เปิดตัว ”วีรบุรุษอัยการ” ผู้ทำงานเพื่อแผ่นดิน ยื่นฟ้องคดียิ่งลักษณ์ปล่อยโกงจำนำข้าว  ช่วยชาวนาตาสว่าง

เปิดตัว ” วีรบุรุษอัยการ”  ผู้ทำงานเพื่อแผ่นดิน ยื่นฟ้องคดียิ่งลักษณ์-จำนำข้าว

     สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุจริตจำนำข้าว โดยเฉพาะคดีเชื่อมโยงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  นอกเหนือจากการทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. อีกหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน นั้นก็คือ “อัยการสูงสุด”  ในการทำให้คดีนี้เดินหน้า  แต่ก็ต้องมาเปิดปูมกันเสียหน่อย .. เพราะก่อนหน้านั้นอัยการก็เป็นผู้ที่ทำให้คดีนี้เกือบจะสะดุด หรือ หยุดลง แต่นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ข้อหากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิด การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว

       พร้อมระบุว่า จำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว 5 โครงการ โดยไม่สนใจข้อทักท้วงทั้งก่อนและระหว่างดำเนินการจากหลายหน่วยงาน ทั้ง ป.ป.ช. สตง. กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ รวมไปถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ว่านโยบายนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพข้าว บิดเบือนกลไกตลาดและเกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน แต่จำเลย และ ครม. กลับเดินหน้านโยบายนี้โดยไม่ยับยั้งความเสียหาย ไม่มีการปรับแก้หลักเกณฑ์ให้เกิดความรอบคอบ ทำให้เกิดความเสียหาย ขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

ทั้งนี้ สำหรับผู้แทนอัยการ 10 ราย ประกอบด้วย
1. นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด
2. นายกิตติ บุศยพลากร ผู้ตรวจการอัยการ
3. นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครอง รักษาราชการแทนอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ
4. นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน
5. นายภาณุพงษ์ โชติสิน รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ
6. นายกิตินันท์ ธัชประมุข รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน
7. น.ส.ปราณี รัตนชัยวงศ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 5
8. นายวิทูร สุรวัฒนานันท์
9. นายรุ่งโรจน์ แจ่มพิทยากรณ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานคดีพิเศษ 5
10. นายธรรมรงค์ชัย วงษ์สวัสดิ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานการสอบสวน 2

       เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 อีกด้านหนึ่งทางฝั่งของอัยการสูงสุด โดยนายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน หนึ่งในคณะทำงาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมาทางคณะทำงานอัยการได้ยื่นคำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรต่อองคณะศาลฎีกาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคณะทำงานอัยการได้ยื่นแถลงปิดคดีสองคดีคือ คดีหมายเลขดำที่ อม.22/2558 ที่จำเลยคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคดีหมายเลขดำที่ อม.25/2558 ซึ่งเป็นคดีทุจริตระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ที่จำเลยคือนายบุญทรง อดีต รมว.พาณิชย์ กับพวกรวม 28 ราย โดยคำแถลงการปิดคดีของนายบุญทรงนั้นมีความยาว 165 หน้า และส่วนคดีโครงการรับจำนำข้าวที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลย มีความยาว 211 หน้า 

     ในส่วนของคดีจำนำข้าวได้มีการยื่นสำนวนของการระบายข้าวที่มีนายบุญทรงเพิ่มประกอบไปด้วยเนื่องจากมีความเกี่ยวพันกัน ทำให้แถลงปิดคดีของคดีจำนำข้าวรวมแล้วเป็น 376 หน้า โดยรายละเอียดของแถลงการณ์ปิดคดีในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเป็นการสรุปประเด็นข้อพิพาทว่ามีประเด็นใดบ้างที่มีการสืบพยานที่มาผ่านมาว่าตรงไหนรับฟังได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร หักล้างกันได้อย่างไร  

      แต่ว่า สิ่งที่อัยการได้ทำให้เกือบสะดุด หรือ หยุดลง ต้องย้อนรอยกลับไปดูที่ว่า เพราะก่อนหน้านี้ อัยการสูงสุดไม่ชี้ขาดน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า ถูกกล่าวหาทุจริตจำนำข้าว แจงเหตุพบข้อไม่สมบูรณ์ในสำนวน ซึ่งคดียังมีข้อไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาได้ เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า สำนวนของ ป.ป.ช. มีประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ จึงต้องให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการกับ ป.ป.ช. พิจารณา 3 ประเด็น ประกอบด้วย
1.ประเด็นเรื่องโครงการรับจำนำข้าว  ว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการที่จะยับยั้งโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาแล้วหรือไม่
2.ประเด็นเรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ควรทำการไต่สวนรวบรวมพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความว่า ภายหลังจากที่โครงการรับจำนำข้าวได้ถูกท้วงติงจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 
3.ประเด็นเรื่องการทุจริต ควรไต่สวนพยานเพิ่มเติมให้ได้ความว่า โครงการรับจำนำข้าวที่ยืนยันว่ามีการทุจริตนั้น พบการทุจริตในขั้นตอนใด และมีการทุจริตอย่างไร นอกจากนั้นที่มีการกล่าวอ้างถึงรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ

โดยมี “นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์” รองอัยการสูงสุดเป็นหัวหน้า ได้ตรวจสำนวนพยานหลักฐานของ ป.ป.ช.และสรุปความความเห็นเป็นเอกฉันท์เสนอ นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุดว่า สำนวนคดียังมีข้อไม่สมบูรณ์

 ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานพิจารณาสำนวนคดีป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบพบว่า

       นายวุฒิพงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง ประกอบไปด้วย ธนาคารออมสิน , การประปานครหลวง , ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย , บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัดซึ่งในช่วงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการอัยการ นายวุฒิพงศ์ เคยผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 12 ในช่วงเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าร่วมการอบรมด้วย ก่อนก้าวเข้าสู่เวทีการเมือง ในฐานะประธานกรรมการบริหารบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานรุ่น ซึ่ง ในช่วงเดือนก.พ. 57 ที่ผ่านมา ก่อนหน้าที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะถูกรัฐประหารยึดอำนาจ ธนาคารออมสิน ได้มีการปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหการณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผ่านตลาดกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร หรือ “อินเตอร์แบงก์” เพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหาการขาดคล่องในการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล จนเกิดกระแสต่อต้านจากสังคมอย่างหนัก
ประชาชนที่เป็นลูกค้าของธนาคารออมสินจำนวนมากแห่มาถอนเงิน ปิดบัญชี  เพราะไม่พอใจในการดำเนินการเรื่องนี้ จนผู้บริหารธนาคารออมสิน ต้องตัดสินใจล้มเลิกแผนปฏิบัติการดังกล่าวในเวลาต่อมา  ซึ่งนายวุฒิพงศ์ ก็เป็นหนึ่งในรายชื่อบอร์ดออมสิน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติปล่อยเงินกู้ครั้งนั้นด้วยเช่นกัน? 


ขอบคุณข้อมูล สำนักข่าวอิศรา

 

เปิดตัว ”วีรบุรุษอัยการ” ผู้ทำงานเพื่อแผ่นดิน ยื่นฟ้องคดียิ่งลักษณ์ปล่อยโกงจำนำข้าว  ช่วยชาวนาตาสว่าง

เปิดตัว ”วีรบุรุษอัยการ” ผู้ทำงานเพื่อแผ่นดิน ยื่นฟ้องคดียิ่งลักษณ์ปล่อยโกงจำนำข้าว  ช่วยชาวนาตาสว่าง เปิดตัว ”วีรบุรุษอัยการ” ผู้ทำงานเพื่อแผ่นดิน ยื่นฟ้องคดียิ่งลักษณ์ปล่อยโกงจำนำข้าว  ช่วยชาวนาตาสว่าง

เปิดตัว ”วีรบุรุษอัยการ” ผู้ทำงานเพื่อแผ่นดิน ยื่นฟ้องคดียิ่งลักษณ์ปล่อยโกงจำนำข้าว  ช่วยชาวนาตาสว่าง