ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร!! เปิดนามพระราชทานของ "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" เรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวแห่งราชนาวีไทย #วันนี้ในอดีีต

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร!! เปิดนามพระราชทานของ "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" เรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวแห่งราชนาวีไทย #วันนี้ในอดีีต

 

          เรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร!! เปิดนามพระราชทานของ "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" เรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวแห่งราชนาวีไทย #วันนี้ในอดีีต

 

            ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย

 

           เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ และมีการวางกระดูกงูในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ - เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข ๙๑๑ และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ในวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล

           กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร

 

ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร!! เปิดนามพระราชทานของ "เรือหลวงจักรีนฤเบศร" เรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวแห่งราชนาวีไทย #วันนี้ในอดีีต

 

ภารกิจในอดีต เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้มีภารกิจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้

พายุไต้ฝุ่นซีตาห์

          ในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยการใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ

พายุไต้ฝุ่นลินดา

          ในวันที่ ๔-๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดสงขลา

          เรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย

เหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ

          ในวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน "โปเชนตง ๑" และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน "โปเชนตง ๒" โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกินขึ้นในแผนโปเชนตง ๑

ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ พ.ศ. ๒๕๔๗

          ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น ๗๖๐ นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ต และเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ

เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓

         ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

 

เหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี (เกาะเต่า)

         ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๔ กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวงจักรีนฤเบศ พร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น ๗๔๓ คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงจักรีนฤเบศร