ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ขุนศึกคู่พระทัยขุนหลวงนารายณ์

ในเพลงต้นตระกูลไทยมีท่อนหนึ่งร้องว่า

"เจ้าพระยาโกษาเหล็ก ท่านเป็นแม่ทัพชั้นเอก ของสมเด็จพระนารายณ์ 
สีหราชเดโช ผจญสงครามใหญ่โต ต่อตีสัตรูแพ้พ่าย "

คาถาเด็ด "กำบังพรางศัตรู" เปิดคาถาตำรามนต์ของ "พระยาสีหราชเดโช" ทหารเอกพระนารายณ์ ถูกพม่ารุมจับ เพียงกลั้นใจก็หายตัววับไปกับตา

 

ในละครบุพเพสันนิวาสกล่าวถึงพระยาโกษาเหล็กแต่มิได้กล่าวถึงพระยาสีหราชเดโช จึงขอนำมาเขียนไว้ ณ ที่นี้

พระยาสีหราชเดโชท่านนี้เป็นผู้แก่กล้าวิชาดียิ่งนัก เป็นที่เล่าขานว่าท่านขี่ม้าถือหอก ร่ายพระเวทย์แล้วกลั้นหายใจก็ล่องหนได้ทั้งคนทั้งม้า

ยามออกศึกก็ใช้วิชานี้เพียงแค่ร่ายเวทย์ล่องหนให้ศัตรูเห็นก็ครั่นคร้ามกันแล้ว นอกจากล่องหนหายตัวได้ ท่านยังคงกระพันชาตรี แถมยังสะเดาะกุญแจโซ่ตรวนได้อีก

คาถาเด็ด "กำบังพรางศัตรู" เปิดคาถาตำรามนต์ของ "พระยาสีหราชเดโช" ทหารเอกพระนารายณ์ ถูกพม่ารุมจับ เพียงกลั้นใจก็หายตัววับไปกับตา

 

ท้ายนี้มีคาถาดีของพระยาสีหราชเดโชมาฝาก ผู้ใดศรัทธาใช้ภาวนาเอาเถิด

พุทธังบังโสต ธัมมังบังโสต สังฆังบังโสต พุทธังบังจักขุ ธัมมังบังจักขุ สังฆังบังจักขุ นะอิสะวาสุ สุสวาอินะ อิกะวิติ ติวิกะอิ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา นะโมพุทธายะ นะมิเห็นอิ ฯ

คาถาเด็ด "กำบังพรางศัตรู" เปิดคาถาตำรามนต์ของ "พระยาสีหราชเดโช" ทหารเอกพระนารายณ์ ถูกพม่ารุมจับ เพียงกลั้นใจก็หายตัววับไปกับตา

 

คาถานี้เป็นคาถาของพระยาสีหราชเดโช (ทหารเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าได้หายตัวเข้าทำการรบพุ่งกับพม่าจนกระทั่งเหนื่อยอ่อนไม่สามารถจะกลั้นลมอัสสาสะไว้อยู่ พม่าจึงกลุ้มรุมจับไว้ได้พร้อมทั้งทหารร่วมใจ

ต่อมาภายหลังเมื่อหายเหนื่อยแล้วได้สะเดาะโซ่ตรวนที่พม่าจองจำไว้หลุดออก (แหกค่ายพม่ามาได้ ) คาถานี้จะใช้ภาวนาเป็นล่องหนกำบังก็ได้ หรือจะใช้เสกน้ำมันทาตัวก็ได้ บังได้ทั้งคนและม้าแล ฯ

............

สืบดู ยังมีประวัติที่คลุมเคลือเกี่ยวกับพระยาสีหราชเดโชชัยอยู่
แต่เทียบกับในเรื่องบุพเพสันนิวาส ที่เรื่องราวเกี่ยวข้องกับยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ก็พูดถึงครูชีปะขาว ผู้เป็นยอดครูวิชาอาคมแห่งอยุธยาซึ่งลงเรือไปกับคณะฑูตด้วย ... 

จะใช่ชีปะขาวคนนี้หรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้ แต่ที่รู้อย่างหนึ่งคือ วิชาอาคม เป็นสมบัติ และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทย 

ที่ช่วยทหารทย ต่อกรกับศัตรูมาหลายยุคหลายสมัย ... ทำให้เห็นว่า การเล่นของประลองวิชากันในอดีต ไม่ใช่เรื่องแค่ความชื่นชอบในไสยศาสตร์ หรือเพียงสิ่งงมงาย เพราะนี่คือพื้นฐานของการฝึกพลังจิต พลังสมาธิ ซึ่งผูกพันแนบแน่นกับวิถีชีวิตคนในสังคมไทยเรามาแต่บรรพบุรุษเลยทีเดียว

 

ภาพประกอบ : ชีปะขาว ยอดครูผู้เชี่ยวชาญอาคม จากละครบุพเพสันนิวาส