"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

16 กุมภาพันธ์ วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

 

“อริราช พิฆาตท่านวางวาย แสนเสียดายชีพกล้า วิภาวี”
คำสดุดีจากวรรคหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไว้อาลัยในวันพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (พระนามเดิมคือ หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต : ราชสกุลเดิม รัชนี)

        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต สิ้นชีพิตักษัยขณะประกอบพระกรณียกิจแทนพระองค์

        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 — 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) หรือพระนามเดิม หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี) นักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา ว.ณ ประมวญมารค

        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต มีพระนามเดิมเมื่อแรกประสูติคือ หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี เป็นพระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติแต่หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ วรวรรณ มีพระอนุชาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันคือ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

        หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงมีธิดา 2 ท่าน คือหม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต และหม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต

"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

        พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ทรงเริ่มต้นที่โรงเรียนผดุงดรุณี อยู่ 1 ปี ต่อมาได้ทรงย้ายมาเข้าที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยไม่ถึงปีก็เสด็จไปศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 มหาวิทยาลัยน.ม.ส. การเรียนในสมัยนั้น ผู้สอนเป็นแม่ชีชาวอเมริกันและยุโรป กวดขันเรื่องภาษาแก่เด็กนักเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ตำราต่างล้วนเป็นภาษาอังกฤษ แม้แต่ตำราคณิตศาสตร์ก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วน เด็กนักเรียนจึงอ่านเขียนและพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง พระองค์เจ้าหญิงวิภาวดีฯ ทรงเล่าว่า " พูดอังกฤษได้คล่องตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนอยู่ เพราะได้ศึกษาจากมาแมร์เจ็มมะ ซึ่งจ้ำจี้จ้ำไชขนาดหนักมาตั้งแต่เด็ก"

        พระองค์หญิงทรงเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรภาคต่าง ๆ ในราชอาณาจักรตั้งแต่พ.ศ. 2500 และต่อจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โดยเสด็จในตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์

"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

         ในระยะ 10 ปีสุดท้ายของพระชนม์ชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระองค์หญิงปฏิบัติภารกิจแทนพระองค์ในด้านการพัฒนาพื้นที่ทุรกันดารภาคใต้ ทรงนำหน่วยพระราชทานไปช่วยเหลือประชาชนในท้องที่ที่ไกลและทุรกันดารที่สุดโดยมิได้ทรงย่อท้อต่อความยากลำบากในการเดินทางหรือที่พักแรม เมื่อพระองค์หญิงเสด็จที่ใดก็ได้นำความไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและต่อมา ความเจริญก็ค่อย ๆ ไปถึงที่นั้น จนในที่สุดชาวบ้านจึงได้ขนานพระนามว่า “เจ้าแม่”

 

        พระองค์หญิงทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยการเสด็จเยี่ยมเยียนพาแพทย์ไปรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วย จัดสิ่งของหยูกยาไปช่วยชาวบ้านที่ยากไร้หรือประสบภัย แจกอุปกรณ์การศึกษาแก่เด็กนักเรียน แนะนำการงานอาชีพและส่งเสริมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งยังคงนำสิ่งของพระราชทานไปเยี่ยมยมบำรุงขวัญเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร พลเรือน สมาชิกกองอาสาสมัครรักษาดินแดนแม้ในเขตที่มีผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอย่างรุนแรง ก็ยังทรงพระอุตสาหะเสด็จไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ถึงแนวหน้า

"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

        จนกระทั่งวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ระหว่างทางเสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์เพื่อนำสิ่งของพระราชทานไปเยี่ยมบำรุงขวัญเจ้าหน้าที่ที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทรงทราบจากวิทยุว่ามีตำรวจตระเวนชายแดนได้รับบาดเจ็บจากกับระเบิด 2 นาย ด้วยความที่ทรงห่วงใยผู้บาดเจ็บเกรงว่าจะได้รับการรักษาพยาบาลไม่ทันท่วงที จึงรับสั่งให้นักบินเฮลิคอปเตอร์ร่อนลงเพื่อรับเจ้าหน้าที่ที่บาดเจ็บ 2 นายนั้นไปส่งโรงพยาบาล ขณะนักบินนำเครื่องร่อนลงต่ำใกล้บ้านเหนือคลอง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ก่อการร้ายได้ระดมยิงเฮลิคอปเตอร์กระสุนทะลุเข้ามาถูกพระองค์หญิง ทรงได้รับบาดเจ็บสาหัส สิ้นชีพิตักษัยก่อนเสด็จถึงโรงพยาบาล ซึ่งก่อนการสิ้นชีพิตักษัยพระองค์ยังมีพระสติสัมปชัญญะดี ทรงเป็นห่วงตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ตลอด มีรับสั่งว่า “ตชด.เป็นอย่างไรบ้าง เอาออกมาได้หรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาล อย่าให้พวกมันรู้ว่าฉันถูกยิง มันจะเหิมเกริม” และ “ฉันไม่เป็นไรแล้ว ตชด.มาหรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาลด่วน”

คลิกอ่าน : เผยช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตก่อนสิ้นชีพิตักษัย ! หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต แม้ถูกยิงกลับไม่แสดงอาการเจ็บปวด! คำพูดสุดท้าย "ขอลาไปนิพาน"

 ถนนวิภาวดีรังสิต

"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2520 และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ ต่อมา มีการนำพระนามไปเปลี่ยนชื่อ "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์" เป็น "ถนนวิภาวดีรังสิต"

  

อนุสาวรีย์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ณ ค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฏ์ธานี

"16 กุมภาพันธ์" วันคล้ายวันสิ้นสิ้นชีพิตักษัย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต...ผู้สละชีพเป็นราชพลี

         ต่อมาเมื่อวันที่  10 กรกฎาคม 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

        พระราชทานนามค่ายให้แก่หน่วยทหารทั้งสามหน่วยที่มีที่ตั้งอยู่ที่บริเวณสนามบินดอนนก

        ประกอบด้วย จังหวัดทหารบกชุมพร ส่วนแยกสุราษฎร์ธานี, กรมทหารราบที่ 25 และกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 25 ว่า " ค่ายวิภาวดีรังสิต " เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แด่พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนเป็นเหตุให้พระองค์ได้รับอันตรายถึงสิ้นชีพิตักษัย

 

 

จินต์จุฑา รายงาน 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://board.postjung.com/658758.html