มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๐
มติที่ ๗๑๖/๒๕๖๐
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ....
ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า พระพรหมมุนี แม่กองธรรมสนามหลวง และประธานคณะกรรมการ จัดทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... ได้มีลิขิต ที่ กธ. ๒๒๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ แจ้งว่า ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... ไปหารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้ได้ข้อยุติ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๕๐๖/๑๓๕๓๙ ลงวันที่ ๓๐  พฤศจิกายน ๒๕๖๐ แจ้งเสนอความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวควรมีความสอดคล้องกันทั้งฉบับ โดยมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ ยังมีความขัดแย้งกันในการกำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อในแต่ละระดับ และอาจทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับและสาธารณชนเกิดความสับสนได้ ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับโบราณราชประเพณีและมาตรฐานการจัดการศึกษาของชาติ เพื่อการสืบทอดความรู้ทางพระพุทธศาสนา สร้างบุคลากร ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาพระปริยัติธรรม   แผนกบาลีสนามหลวง ซึ่งกำหนดให้เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาภาคภาษาบาลี ถือเป็นการจัดการศึกษาเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนา ดังนั้น การกำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... เป็นการยกร่างการดำเนินการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นเทียบเคียงกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาทางโลกที่มีวัตถุประสงค์และเกณฑ์การจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน ประกอบกับการเทียบเคียงในระดับชั้นปริญญาจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงยังไม่เห็นด้วยในหลักการของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... นั้น 
    คณะกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... ได้ประชุม เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีมติ ดังนี้
    ๑.    ให้ตัดมาตรา ๓ ออก (มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐)
    ๒.    ให้ตัดมาตรา ๒๔ ออก (มาตรา ๒๔ ให้ผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรม ๙ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาตรี)
    ๓.    ให้แก้ไขมาตรา ๒๕
        (เดิม) มาตรา ๒๕ ให้ผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ที่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
        (๑)    แผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรม ๕ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาตรี
        (๒)    แผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรม ๗ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาโท
        (๓)    แผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรม ๙ ประโยค มีวิทยฐานะระดับปริญญาเอก
        (แก้ไขเป็น) มาตรา ๒๓ (เดิมมาตรา ๒๕ แก้ไขเป็นมาตรา ๒๓) ให้ผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ที่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดให้มีวิทยฐานะระดับใด ๆ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาเถรสมาคม รายละเอียดตามเอกสารที่แนบถวายในที่ประชุม 
พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ
ขอขอบคุณที่มา ข้อมูลและภาพประกอบ
ที่มา FB : เพจ Siriwanna Jill – New  www.tcijthai.com และ mahathera.onab.go.th (มหาเถรสมาคม)