ประกาศ ฉ.16 หลายพื้นที่ยังต้องระวัง "พายุฤดูร้อน" ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตก เตือนประชาชนตามพื้นที่เสียงโปรดระวัง

ยังคงมีฝน!! ประกาศ ฉ.16 หลายพื้นที่ยังต้องระวัง "พายุฤดูร้อน" ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตก เตือนประชาชนตามพื้นที่เสียงโปรดระวัง

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (จะมีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2561)" 
ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2561
     บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนลดลง และอากาศจะคลายความร้อนลง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน และฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้

        ในช่วงวันที่ 22 มีนาคม 2561 

        ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ 

        ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

        ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

        ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร 

        ในวันที่ 23 มีนาคม 2561

        ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา

        ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และทะเลจีนใต้แล้ว

        คาดจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางในวันนี้ (22 มี.ค. 61) ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

        จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 

        ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 05.00 น.

        กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.

       

        (ลงชื่อ) วันชัย ศักดิ์อุดมไชย

        (นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย) 

        อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

     บริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นโดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนรวมถึงฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนลดลง และอากาศจะคลายความร้อนลง 

     บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ และภาคกลางในวันนี้ (22 มี.ค. 2561) ในขณะที่บริเวณดังกล่าว รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

     ภาคเหนือ    
อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
โดยมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ 
อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส 
ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ 
อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

     ภาคกลาง    
อากาศร้อน กับมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ โดยมีลมกระโชกแรง 
และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี 
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

     ภาคตะวันออก    
มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

     ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)    
มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี 
อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส 
ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

     ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)    
มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต 
อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

     กรุงเทพมหานครและปริมณฑล    
มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง 
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.