วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

อดีตศิษย์ สับแหลก ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

     หลังจากข่าวฉาวระรอกใหญ่ของทางจุฬาลงกรณ์ หมาวิทยาลัย  ที่เพิ่งจะผ่านมา  กับข่าวป่วนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ของเหล่านิสิตใหม่ อย่างพิธีสัตย์ปฏิญาณนิสิตใหม่  ที่มีนายเนติวทิย์ สุดแสบ ที่ร่วมกับพวกจนกระทั่งโดน ลงโทษจากทางมหาวิทยาลัยไปเป็นที่เรียบร้อย  หายจ๋อยไปแล้ว  ขออย่างเดียว   อย่าออกมาสร้างกระแสด้วยการทำอะไรพิเรนๆ อีกเลย
       และในครั้งนั้น คุณ   วิรังรอง  ทัพพะรังสี  อดีต นิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปปท.) ก็ได้ออกมาโพสต์แสดงความเห็น  ในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ ในทำนองที่ว่า  จะแก้โดยวิธีที่กำจัดเนติวิทย์ น่ะมันก็ได้อยู่หรอก  แต่ก็ดูเหมือนว่ามันจะเป็ฯการเเก้ปัญหา ที่ปลายเหตุไปเสียหน่อย  น่าจะต้องแก้ที่ต้นเหตุหรือเปล่าถึงจะหมดไปไม่เกิดเหตุการณ์ พินาศแบบนั้นขึ้นอีก

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"


    หลังจากวิจารย์เรื่องของการจัดการนิสิต กันไปแล้วครั้งนี้คุณวิรังรองกลับทมาอีกครั้ง กับมาแฉระดับ(อดีต)ผู้บริหาร กันบ้าง  ซึ่งขอบอกเลยว่าเรื่องนี้ต้องอ่าน!


     โดยเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา คุณวิรังรอง  ทัพพะรังสีได้โพสต์ ลงเฟสบุ๊กโดยระบุว่า....

        อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯVSนายศุภชัย ศรีศุภอักษรและเครือข่ายธรรมกาย ข่าว รศ. ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุที่เกี่ยวพันกับสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ บทความนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยย่อถึงเส้นทางการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ที่ ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ และ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา ในสมัยที่ต่างดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ได้ลงนามและอนุมัติการทำธุรกรรมนำเงินปล่อยกู้และฝากเงินในเครือข่ายสหกรณ์ของนายนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ซึ่งอาจมีผลทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เสียหายกว่า ๓,๐๐๐ พันล้านบาท..ยาวและไม่ขอตัดสองตอน เพราะจะได้รวมเนื้อหาไว้ในที่เดียวค่ะ
รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตประธานคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ๔ สมัย เคยได้รับรางวัล นักสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๒ เขียนเกี่ยวกับตนเองไว้ว่าเป็นปราชญ์สหกรณ์ (ภาพประกอบ) ปัจจุบันคือผู้ต้องหาที่ได้เข้ามอบตัวแล้วในคดีอาญา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน เนื่องจากหลอกลวงเพื่อนและอดีตอาจารย์มจุฬาฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ให้นำเงินไปร่วมลงทุนคล้ายแชร์ลูกโซ่ในสหกรณ์ลอตเตอรี่ ซึ่งไม่มีจริง แต่โดนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสหกรณ์จุฬาฯ จนสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า ๕๔๑ ล้านบาท (หมายเหตุ: จำนวนเงินตามข่าวที่ปรากฏแตกต่างกัน บ้างก็ว่า ๔๐๐ ล้าน บ้างก็ว่า ๑,๔๐๐ ล้าน)

 

ส่วน ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ คงจำ ดร.บัญชา อดีตรองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิต และนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาฯ ผู้เคยรับผิดชอบการจัดงานพิธีถวายสัตย์หน้าลานพระบรมรูป ๒ รัชกาล เมื่อวันที่ ๓ ส.ค. ที่ผ่านมาได้นะคะ เพราะหลังจากเกิดเหตุวุ่นวายระหว่างพิธีกรณีเนติวิทย์ เราก็ได้เห็นหน้าและเสียง ดร. บัญชาในสื่อหลายครั้ง และจากเหตุการณ์ ๒ วัยรุ่นขี่มอเตอร์ไซต์วนรอบคณะรัฐศาสตร์ตะโกนถามหาตัวเนติวิทย์ ดร.บัญชา ผู้นี้คือผู้ที่พาเนติวิทย์ไปลงบันทึกประจำวันที่สน. ปทุมวัน
สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ก่อตั้งมาจนถึงวันนี้เป็นเวลา ๕๖ ปี เมื่อดูรายชื่อประธานกก. แล้วพบว่าในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๕๙ มีชื่อ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ และ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา สองคนนี้ หมุนเวียนสลับกันเป็นประธานบอร์ด และที่ปรึกษาแก่กันและกันอยู่หลายสมัย นับว่าอยู่ยั้งยืนยงนานกว่าประธานท่านอื่น คือสองคนรวมกันเป็นเวลา ๓๐ ปี (ยกเว้นสองปีคือระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕ ภาพประกอบจากเว็ปไซต์ ทำเนียบบุคคลากร สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ http://www.savings.chula.ac.th/sav/?page_id=22 ) โดยดร. สวัสดิ์ บวกลบแล้วเคยดำรงตำแหน่งประมาณ ๒๖ ปี ดร.บัญชา ๔ ปี

      ปัจจุบัน ดร.บัญชา ได้ลาออกจากตำแหน่งรองอธิการบดีแล้ว เนื่องจากผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กทม. พื้นที่ ๑ ในนามของนายทะเบียนสหกรณ์ ได้ออกคำสั่งให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ดำเนินการแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ ๕๒ (ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา เป็นประธานบอร์ด) และ ชุดที่ ๕๓ (ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ เป็นประธานบอร์ด) ชดใช้ค่าเสียหายกรณีอนุมัติเงินฝากกับสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ จำกัด รวมทั้งสิ้น ๙๑๕ ล้านบาท ซี่งปัจจุบันนายทะเบียนสั่งเลิกสหกรณ์นพเก้ารวมใจฯ แล้วโดยสหกรณ์นพเก้ารวมใจฯ ยังไม่ได้ชำระเงินคืนแก่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ แต่อย่างใด
ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ ผู้ซี่งเคยเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ชุดที่ ๕๓ และเป็นผู้ที่มีส่วนในการอนุมัติเงินฝากจำนวน ๙๑๕ ล้านบาท ดังกล่าว จึงได้ลาออกจากตำแหน่งรองอธิการบดีฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของจุฬาฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม เป็นต้นไป (อ้างอิงข่าวจากเว็บไซต์จุฬาฯ http://www.chula.ac.th/th/archive/64463 )
บทความนี้จะไม่กล่าวเฉพาะเงิน ๙๑๕ ล้านบาท แต่จะกล่าวรวมถึงเส้นทางการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ที่ ๒ ด็อกเตอร์ข้างต้น บริหารจนอาจเกิดความเสียหายนับพันล้านบาท ซึ่งรวมถึงจำนวน ๙๑๕ ล้านบาทข้างต้นด้วย กล่าวคือ:
ดร.บัญชา และดร.สวัสดิ์ ในขณะที่ต่างดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ได้นำเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ไปทำธุรกรรม "ปล่อยเงินกู้" และ "ฝากเพื่อรับดอกเบี้ย" กับสหกรณ์เครือข่ายของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร (อดีตไวยาวัจกรของวัดธรรมกายในขณะนั้น ) ๓ แห่ง ซี่งเป็น ๓ สหกรณ์ที่มีปัญหา เพราะไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ได้ ดังนี้
๑.ให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นกู้เงิน จำนวน ๑,๔๓๑ ล้านบาท
๒. ฝากเงินกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำนวน ๖๕๐ ล้านบาท
๓. ฝากเงินกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี จำนวน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔. ฝากเงินกับสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ จำนวน ๙๑๕ ล้านบาท
รวมทั้งหมด เป็นเงิน ๓,๑๙๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท
โดยในขณะนั้นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี มีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร เป็นประธานกรรมการ และมีข่าวว่าเป็นนอมินีของเครือข่ายวัดธรรมกาย
รายละเอียดเส้นทางการทำธุรกรรมมีดังนี้:
๑. ความเดิม สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ มีมติให้เงินกู้แก่สหกรณ์คลองจั่นฯ ๑ พันล้านบาท ครั้งแรก/งวดที่ ๑ วันที่ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๓ จำนวน ๘๐๐ ล้านบาท และงวดที่ ๒ วันที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐๐ ล้านบาท โดยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจ่ายคืนแล้วส่วนหนึ่ง เหลือต้นเงินฝาก ๔๕๐ ล้านบาท ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจำนองเป็นประกัน หนึ่งในหลักทรัพย์คืออาคารยูทาวเวอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของบริษัทยูฟันด์ แชร์ลูกโซ่ที่ถูกจับกุม โดยหนึ่งในผู้ต้องหาคือนางสาวณมนพรรณ์ ธาราบัณฑิต ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย
ต่อมา นายศุภชัย ทำหนังสือขอเปลี่ยนแปลงสัญญากู้ใหม่จากเดิม ๑ พันล้านบาท เป็น ๑.๑ พันล้านบาท ทว่าในวันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๖ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ โดยนายบัญชา ได้อนุมัติสัญญา “ปล่อยกู้” ให้แก่สหกรณ์คลองจั่นฯ ครั้งที่ ๒ เป็นเงินถึง ๑,๔๓๑ ล้านบาท (มากกว่าที่ขอมา) ทั้งที่สหกรณ์คลองจั่นฯ ขาดสภาพคล่องทางการเงินมาตั้งแต่เดือน มี.ค. ๒๕๕๖
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงที่จะอนุมัติเงินกู้ครั้งที่สองให้แก่สหกรณ์คลองจั่นนั้น นายศุภชัย กำลังตกเป็นข่าวว่าได้ยักยอกเงินของสหกรณ์คลองจั่นฯ จำนวนกว่าหมื่นล้านบาท และได้ถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงประชาชน ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๖ แต่ดร.บัญชา ก็ยังปล่อยให้มีการปล่อยกู้แก่สหกรณ์คลองจั่น โดยหลังปล่อยกู้ได้เพียง ๓ วัน คือในวันที่ ๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๖ คณะกรรมการธุรกรรมมีมติอายัดทรัพย์เครือข่ายนายศุภชัย ทำให้สหกรณ์คลองจั่นผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก โดยงวดแรกชำระเพียง ๑ ล้านบาท งวดสอง ๑.๕ ล้านบาท งวดสาม ๑ ล้านบาท และงวดสี่ ไม่ชำระหนี้ ทั้่งนี้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ก็ไม่เร่งรัดดำเนินการตามที่ควรจะเป็น ส่วนดอกเบี้ยให้นำฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ทั้งที่รู้ว่าไม่สามารถถอนได้ แทนที่จะนำฝากที่ธนาคารกรุงไทยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเงินกู้
จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า นายศุภชัย ผู้มีปัญหาฉาวโฉ่ครึกโครมเรื่องการยักยอกเงินของสหกรณ์คลองจั่นฯ ตั้งแต่ก่อนที่จะอนุมัติให้กู้เงินครั้งที่ ๒ แต่ดร.บัญชา กลับเอาเงินของชาวสหกรณ์จุฬาฯ ไป “เสี่ยง” ให้สหกรณ์คลองจั่นกู้ได้อย่างไร
การกู้เงินดังกล่าว แม้จะมีหลักทรัพย์ประกันเป็นโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนำมาจำนองเป็นประกัน แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สหกรณ์คลองจั่นฯ นำมาจำนองไว้นั้น พบว่า ที่ดินค้ำประกันบางส่วนตกเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทำให้พื้นที่ส่วนที่ติดกับถนนตามโฉนด เหลือน้อย
ปัจจุบัน สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ได้รับการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ณ วันที ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ โดยได้รับการชำระหนี้จากสหกรณ์คลองจั่นแล้ว ๑๖ งวด ดังนี้
ต่้นเงิน จำนวน ๑๕๒,๖๔๐,๐๐๐.๐๐
ดอกเบี้ย จำนวน ๕๓,๙๙๒,๒๒๑.๐๙
ดอกเบี้ยค้าง จำนวน ๒๐,๙๔๑,๔๒๔.๖๖
รวม จำนวน ๒๒๗,๕๗๓,๖๔๕.๗๕
ปัจจุบันมีหนี้คงเหลือ จำนวน ๑,๒๗๘,๓๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท
๒. วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๑ คณะกรรมการสหกรณ์จุฬาฯ อันมี ดร.บัญชา เป็นประธาน ดร.สวัสดิ์ เป็นที่ปรึกษาในขณะนั้น ได้อนุมัติการ “ฝากเงิน” แก่สหกรณ์คลองจั่นฯ ครั้งแรกจำนวน ๒๐๐ ล้านบาท โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสี่ยง และทยอยฝากเรื่อย ๆ อีก ๙ ครั้ง รวม ๖๕๐ ล้านบาท และมีการถอน-ฝาก จนกระทั่งในปี ๒๕๕๙ เหลือจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ย ๑๔๔,๕๘๔,๗๓๔ บาท และสหกรณ์จุฬาฯ ระบุในงบการเงินว่า เป็น "หนี้ที่เผื่อจะสูญ"
๓. วันที่ ๖ มี.ค. ๒๕๕๖ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ อันมี ดร.บัญชา เป็นประธาน อนุมัติให้นำเงินไปฝากไว้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี (มีนายศุภชัย เป็นประธานในขณะนั้น) จำนวน ๒๐๐ ล้านบาท โดยมีคณะกรรมการสหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ จำนวน ๑๕ คน ลงนามค้ำประกันเงินฝากระยะเวลา ๑๒ เดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๖ ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยรายเดือน เมื่อเงินฝากครบกำหนด สหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ ขอให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ฝากต่ออีก ๒ ปี โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 6 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกหกเดือน เมื่อเงินฝากครบกำหนดสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ แจ้งขอถอนคืนเงินฝากทั้งจำนวนพร้อมดอกเบี้ย สหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ แจ้งว่าขาดสภาพคล่องไม่สามารถจ่ายเงินได้
สหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ จึงได้เสนอเอาหุ้นของบริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ซึ่งสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ถืออยู่ ๑๙ ล้านหุ้น มูลค่า ๑๙๐ ล้านบาทมาใช้หนี้แทน แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัทดังกล่าว เป็นหนึ่งในนิติบุคคล ๑๙ แห่งที่ถูกดีเอสไอสอบคดีฟอกเงินจากกรณีสหกรณ์คลองจั่น วงเงินประมาณ ๒.๒ พันล้านบาท และสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ก็เข้าไปถือหุ้นอยู่ด้วย ๑ ล้านหุ้น มูลค่า ๑๐ ล้านบาท ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะ ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา คือ ๑ ในคณะผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทสหประกันชีวิตฯ (ภาพประกอบ และลิงค์ที่มา: http://www.sahalife.co.th/about.aspx?lg=th)


อ่านถีงตรงนี้ดูเหมือนชื่อตัวละครในเรื่องนี้จะวนเวียนอยู่ไม่กี่คนที่เกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ วนเวียนวกไปวนมา ต่างกรรมต่างวาระ แต่ไปในทิศทางเดียวกันคือ ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
เมื่อดูให้ลึกไปกว่านี้ ก็พบว่า บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มีนายนายศุภชัย ศรีศุภอักษร เป็นประธานกรรมการ (อีกแล้วคร้บท่าน) ผลการดำเนินงานติดลบมาโดยตลอด มีดร.บัญชา ชลาภิรมย์ ผู้แทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เป็นรองประธานกรรมการบริษัทคนที่ ๒ (เกี่ยวพันกันอีกแล้วคร้บท่าน)
หมายเหตุ: ในเว็ปไซต์ของบริษัท สหประกันชีวิตฯ วันที่ ๑๓ กันยายน คือวันที่เขียนบทความนี้ พบว่าในหน้ารายชื่อคณะกรรมการบริษัทของสหประกันชีวิตฯ หน้าเพจเดียวกันกลับมี ๒ ลิงค์ คือ (น่าจะเป็นลิงค์เก่า) http://www.sahalife.co.th/mobile/about_board.aspx ที่ตั้งค่าสำหรับดูจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปรากฏภาพและชื่อ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ เป็นรองประธานกรรมการบริษัทคนที่ ๒ ส่วนที่ลิงค์ http://www.sahalife.co.th/about_board.aspx กลับไม่มีภาพและชื่อดร.บัญชา เข้าใจว่าเว็ปไซต์ยังมิได้อัพเดทให้เรียบร้อย
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ดร.บัญชา ในฐานะรองประธานฯ บ.สหประกันชีวิตฯ เคยได้รับรางวัลตาชั่งทอง บุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี ๒๕๕๖ จาก ผู้แทนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
http://www.newswit.com/…/…/0b0fecdec19992590047b2899b333acd/


มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ ไม่เอะใจบ้างเลยหรือก่อนอนุมัติเงินฝาก เพราะผู้บริหารสหกรณ์คลองจั่นกับมงคลเศรษฐีฯ คือกลุ่มก๊วนเครือข่ายเดียวกัน แล้วกรณีสหกรณ์คลองจั่นก็มีข่าวไม่ชอบมาพากลตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว ทำไมไม่เร่งขอถอนเงินคืนมาแต่เนิ่นๆ แต่ดิฉันดิฉันกลับไม่แปลกใจการทำธุรกรรมของดร.บัญชา เพราะด้วยข้อมูลที่กล่าวข้างต้นนี้ทำให้ดิฉันมองว่า ดร.บัญชา ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา และนาย ศุภชัย ทั้งสามคนนี้ ก็ดูเหมือนว่าน่าจะมีความคุ้นเคยกัน หรืออาจจะอยู่ในเครื่อข่ายเดียวกัน
เมื่อวันที่ ๒๒ เม.ย. ๒๕๕๘ สหกรณ์จุฬาฯ ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องสหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ กับคณะกรรมการผู้ลงชื่อค้ำประกัน ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง จำนวน ๒๑๕,๗๘๘,๕๑๓.๖๐ บาท โดยศาลมีคำพิพากษาให้ สหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ ชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เท่าจำนวนทรัพย์ที่ฟ้อง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้อง
ปัจจุบัน คณะกรรมการ สหกรณ์มงคลเศรษฐีฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ และศาลนัดฟังคำพิพากษาอุทธรณ์ ในวันที่ ๖ กันยายน ที่ผ่านมา แต่ยังหาข่าวที่เสนอเรื่องนี้ไม่ได้
วันที่ ๑๐ ก.พ. ๒๕๖๐ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ได้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้น บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด จำนวน ๑๙ ล้านหุ้น ซึ่งเป็นหุ้นที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ถืออยู่ โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งอายัด มิให้จำหน่ายหรือโอนให้กับผู้ใด (ปัจจุบันมูลค่าหุ้นบริษัท สหประกันชีวิตฯ ตกลงไปมาก แต่ก็ดีกว่าไม่อายัดอะไรไว้เลย)
๔. สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ โดยบอร์ดชุดที่ ๕๒ มีดร. สวัสดิ์ เป็นประธานฯ ดร. บัญชา เป็นที่ปรึกษา ได้อนุมัติเงินฝากให้กับสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ จำกัด ๒ ครั้ง คือ วันที่ ๒๗ ส.ค. และ ๒๙ ส.ค. ๒๕๕๕ เป็นจำนวนเงิน ๒๙๕ ล้านบาท โดยใช้โฉนดที่ดินเนื้อที่ ๑๓๐ ไร่เศษ (๒ โฉนด) เป็นหลักทรัพย์คำประกันเงินฝาก ราคาประเมิน รวม ๑๐๔,๓๕๘,๓๐๐.๐๐ บาท และ โฉนดที่ดินเนื้อที่ ๕๒ ไร่เศษ (๑๕ แปลง ๑๗ โฉนด) ราคาซื้อขายที่ดินทั้งสิ้น ๑๙๘ ล้านบาทเศษ
หลังจากนั้นเมื่อ ดร. บัญชา ขึ้นเป็นประธานคณะกก.บอร์ดชุดที่ ๕๓ ต่อจากดร.สวัสดิ์ ได้นำเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ไปฝากเพิ่มอีก ๓ ครั้ง ระหว่างวันที่ ๒๙ มี.ค.ถึง พ.ย. ๒๕๕๖ เป็นจำนวนเงิน ๗๐๐ ล้านบาท โดยมีหลักประกันเป็นโฉนดที่ดินจำนวน ๒๑๘ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตร.ว. อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม นำมาจำนองเป็นประกัน
สรุปว่าบอร์ดชุดที่ ๕๒ และ ๕๓ โดยดร.สวัสดิ์ และดร. บัญชา ได้อนุมัติทำธุรกรรมทางการเงินกับสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจฯ (ทั้งที่สหกรณ์นพเก้าฯ มีสถานะขาดทุน) ๕ ครั้ง รวมเป็นเงิน ๙๙๕ ล้านบาท และมีการทยอยชำระคืนจึงเหลือเป็นเงินฝากทั้งสิ้น ๙๑๕ ล้านบาท (ถ้ารวมดอกเบี้ยอีก ๗๐ ล้านบาท รวมเงินต้น+ดอกเบี้ย คิดเป็นประมาณ ๙๘๕ ล้านบาท) เมื่อเงินฝากครบกำหนด สหกรณ์จุฬาฯ แจ้งขอถอนคืนเงินฝากทั้งจำนวนพร้อมดอกเบี้ย สหกรณ์นพเก้ารวมใจฯ แจ้งขอขยายระยะเวลาคืนเงินฝาก ดอกเบี้ย และผิดชำระหนี้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โดยในวันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๖๐ กรมส่งเสริมสหกรณ์โดย นายทะเบียนสหกรณ์ มีคำสั่งเลิกกิจการสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจฯ (เงินสดในบัญชีเหลือเป็นศูนย์) และยังไม่ได้ชำระเงินคืนแก่สหกรณ์จุฬาฯแต่อย่างใด
สำนักข่าวอิสราได้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ตั้งของสหกรณ์นพเก้ารวมใจฯ พบว่ามี ๓ แห่ง แห่งแรกเป็นบ้านชั้นเดียว มีสภาพทรุดดโทรม ไม่มีรั้ว อยู่ติดกับบริเวณร้านรับซื้อของเก่า (ภาพประกอบ) แต่ได้ขายไปแล้วประมาณ ๓ แสนบาท แล้วย้ายที่ตั้งไปอยู่เป็นบ้านที่ทุบติดกันในซอยเคหะรามคำแหงแทน มีป้ายชื่อสหกรณ์ แต่ไม่มีลักษณะเปิดทำการ (ภาพประกอบ) และแห่งสุดท้ายตั้งอยู่ในหมู่บ้านปทุมวดี ตำบลบางหลวง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี (ภาพประกอบ) โดยเว็บไซต์สำนักข่าว Patrolnews รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2555 พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เป็นประธานเปิด สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ จำกัด ด้วย (ภาพประกอบวันเปิดสหกรณ์ฯ จากเว็บไซต์สำนักข่าว Patrolnews และ http://bit.ly/29CL3Ny )

 

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"


วันที่ ๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ สหกรณ์จุฬาฯ ได้ยื่นฟ้องสหกรณ์นพเก้ารวมใจฯ ทุนทรัพย์ที่ฟ้อง จำนวน ๑,๐๖๓,๑๕๔,๗๐๖ บาท
และนี้จึงเป็นที่มาของหนังสือลงวันที่ ๒๒ ส.ค. ๒๕๖๐ โดยนายทะเบียนสหกรณ์ได้ออกคำสั่งให้สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ แจ้งบอร์ดชุดที่ ๕๒ และ ๕๓ ชดใช้ค่าเสียหายที่นำเงินไปฝากกับสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจฯ ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ จึงได้ลาออกจากตำแหน่งรองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิต และนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาฯ
บทความนี้ยาวมากด้วยเนื้อหาข้อมูล แต่ขอคอมเมนท์บ้างนะคะ วกไปวนมาก็วนเวียนอยู่ที่ว่า จุฬาฯ ควรสกรีนคนดี มีความรู้ ไม่มีทัศนคติขวางจารีตประเพณี ค่านิยมของจุฬาฯ มีสำนึกของความเป็น “ครู” ไม่ใช่แค่เป็น “ผู้สอน" และมือสะอาด สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นิสิต มาเป็นอาจารย์และเป็นผู้บริหาร.... ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ อดีตรองอธิการบดีฯ และดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสองตัวอย่างที่แสดงถึงผลพวงของเครือข่ายอาจารย์และผู้บริหารที่สร้างผลเสียแก่จุฬาฯ ทั้งในแง่ทรัพย์สินของสมาชิกสหกรณ์ฯ และชื่อเสียงของจุฬาฯ หากอาจารย์และ/หรือผู้บริหารจุฬาฯ กระทำสิ่งที่ไม่ดีเสียเอง ไม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นิสิตได้ จะอบรมสั่งสอนนิสิตได้อย่างไร จึงหวังว่าอาจารย์และผู้บริหารจุฬาฯ ทั้งหลายจะมองเห็นความสำคัญของการดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นิสิต ไม่ทำลายเกียรติภูมิจุฬาฯ เสียเอง การแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมหมู่มาก แต่การเล่นพรรคเล่นพวกช่วยเหลือพวกพ้องในทางที่ผิดมักนำไปสู่ความวิบัติ จุฬาฯ เป็นสถาบันการศึกษา ไม่ใช่สถาบันการเมือง ผู้บริหารต้องไม่ห่วงเก้าอี้ และผู้สนับสนุนมากกว่าความถูกต้องจนไม่กล้าขยับทำในส่ิงที่ควรทำ ควรประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ส่งเก้าอี้ต่อกันให้พรรคพวกกันเองเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงผลงานความสามารถและคุณความดี ที่กล่าวนี้มิได้หมายถึงผู้ใดผู้หนึ่ง แต่หมายรวมอย่างกว้างๆ...... กว้างไปถึงการคัดเลือกนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ด้วย เหมารวมไว้หมดเลยจ๊ะ.....
พฤติกรรมของ ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ และดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ผู้ได้รับรางวัล นักสหกรณ์แห่งชาติ และใส่คำว่าปราชญ์สหกรณ์ ท้ายชื่อตน ในขณะที่มีอำนาจอนุมัติการทำธุรกรรม กลับนำเงินสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ไปเสี่ยงหลายกรรมหลายวาระอย่างไม่ควรกระทำ และดูเหมือนว่าอาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เครือข่ายนายศุภชัย ผู้เป็นเครือข่ายของวัดธรรมกายซึ่งหมอเหวง เคยกล่าวไว้ว่า "วัดธรรมกาย" เป็นฐานกำลังสำคัญของ.......?????? ลองต่อจิ๊กซอว์ดู ก็พอมองเห็นได้ว่า จุฬาฯ ก็อาจไม่พ้นผลประโยชน์อำนาจมืด (มืดเพราะตอนนี้ไม่กล้าออกหน้า แต่ทำตัวเป็นนินจา) ที่คอยชักใยและบ่อนทำลายชื่อเสียงเกียรติภูมิของจุฬาฯ อยู่เนืองๆ จึงอยู่ที่ฝ่ายบริหารจุฬาฯ จะมองเห็นรากเหง้าของปัญหาทำกำลังรุกคืบสู่รั้วจุฬาฯ และจะพยายามแก้ไขหรือไม่
สุดท้าย โฟคัสให้เวลาและความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพวิชาการให้ทันสมัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพนิสิตให้มีความรู้คู่จริยธรรมและคุณธรรม เพราะเหล่านิสิตคือความหวัง คืออนาคตของชาติ และเขาเหล่านั้นเท่านั้น ไม่ใช่ผู้บริหารจุฬาฯ ที่จะเป็นผู้นำพาจุฬาฯ ให้ผ่านพ้นวิกฤติศรัทธาจากสังคมดังที่จุฬาฯ กำลังประสบนี้ไปได้ เพราะเมื่อกล่าวถึงจุฬาฯ ในประเทศไทยนี้มีคนน้อยนิดหยิบมือเดียวที่รู้จักหรือสนใจว่าผู้บริหารจุฬาฯ คือใครมาจากไหน (จนกระทั่งเกิดกรณีเนติวิทย์ จึงเริ่มมีคนสนใจว่าผู้บริหารจุฬาฯ คือใคร) เมื่อกล่าวถึงจุฬาฯ ผู้คนจะถึงนิสิต นิสิตจุฬาฯ ทั้งหมดคือตัวแทนของจุฬาฯ ไม่ได้นึกถึงผู้บริหารจุฬาฯ สังคมมิได้ประเมินผลงานความสำเร็จของฝ่ายบริหารจุฬาฯ ที่จำนวนอาคารใหม่ หรือสวนสาธารณะใหญ่ของจุฬาฯ ใจกลางกทม. แต่ประเมินที่ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพของนิสิตทั้งหลายเป็นสำคัญ... เมื่อเรียนจบแล้วมีงานทำ เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ และเป็นคนดีของสังคม นั้นแหละ....คือเกียรติภูมิของพวกเรา ชาวจุฬาฯ
สำหรับ รศ.ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ และ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา หากพบว่ามีความผิดจริง ดิฉันคิดว่าควรยกเลิกตำแน่งทางวิชาการ (รองศาสตราจารย์) เพราะมีความประพฤติไม่เหมาะสม กระทำผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณของความเป็นครูและของผู้บิรหาร ทั้งนี้อาจเรียกเงินประจำตำแหน่งและเงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งคืนแก่จุฬาฯ และสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างของการมอบตำแหน่งโดยคำนึงถึงแต่คุณสมบัติผลงานทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงความเป็น "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่.....”
วิรังรอง ทัพพะรังสี
Lionne Noire class 30
๑๓ กันยายน ๑๕๖๐
    

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่" วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

วิรังรอง สับแหลก ชำแหละเละ (อดีต)ฝ่ายบริหารจุฬาฯ "ครูผู้สอนที่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี....และผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่"

 

       อย่างไรก็ตรามต้องขอขอบพระคุณ ข้อมูลและรูปภาพ จากทางเฟสบุ๊ก ของคุณวิรังรองด้วย (  วิรังรอง ทัพพะรังสี  )