เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

“ภาวะซึมเศร้า “ (Depression) หรือโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) นั้นโดยส่วนใหญ่มีผลกระทบมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเครียดต่อบุคคลเรียกว่า ความเหนื่อยล้า (Burnout) โดยจะส่งผลทบต่อร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่ง จัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยที่หลายๆคนมักมองข้าม ด้วยเพราะเห็นว่า โรคซึมเศร้า ไม่ใช่โรคภัยร้ายแรงที่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้ทางร่างกายอย่างชัดเจน ยิ่งถ้าหากว่าเราปล่อย ผู้สูงอายุ ไว้ในภาวะเช่นนี้นานๆมันก็จะค่อยๆกัดกร่อนจิตใจไปเรื่อยๆ และอาจเป็นช่องทางการนำไปสู่ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งมีกระทบต่อความสุขในชีวิต อาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วยค่ะ และแม้แต่ในกลุ่มของเด็กวัยรุ่น คนหนุ่มสาววัยทำงาน ก็ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายค่อนข้างสูง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรละเลยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะโรคซึมเศร้า

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!
 

               เนื่องจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้ามีถึงร้อยละ 33 แต่ผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ มีประมาณร้อยละ 6 เท่านั้นหากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะซึมเศร้านานๆ โดยไม่ได้รับการรักษา จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าและบางรายอาจมีโรคสมาธิความจำเสื่อมจนพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ และเพื่อเป็นแนวทางการดูแลจิตใจผู้สูงวัยที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า สำนักข่าวทีนิวส์  และผู้เขียน จึงได้รวบรวมข้อมูลการดูภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุไว้ดังนี้ค่ะ

“โรคซึมเศร้าส่งผลร้ายต่อตนเองและครอบครัว ดังนั้น หากสงสัยว่าคุณหรือคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้ ให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง”

เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีอาการดังต่อไปนี้…

1.กินอาหารได้น้อยมาก หรือแทบไม่กินเลย น้ำหนักลดลง
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  ผู้สูงอายุที่กินอาหารได้น้อยลงหรือน้ำหนักลดลง มีโอกาสที่จะขาดสารอาหาร ควรดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ให้กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย และไม่กระทบต่อโรคประจำตัว

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

2.เบื่อหน่ายมาก อะไรที่เคยชอบก็ไม่อยากทำ ไม่ค่อยสนใจ หรือไม่สนใจที่จะดูแลตัวเอง จากที่เคยเป็นคนใส่ใจดูแลตนเองมาก แต่ตอนนี้กลับไม่สนใจการแต่งตัว ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง แม้แต่เรื่องง่ายๆ เช่น การแต่งตัว
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  พยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมง่ายๆ  ให้เขารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น ควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดช่องปาก กระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย และหากผู้สูงอายุมีปัญหาทางการได้ยิน ควรพบแพทย์เพื่อใส่เครื่องช่วยฟัง หรือหากมีปัญหาด้านการมองเห็น ควรให้ตรวจสายตาและใส่แว่นตา

3.ชวนไปไหนก็ไม่ค่อยอยากไป
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล    กรณีผู้สูงอายุปลีกตัวจากผู้อื่น ใครชวนไปไหนก็ไม่อยากไป ถ้าปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้จะทำให้ผู้สูงอายุปลีกตัวมากขึ้น อารมณ์จะยิ่งเลวร้ายลง ควรหากิจกรรมทำ โดยควรเริ่มจากกิจกรรมเล็กๆ ในครอบครัว

4.ตอนกลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  หากผู้สูงอายุนอนกลางวัน แต่ถ้าง่วงมากให้นอนได้ระหว่าง 12.00-14.00 น. แล้วปลุก เพราะถ้านอนกลางวันมากเกินไป ตอนกลางคืนย่อมมีปัญหาการนอน และหากตอนกลางคืนไม่หลับ อาจชวนทำกิจกรรมเบาๆ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือฟังธรรมมะ หากนอนไม่หลับติดต่อกัน 3-4 วันขึ้นไป ควรพบแพทย์

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

5.พูดคุยน้อย ผู้ดูแลไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรให้ถูกใจ
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  ควรให้ความรักแก่ผู้สูงอายุ ใส่ใจความรู้สึก อารมณ์และความคิด พร้อมทั้งให้โอกาสผู้สูงอายุพูดในสิ่งที่ต้องการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ความคิดและการเคลื่อนไหวจะช้าลง ทำให้บางทีแม้อยากจะพูด แต่ก็พูดไม่ทัน จึงควรเปิดโอกาสให้พูด ไม่ควรขัดจังหวะ หรือตัดบท  และผู้ดูแลควรเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน  ชวนพูดคุยเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ หรือชวนคุยถึงเรื่องราวในอดีตที่มีความสุข

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

6.มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนฉียว
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  ไม่ควรโวยวายหรือโต้เถียง ถ้าโต้งเถียงจะเกิดอารมณ์ขุ่นมัวขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย เป็นอุปสรรคขวางกั้นความสัมพันธ์ ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ ปล่อยให้ผู้สูงอายุระบายความรู้สึกออกมาก่อน จากนั้นลดสาเหตุที่ทำให้หงุดหงิด เบนความสนใจ ไปยังเรื่องที่มีความสุข หรืออาจจัดให้พักผ่อนในสถานที่สงบ  รับฟังอย่างตั้งใจ อาจจะจับมือและนวดเบาๆ ที่หลังมือของผู้สูงอายุระหว่างคุย จะช่วยลดอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวได้

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

6.มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนฉียว
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  ไม่ควรโวยวายหรือโต้เถียง ถ้าโต้งเถียงจะเกิดอารมณ์ขุ่นมัวขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย เป็นอุปสรรคขวางกั้นความสัมพันธ์ ต้องรับฟังอย่างเข้าใจ ปล่อยให้ผู้สูงอายุระบายความรู้สึกออกมาก่อน จากนั้นลดสาเหตุที่ทำให้หงุดหงิด เบนความสนใจ ไปยังเรื่องที่มีความสุข หรืออาจจัดให้พักผ่อนในสถานที่สงบ  รับฟังอย่างตั้งใจ อาจจะจับมือและนวดเบาๆ ที่หลังมือของผู้สูงอายุระหว่างคุย จะช่วยลดอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวได้

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

7.บ่นว่าไม่สบาย ปวดนั่นปวดนี่อยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ตรวจแล้วไม่พบอะไรผิดปกติ
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  การบ่นว่าปวดคลอดเวลาเป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงว่า ผู้สูงอายุต้องการความรักและความเอาใจใส่มากขึ้น ผู้ดูแลไม่ควรพูดตอกย้ำว่าผู้สูงอายุไม่ได้เป็นอะไร แม้แพทย์จะตรวจแล้วก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ผู้ดูแลควรพูดถึงอาการที่ผู้สุงอายุบ่น เพื่อให้เขารู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่จากผู้ดูแล รู้สึกว่าผู้ดูแลรับฟังและให้ความสำคัญกับปัญหาของเขา
การสื่อสารด้วยความรัก คอยสัมผัสและดูแลด้วยความใส่ใจเช่นนี้ เปรียบเหมือนการทดแทนหรือเติมเต็มสิ่งที่ผู้สูงอายุอยากได้รับ

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

8.บ่นว่าตนเองเป็นภาระของลูกหลาน เบื่อตัวเองมาก รู้สึกว่าตนไร้ค่า มีความคิดอยากตายหรืออยากทำร้ายตัวเอง
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแล  ปัญหาเรื่องผู้สูงอายุคิดอยากทำร้ายตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ดูแลต้องใส่ใจป้องกัน

ภาวะซึมเศร้ามี สัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

– บ่นว่าไม่ไหว ไม่อยากอยู่แล้ว เบื่อโลก เบื่อชีวิต
– พูดฝากฝังลูกและครอบครัวไว้กับคนใกล้ชิดว่าถ้าตนเองเป็นอะไรไป ฝากดูแลลูกเมียให้ด้วย
– จัดการสมบัติ ทำพินับกรรม ทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร
– รู้สึกสงสัยว่าตนเองเกิดมาทำไม ในเมื่อเกิดมาแล้วก็เป็นภาระให้คนอื่น
– ผู้สูงอายุหลายคนที่มีท่าทีเศร้าสร้อย อยู่ดีๆ ก็รู้สึกสุดชื่นขึ้นมากะทันหันเหมือนพบทางออก เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เหมือนตัดสินใจได้ว่า “ฉันจะไม่อยู่อีกต่อไปแล้วฉันจะไปแล้ว”

วิธีการสังเกตและเฝ้าระวัง

– ควรสังเกตความผิดปกติเล็กๆน้อยๆ ซึ่งอาจบ่งบอกว่ามีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง และเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดพยายามไม่ให้คลาดสายตา
– ระวังสิ่งของที่ใช้เป็นอาวุธได้ เช่น เชือก มีด กรรไกร ปืน ยาฆ่าแมลง หรือยารักษาโรค ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะมียาหลายชนิดอยู่กับตัว บางทีเกิดความคิดอยากจะหลับไปเลยไม่อยากตื่นขึ้นมา ก็จะกินยาทั้งหมดที่มี
– พยายามหาคุณค่าในตัวผู้สูงอายุและบอกให้ผู้สูงอายุรับทราบ
สอบถามความคิดที่อยากทำร้ายตนเองของผู้สูงอายุ
อย่ากลัวที่จะถามผู้สูงอายุว่ามีความรู้สึกหรือมีความคิดที่อยากจะทำร้ายตนเองหรือไม่ การถามคำถามนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้ระบายความทุกข์ใจหรือบอกเล่าปัญหา ซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลเริ่มเข้าใจสามารถวางแผนการดูแลแก้ไขและป้องกันการทำร้ายตนเองของผู้สูงอายุได้ ที่สำคัญคือคำถามเกี่ยวกับความคิดที่จะทำร้ายตัวเองไม่ได้กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเริ่มมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง โดยผู้ดูแลควรเลือกใช้คำพูดให้เหมือนกับมาจากความรู้สึกของตนเอง

ที่สำคัญทุกคนควรระลึกเอาไว้เสมอว่า ผู้สูงอายุที่มีความคิดอยากตายอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากฆ่าตัวตายนั้น ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนที่อันตราย ซึ่งสำคัญมาก หากพบว่าผู้สูงอายุที่ท่านดูแลอยู่มีความคิดเช่นนี้ ให้ทุกคนรีบแจ้งทีมผู้ช่วยเหลือในชุมชนของท่าน เช่น อสม. ผู้ใหญ่บ้าน อปพร. หรือทีมพยาบาลที่ออกพื้นที่เยี่ยมบ้านก็ได้ค่ะ เนื่องจากโรคซึมเศร้า คือ ความเจ็บป่วยทางจิตเวชซึ่งเกิดความผิดปกติของสมอง ส่งผลกระทบต่อความนึกคิดอารมณ์ ความรู้กสึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพร่างกาย คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าหายเองได้ แต่ความจริงต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจังนะคะ

เช็คด่วน!! 8 สัญญาณเตือนอันตราย โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด!!

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก(อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ!! ขอบคุณที่มาของภาพข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย,
,ข้อมูลจาก : หนังสือ  ‘คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า’ โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),และข้อมูลเพิ่มเติม,(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์