ลุ้นระทึก!! ประชุม "มส." 10 ก.พ. นี้ "ธัมมชโย" ขาดจากความเป็นพระหรือไม่???

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

 

 

 

ข้อกล่าวอ้างของมหาเถรสมาคมว่าเรื่องการลงนิคหรรมพระธัมมชโยนั้นได้ยุติไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2542 นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนสำนักข่าวทีนิวส์ก็จะได้ลำดับเรื่องราวให้คุณผู้ชมได้รับทราบ

 

 

 


ว่าในขณะนั้นได้มีการพิจารณาข้อเท็จจริงไปตามพรบ.คณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคมด้วยความถูกต้อง หรือเพื่อปกป้องพระธัมมชโยกันแน่

 


สำหรับหนังสือรายงานการพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กรณีนิคหกรรม กรณีกล่าวหาพระธัมมชโยละเมิดพระธรรมวินัย ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ลงนามโดย พระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ผู้พิจารณานิคหกรรมในขณะนั้น

 


รับรองหนังสือพิจารณานิคหกรรม โดย พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 หัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น พระเทพสุธี รองเจ้าคณะภาค 1 คณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือพระพรหมดิลก เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

 


ในหนังสือดังกล่าวได้ลำดับขั้นตอนตั้งแต่กระบวนการร้อง คือนายมาณพ พลไพรินทร์ และนายสมพร เทพสิทธา ต่อ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายว่า ละเมิดพระธรรมวินัย ต่อเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2542

 


ต่อมา 26 ก.ค.2542 
เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีมีคำสั่งรับคำกล่าวหา

 


วันที่ 29 ก.ค. 2542
ผู้พิจารณามีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ในวันที่ 6 ส.ค. 2542

 


จากนั้นวันที่ 31 ก.ค.2542

ผู้ถูกกล่าวหาทำหนังสือทัดทานคำสั่งรับคำกล่าวหา
ผู้พิจารณาไม่มีอำนาจสั่งรับคำกล่าวหา เพราะกฎมส.ไม่ได้ให้อำนาจไว้ จึงปฏิเสธการไปพบในวันที่ 6 ส.ค.2542
วันที่ 1 ส.ค.2542 

 

ผู้พิจารณาส่งเรื่องทัดทานคำสั่งรับการกล่าวหาให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น
จากนั้นวันที่ 11 ส.ค..2542  

 


คณะผู้พิจารณาชั้นต้น พิจารณาแล้วมีมติว่า คำทัดทานนั้นฟังได้ จึงแนะนำให้ผู้พิจารณา ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎมส.โดยเคร่งครัด
ต่อมาวันที่ 13 ส.ค.2542  เจ้าคณะจังหวัด ทบทวนกฎมส.โดยละเอียดแล้ว เห็นว่าไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจผู้พิจารณา สั่งรับคำกล่าวหาของผู้กล่าวหา ที่มีลักษณะบกพร่องไม่ต้องตามที่ระบุไว้ในกฎนิคหกรรม เห็นควรสั่งไม่รับคำกล่าวหา

 


แต่ปรากฏว่า คำกล่าวหานั้น เป็นความผิดกรณีครุกาบัติ จำต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับคำกล่าวหา คำสั่งไม่รับคำกล่าวหาของผู้พิจารณานี้ มีผลให้กรณีนิคหกรรมจำต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง

 


จึงเป็นอันว่า กรณีนิคหกรรมที่ดำเนินมาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนโดยลำดับกรณีนิคหกรรม วัดพระธรรมกาย ได้ถึงความสิ้นสุดลงแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค. 2542 และเป็นการถึงที่สุดโดยเด็ดขาด ไม่สามารถที่จะอุทธรณ์ ฎีกา ต่อไปได้

 


กับทั้งไม่สามารถที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาดำเนินการใหม่ด้วย หากว่า เจ้าคณะจังหวัดในฐานะผู้พิจารณา จะเกิดสัมโมหะเข้ามากำบังปัญญา รื้อฟื้นกรณีนิคหกรรมขึ้นมาดำเนินการใหม่ ด้วยสาเหตุจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง โทษคือความผิดจะพึงบังเกิดเป็นหลายสถาน
ทั้งในด้านผิดกฎนิคหกรรม ผิดพระธรรมวินัย และผิดกฎหมายบ้านเมือง จึงประทานเสนอรายงานเจ้าคณะใหญ่หนกลางเพื่อโปรดทราบ(ขณะนั้นสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง) และกรุณานำเสนอมหาเถรสมาคม เพื่อโปรดทราบด้วย ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง

 


สำหรับกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11(พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ในข้อ 4(1) หมวด ข(4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง พระภิกษุปกตัตตะ ซึ่งมีสังกัดในวัดเดียวกันและมีสังวาสเสมอกันกับพระภิกษุผู้เป็นจำเลย(สังวาสเสมอกัน หมายถึง พระภิกษุนั้นต้องเป็นนิกายเดียวกัน ทำสังฆกรรมอุโบสถเดียวกัน เช่น ลงปาติโมกข์ บวชนาค และรับกฐินร่วมกันได้ เป็นต้น


(5) ผู้เสียหาย หมายถึงผู้ได้รับความเสียหายเฉพาะตัว เนื่องจากการกระทำความผิดของพระภิกษุผู้เป็นจำเลย และหมายความรวมถึงผู้จัดการแทนผู้เสียหายในกรณีดังต่อไปนี้ ก.ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล หรือตามที่พระภิกษุมีอำนาจลงนิคหกรรมพิจารณาเห็นสมควรให้เป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งอยู่ในการดูแล


(6) โจทก์ หมายถึง ก. ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องพระภิกษุต่อพระภิกษุผู้พิจารณาในข้อหาว่าได้กระทำผิด หรือ ข.พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โจทก์แทนสงฆ์ในชั้นพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ถูกกล่าวหา

 


เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการะบวนการพิจารณาของพระฝ่ายปกครองในขณะนั้นเป็นการตีความเรื่องอำนาจในการกล่าวหาและฟ้องคดีทางสงฆ์ จนนำมาสู่การตีความและยกเลิกข้อกล่าวหาไปในที่สุด โดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ

 


อย่างไรก็ตามแม้มหาเถรสมาคมจะได้มีมติยืนยันว่าฆราวาสสามารถฟ้องพระภิกษุได้ ทางสมเด็จพระมหาธีราจารย์จึงสั่งการให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง แต่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นก็ยังไม่ดำเนินการใดๆ ในที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลางจึงมีคำสั่งปลดพระพรหมโมลี วัดยานนาวา จากเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งจะทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น

 


และตั้งพระเทพสุธี รองเจ้าคณะภาค 1 เป็นเจ้าคณะภาค 1 แต่พระเทพสุธีขอลาออก จึงมีการตั้งพระธรรมโมลี วัดพิชยญาติการาม เป็นเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งจะต้องทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น

 


แต่จนถึงปัจจุบันคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก็ยังไม่เคยวินิจฉัยกรณีนิคหกรรมพระธัมมชโยแต่อย่างใด ทั้งนี้ปัจจุบันพระธรรมโมลี คือ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชยญาติการาม

 


เพราะฉะนั้น ณ ขณะนี้จึงถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่มหาเถรสมาคมจะได้ทำการตรวจสอบการกระทำของพระธัมมชโยตามที่ถูกกล่าวหาว่า เข้าขั้นอาบัติปาราชิกหรือไม่ เพื่อยุติข้อครหาที่กินระยะเวลามานานถึง18 ปี

 


ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอให้กับคุณผู้ชมได้รับทราบไปแล้วว่าตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม หากจะมีกระบวนการเพื่อลงโทษหรือว่าลงนิคหกรรมกับพระธัมมชโย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ก็จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

 


กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม

ข้อ ๙ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุทรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นต่าง ๆ ถ้าเป็น

            
(๑) พระราชาคณะชั้นสามัญหรือชั้นราช ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดหรือมิใช่ผู้ปกครองสงฆ์ ให้นำความในข้อ ๗ (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

            
(๒) พระราชาคณะชั้นเทพ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะภาค หรือมิใช่ผู้ปกครองคณะสงฆ์ ให้นำความในข้อ ๗ (๕) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

            
(๓) พระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไป ซึ่งดำรงตำแหน่งปกครองสงฆ์หรือมอใช่ผู้ปกครองสงฆ์ ให้นำความในข้อ ๗ (๗) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

       


ในกรณีดังกล่าวข้างต้น ถ้าพระราชาคณะรูปนั้นดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส ให้เจ้าอาวาสเจ้าสังกัดเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้นอีกรูปหนึ่งเฉพาะในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรม

 


ปัจจุบันพระธัมมชโย อยู่ในตำแหน่ง พระเทพญาณมหามุนี หรือเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ก็จะต้องนำเอาข้อ 9 (2) มาบังคับใช้ ซึ่งระบุว่า ให้นำความในข้อ ๗ (๕) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 


ข้อ ๗ การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๕) เจ้าคณะจังหวัด หรือรองเจ้าคณะภาค

 


 ก. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตภาคสังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะใหญ่เลือกเจ้าคณะภาคในหนนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

 


ข. ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มิได้สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจเจ้าคณะภาคเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา ส่วนในกรณีไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ เจ้าคณะภาคเจ้าสังกัด ถ้าไม่มีรองเจ้าคณะใหญ่เลือกเจ้าคณะภาคในหนนั้นเข้าร่วมอีก ๑ รูป

 


ทั้งนี้จากการตรวจสอบของสำนักข่าวทีนิวส์พบว่าเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งอยู่ในเขตปกครองจังหวัดปทุมธานี ที่ตั้งของวัดพระธรรมการก็คือ


เจ้าคณะภาค 1 คือ
พระราชวิสุทธิเวที
(สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.9)
วัดชนะสงคราม
แขวงชนะสงคราม
เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร 10200


เขตปกครอง 4 จังหวัด
ประกอบด้วย
นนทบุรี
ปทุมธานี
สมุทรปราการ
กรุงเทพมหานคร

 


เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคมก็เป้นที่ชัดเจนว่าภาระหน้าที่อันสำคัญที่จะเป็นจุดเริ่มต้นว่าพระธัมมชโยต้องขาดจากความเป็นพระหรือไม่คือการวินิจฉัยโดยพระราชวิสุทธิเวทีเจ้าคณะภาค 1 จากวัดชนะสงคราม แต่ในวันนี้ผู้สื่อข่าวทีนิวส์ก็ได้เดินทางไปที่วัดอีกครั้งเพื่อขอเข้าพบแต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยง และไม่สามารถติดต่อได้ โดยลูกศิษย์วัดจะอ้างทุกครั้งว่าติดภารกิจ และไม่สามารถบอกได้ว่าจะสะกวดวันไหน

 


ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ก็มีการวิการวิพากษ์วิจารย์เกี่ยวกับพระรูปนี้มาโดยตลอดว่าเป็นพระหนุ่มที่มีสมณศักดิ์และมีตำแหน่งเกินวัย

 


ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความฟอนเฟะของวงการพระพุทธศาสนาไทยที่มีการเล่นพรรคพวกและพยายามไต่เต้าขึ้นไปมีตำแหน่งสมณศักดิ์ที่สูงโดยไม่ได้สนใจที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาตามแนวทางที่ถูกต้อง

 


มติมหาเถาสมาคม ครั้งที่ 11/2554 วันที่ 20 เมษายน พุทธศักราช 2554 ที่เห็นชอบการแต่งตั้งให้พระโสภณปริยัติเวทีและพระศรีศาสนวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 โดยยังเป็นเพียงพระราชาคณะชั้นสามัญเท่านั้น

 


ในขณะนั้น  พระโสภณปริยัติเวที (สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.9) อายุ 45 ปี พรรษา 25 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และรองเจ้าคณะภาค 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 แทนพระพรหมโมลีซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แทนสมเด็จพระมหาธีราจารย์ซึ่งมรณภาพไป

 


มติมหาเถรสมาคมดังกล่าวมานี้ ชี้ให้เห็นว่า มหาเถรสมาคมไม่ใช้หลักคุณธรรมนำหน้าในการพิจารณาตัวบุคคลที่จะเข้ามาบริหารกิจการคณะสงฆ์ แต่กลับนำเอา "ระบบโควต้า" มาใช้แทน แบบว่าถ้าใครเป็นเจ้าคณะใหญ่หนไหน ก็สามารถจะเอาใครก็ได้มาดำรงตำแหน่งในขอบเขตการบริหารของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงว่าพระภิกษุรูปนั้นจะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่ดำรงอยู่หรือไม่

 


คำว่า "หลักคุณธรรม" นั้นก็คือ ความอาวุโสและความรู้ความสามารถในการบริหารการปกครองนั่นเอง คำว่าอาวุโสยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คืออาวุโสด้านอายุพรรษาในสมณเพศ อาวุโสด้านสมณศักดิ์ และอาวุโสในการบริหารงาน หรือกล่าวให้กระชับก็คือว่า ประสบการณ์หรือฝีมือในการทำงาน

 


พระโสภณปริยัติเวที (สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.9)

อายุ 45 พรรษา 25 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 เป็นรองเจ้าคณะภาค 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2553 และเป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ทั้งยังมีฐานะเป็นเพียงผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามเท่านั้น

 


ซึ่งเมื่อนำเอาคุณสมบัติทั้งปวงมาพิจารณาเทียบกับคุณสมบัติของพระเถระผู้ควรแก่การขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะ ก็เห็นว่า "ไม่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง" ไม่ว่าจะโดยอายุพรรษา โดยสมณศักดิ์ หรือโดยอาวุโสในการบริหารงานก็ตาม กล่าวได้แต่เพียงว่า "เป็นพระเด็กๆ" ขาดความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งในคณะภาคหนึ่งอันเอกอุดังกล่าว

 


จึงมีความสงสัยใน "วิจารณญาณ" ของคณะกรรมการมหาเถรสมาคมชุดซึ่ง อันมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ว่ามหาเถรสมาคมได้ใช้วิจารณญาณพิจารณาให้เหมาะสมแก่เหตุผลหรือไม่เพียงใด ในการแต่งตั้งให้พระเด็กๆ ขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญสูงสุดในคณะสงฆ์ไทยดังกล่าว

 


เมื่อมติมหาเถรสมาคมดังกล่าวแพร่ออกไปสู่สาธารณชน ก็เกิดเสียงวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมไม่ชอบธรรมของมติดังกล่าว และเมื่อสาวลึกลงไปถึงคุณสมบัติของพระที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยิ่งเห็นถึงความผิดพลาดบกพร่องด้านวิจารณญาณของกรรมการมหาเถรสมาคมอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

 


ความไม่เหมาะสม และความไม่ชอบธรรม ดังกล่าวมานั้น ก่อให้เกิดกระแสไม่ยอมรับการแต่งตั้ง (รวมทั้งการบริหารการปกครอง) โดยพระภิกษุ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การปกครองของคณะสงฆ์ไทย บางคนถึงกับประณามมติมหาเถรสมาคมครั้งนี้ว่าเป็น "มติอัปยศ" ด้วยซ้ำ

 


ความสำคัญของเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งในบรรดาผู้ปกครองระดับภาคทั้ง 18 ภาคในประเทศไทยเรานี้ เจ้าคณะภาค 1 ถือว่าเป็นภาคสำคัญที่สุด เพราะปกครองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทียบทางฝ่ายทหารก็เท่ากับกองพลที่ 1 รักษาพระองค์เลยทีเดียว ดังนั้น การจะคัดคนเข้าดำรงตำแหน่งนี้จึงต้องพิถีพิถันอย่างยิ่ง มากกว่าทุกภาคในประเทศไทย คือต้องแก่ทั้งอายุพรรษา บารมี และมีประสบการณ์ในการบริหารการปกครองอย่างหาตัวจับได้ยาก

 


ดังกรณีพระพรหมโมลีเอง กว่าจะได้เป็นเจ้าคณะภาค 1 นั้น ก็ต้องดำรงสมณศักดิ์ถึงชั้นธรรม แถมยังผ่านการบริหารในระดับเจ้าคณะภาคมาก่อน เคยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมชั้นสูง (ป.ธ.7-8-9) ของคณะสงฆ์ที่วัดสามพระยาอีกต่างหาก แล้วถามว่าพระโสภณปริยัติเวทีมีอะไร การตั้งให้พระโสภณปริยัติเวทีพระราชาคณะชั้นสามัญขึ้นเป็นเจ้าคณะภาค 1 ในครั้งนี้ จึงเท่ากับตั้งทหารระดับนายพันขึ้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งมองยังไงก็ไม่เหมาะสม

 


ในกรุงเทพมหานครนั้น มีวัดพระอารามหลวงอยู่มากมาย มีพระราชาคณะผู้ใหญ่นับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ ชั้นธรรม ชั้นเทพ ชั้นราช ฯลฯ และเจ้าอาวาสพระอารามหลวงอยู่นับไม่ถ้วน พระภิกษุผู้ควรดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาคหนึ่ง

 


ซึ่งจะคุมโซนกรุงเทพมหานครนั้น จึงต้องมีสมณศักดิ์ระดับสูง และเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงด้วย การใช้อำนาจในการบังคับบัญชาหรือสั่งงานก็จะเกิดศักดิ์และสิทธิ์ มีผู้เชื่อฟังและปฏิบัติตาม แต่พระโสภณปริยัติเวที นอกจากจะเป็นเพียงพระราชาคณะชั้นสามัญแล้ว ก็ยังเป็นเพียง "ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม" ซึ่งมองยังไงก็ไม่เหมาะสม ทำนองชิงสุกก่อนห่าม เป็นมะม่วงบ่มแก๊ส ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 มิใช่ตำแหน่งพระครูปลัดที่จะแต่งตั้งเณรหัวขี้กลากที่ไหนเป็นก็ได้

 


เพราะฉะนั้นเมื่อได้ไล่เรียงดูประวัติของพระราชวิสุทธิเวที ซึ่งปัจจุบันได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นถึงเจ้าคณะภาคที่ 1 และ จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นจุดเริ่มต้นที่จะพิจารณาว่าพระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิดหรือไม่ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าพระราชวิสุทธิเวทีจะตัดสินใจอย่างไร

 


แต่ถ้าพิจารณาจากที่มาในการก้าวขึ้นมาในตำแหน่งเจ้าคณะภาคที่ 1 แล้วก็น่าจะไม่มีการดำเนินการใดๆกับพระธัมมชโยซึ่งอาจจะทำให้เจ้าคณะภาค 1 ถูกดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ใช่หรือไม่