เคยรู้ไหม? พ.ร.บ. ที่ต่อกันทุกปี เบิกอะไรได้บ้าง? รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ จ่ายหลักร้อย เบิกได้หลายแสน!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

การประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ. คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  ซึ่งรถทุกคันต้องทำ และในกรณีเกิดอุบัติเหตุมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิตสามารถเบิกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ส่วนรายละเอียดจะมีอะไรบ้างตามมาดูกันเลย
 

เคยรู้ไหม? พ.ร.บ. ที่ต่อกันทุกปี เบิกอะไรได้บ้าง? รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ จ่ายหลักร้อย เบิกได้หลายแสน!!

 

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. (ไม่มีคู่กรณี)

ส่วนนี้เรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ หรือค่าทำศพในกรณีเสียชีวิต ที่ไม่ต้องรอการพิสูจน์ โดยบริษัทจะชดเชยแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท (หากเสียชีวิต) ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับคำร้อง

1.กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน

2. กรณีเกิดความเสียหายต่อร่างกายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะได้รับค่าความเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน ซึ่งได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว พิการอย่างถาวร

3.กรณีบาดเจ็บแล้วได้รับค่ายเสียหายเบื้องต้นทั้งข้อ 1 และ 2 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท/คน

4.กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพจำนวน 35,000 บาท/คน

5.กรณีเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลจะจ่ายตามข้อ 1 ด้วย แต่รวมกันไม่เกิน เกิน 65,000 บาท/คน
 

ค่าเสียหายเบื้องต้น (มีคู่กรณี)

สำหรับความเสียหายตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป (เฉี่ยวชน) ทำให้ผู้ขับขี่ หรือผู้ที่โดยสารมากับรถได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันของแต่ละคันจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่รถที่ได้ทำประกันไว้ แต่หากผู้ประสบอุบัติเหตุไม่ได้อยู่ในรถคันคันใดคันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายในอัตราส่วนที่เท่ากัน


การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบอุบัติเหตุต้องยื่นเรื่องภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ โดยมีเอกสารประกอบดังนี้

1.กรณีบาดเจ็บ
     1.1 ใบสร็จรับเงินจากโรงพยาบาล หรือใบแจ้งหนี้
     1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้

2.กรณีเสียชีวิต
     2.1 สำเนามรณบัตร
     2.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
     2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้

 

เคยรู้ไหม? พ.ร.บ. ที่ต่อกันทุกปี เบิกอะไรได้บ้าง? รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ จ่ายหลักร้อย เบิกได้หลายแสน!!

 

เงินชดเชย (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น)

บริษัทจะชดใช้เงินเพื่อทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต ของผู้ทำ พ.ร.บ.และผู้ทำประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฏหมายต่อผู้ได้ประสบอุบัติเหตุ มีดังนี้

1.ผู้ได้ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่สูญเสียอวัยวะจะได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท/คน

2.กรณีเกิดความเสียหายต่อร่างกายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง จะได้รับเงินเต็มจำนวนของการคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/คนได้แก่ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว เสียอวัยวะอื่นใด จิตพิการอย่างติดตัว พิการอย่างถาวร

3. กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินเต็มจำนวนของการคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท/คน

4.กรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในฐานะเป็นคนไข้ในจะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน (เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการคุ้มครองดังกล่าว)

เห็นความสำคัญของการทำ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วหรือยังครับ ซึ่งมันมีประโยชน์มากกว่าโทษ หรือบางคนอาจคิดว่าทำเพื่อที่จะไม่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับ (ซึ่งตอนนี้ถ้าไม่มีพ.ร.บ. ตำรวจสามารถยึดรถชั่วคราวได้) แต่ประโยชน์ของมันมากกว่าการคุ้มครองเฉพาะคนในรถ และวันนี้รถยนต์ของท่านมีแล้วหรือยัง

 

เคยรู้ไหม? พ.ร.บ. ที่ต่อกันทุกปี เบิกอะไรได้บ้าง? รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ จ่ายหลักร้อย เบิกได้หลายแสน!!

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) , thaicarlover