กฎหมายใหม่..ประตูบานสุดท้าย!! ปิดตาย"ทักษิณ"กลับไทยในชาตินี้!! หลังล้มเหลวหลอกใช้ "เสื้อแดง" เครื่องมือช่วยกลับบ้านไม่สำเร็จ

กฎหมายใหม่..ประตูบานสุดท้าย!! ปิดตาย"ทักษิณ"กลับไทยในชาตินี้!! หลังล้มเหลวหลอกใช้ "เสื้อแดง" เครื่องมือช่วยกลับบ้านไม่สำเร็จ

ปรากฏการณ์ว่าหลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ แม้จำเลยจะหลบหนีคดีอยู่ก็ตาม  ทำให้บรรดานักหารเมืองที่คิดไม่ซื่อ ต่างพากันหนาวๆร้อนๆกันเป็นทิวแถวเพราะการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนี้ถือเป็นการเปิดช่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. ซึ่งกลุ่มบุคคลที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษนั่นก็หนีไม่พ้นบุคคลในระบบทักษิณ. และสำหรับตัวนาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เอง ก็มีคดีติดตัวอยู่หลากหลายคดีเช่น ซึ่งต้องนี้ก็เรียกได้ว่าหมดหนทางลุ้นคดีของตนเองแทน 

แรงกระเพื่อมเริ่มก่อตัวทันทีหลังนายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุดคนใหม่ ได้ตอบคำถามกับสิ่งมวลชนถึงแนวความคิดรื้อฟื้นคดีของนายทักษิณกลับมาพิจารณาลับหลังจำเลยที่หนีคดีหลังพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฉบับใหม่มีผลบังคับใช้

ล่าสุดเป็นทางด้านของพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ป.ป.ช. มีมติ สั่งรื้อ 3 คดีกล่าวหาทุจริต ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจำหน่ายคดีชั่วคราว เมื่อปี 2551ซึ่ง2ใน3คดีดังกล่าว เป็นผลงานของนายทักษิณ ชินวัตร คดีแรกคือการให้เอ็กซิมแบงก์อนุมัติปล่อยกู้รัฐบาลเมียนมา วงเงิน 4,000 ล้านบาท ในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของเมียนมา เพื่อหวังประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียมที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ จากบริษัท ชินแซทเทอร์ไลท์ บริษัทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และคดีออกสลากหวยบนดินโดยมิชอบ


โดยพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 27 ระบุว่า ในการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ให้อัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามาศาลในวันฟ้องคดี ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลและอัยการสูงสุดหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้เคยมีการออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหาแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวมา หรือเหตุที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาศาลเกิดจากการประวิงคดี หรือไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุแก้ตัวอันควร ให้ศาลประทับรับฟ้องไว้พิจารณาได้ แม้จะไม่ปรากฏผู้ถูกกล่าวหาต่อหน้าศาล

มาตรา 28 ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้ตามมาตรา 27 และศาลได้ส่งหมายเรียกและสําเนาฟ้องให้จําเลยทราบโดยชอบแล้วแต่จําเลยไม่มาศาล ให้ศาลออกหมายจับจําเลยและให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตามหรือจับกุมจําเลยรายงานผลการติดตามจับกุมเป็นระยะตามที่ศาลกําหนด

ในกรณีที่ได้ออกหมายจับจําเลยและได้มีการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถจับจําเลยได้ภายในสามเดือนนับแต่ออกหมายจับ ให้ศาลมีอํานาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทําต่อหน้าจําเลยแต่ไม่ตัดสิทธิจําเลยที่จะตั้งทนายความมาดําเนินการแทนตนได้

บทบัญญัติมาตรานี้ไม่เป็นการตัดสิทธิจําเลยที่จะมาศาลเพื่อต่อสู้คดีในเวลาใดก่อนที่ศาลจะมีคําพิพากษา แต่การมาศาลดังกล่าวไม่มีผลให้การไต่สวนและการดําเนินกระบวนพิจารณาที่ได้ทําไปแล้วต้องเสียไป

ส่วนมาตรา 69 ระบุว่า บทบัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นี้ไม่กระทบต่อการดําเนินการใด ในคดีที่ยื่นฟ้องไว้และได้ดําเนินการไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ส่วนการดําเนินการต่อไปให้ดําเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ถึงวันนี้ ประตูกลับเมืองไทยสำหรับนายทักษิณ ได้ปิดตายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายทักษิณ ถึงตอนนี้สถานะที่แท้จริง ก็คือ “นักโทษหนีคดี” และคงต้องหนีไปตลอดชีวิต  หากจะกลับประเทศไทย ก็มีทางเดียวก็การมารับโทษ ติดคุก2 ปี ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดา ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำตัดสินไปแล้ว เมื่อวันที่21ตค.2551 เพราะเหตุนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นายทักษิณได้ออกมาเคลื่อนไหวทุกวิถีทาง และเรียกร้องให้คนเสื้อแดงออกสนับสนุนให้บรรลุภารกิจ เจตนารมณ์ที่ตั้งไว้คือพาตัวเองกลับประเทศ โดยปราศจากมนทิน ไร้ซึ่งความผิดใดๆทั้งปวง

ซึ่งถ้าหากว่าพี่น้องคนเสื้อแดงได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างใคร่ครวญก็จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าตาสว่างกันเสียทีว่านายทักษิณมักจะหาเหตุผลมาชักจูงคนเสื้อแดงเพื่อช่วยให้ตัวเองกลับบ้านเท่านั้น เหมือนกับที่ครั้งหนึ่ง ที่นายทักษิณคิดว่าตัวเองจะได้รับการนิรโทษกรรมแล้ว ก็ผละทิ้งคนเสื้อแดงหน้าตาเฉย ยกตัวอย่าง

10 เม.ย.2554 นายทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า "พี่น้องวีรชนของเราต้องไม่ตายฟรี ต้องไม่บาดเจ็บฟรี ผมจะทำหน้าที่ในการเยียวยาบุคคลเหล่านั้น วันนี้ต้องขอขอบคุณน้ำใจ ของพี่น้อง ขอรับทราบ จดจำ และหวังว่าวันหนึ่งคงมีโอกาสได้รับใช้ตอบแทนบุญคุณในด้านต่างๆที่พึงกระทำได้ ไม่ช้าแล้วที่ความเป็นธรรมและประชาธิปไตยจะกลับมาหาเรา และไม่ช้าที่ประชาชนจะมีอำนาจตัดสินใจและผมหวังว่าเลือกตั้งคราวนี้จะเป็นการตัดสินใจของประชาชนที่เด็ดขาดชัดเจน และคงจะกลับมาเจอกันเร็วๆนี้ที่ประเทศไทย นะครับ"

หากแต่เมื่อถึงเวลา การกระทำต่างหากที่จะพิสูจน์ว่าลมปากอันหอมหวานของนายทักษิณว่าจริงใจหรือไม่ อย่างที่ปรากฏเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2554 นายทักษิณให้สัมภาษณ์วอลสตรีทเจอร์นัล ว่าจะนิรโทษกรรมทุกคดีทางการเมือง ตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งย่อมหมายถึงทุกการกระทำผิดในเหตุการณ์นองเลือดเมื่อปี 2553 อันเป็นผลให้ทหารและประชาชนบาดเจ็บ ล้มตายเป็นจำนวนมากเป็นโมฆะ ไม่ต้องมีใครผิด ใครถูก ให้จบจบกันไป รวมไปถึงคดีของนายทักษิณ แล้วคนเสื้อแดงจะไม่ตายฟรีได้อย่างไร

30 เมษายน 2556 นายทักษิณได้สไกป์เข้ามาในการประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทย โดยได้ประกาศเอาไว้อย่างชัดเจนว่าให้ส.ส.ในพรรคผลักดันร่างพรบ.ปรองดองดอง เพื่อให้ตนเองเดินทางกลับประเทศ
 

โดยนายทักษิณได้พูดขอบคุณกับร.ต.อ.เฉลิม และบอกว่าจะทำอะไรควรทำอะไรให้มันสุดซอย ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับของนายวรชัย เหมะ เหมือนเดินไปครึ่งๆกลางๆ มันไม่สุดซอย เมื่อจะทำแล้วก็ทำให้มันสุดซอย แต่ถ้าจะให้เร่งเอาเข้าสมัยประชุมวิสามัญ 3 วาระรวด ไม่เห็นด้วย จะถูกฝ่ายค้านโจมตีอีก ขณะนี้ยังไม่มีการชี้แจงเหตุผลรายละเอียดทั้งหมด อยากให้เอาเข้าสมัยประชุมหน้า
 

"ให้นึกถึงผมบ้าง ยังลอยคอในทะเล อย่าให้ลอยคอนาน มันหนาว จะเป็นปอดบวมตายอยู่แล้ว อยากกลับบ้าน"

และที่ร้ายกาจที่สุด คือการ "นิรโทษกรรมสุดซอย"...คำนี้กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองส่งท้ายปี 2556 เมื่อ นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ...  ได้เสนอแปรญัตติเนื้อหาร่าง พ.ร.บ. ในมาตรา 3 จากเดิมที่ระบุว่า "ให้การกระทำที่สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 เข้าข่ายนิรโทษกรรม" กลายเป็น....  

            "ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมุนมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำทำตามวรรคหนึ่ง ไม่ร่วมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112" และแน่นอนว่าผู้อนิสงฆ์ เป็นอับดับหนึ่ง ก็คือ “ทักษิณ ชินวัตร”


ทั้งหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของนายทักษิณว่าการต่อสู้ทั้งหมดก็เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเดินทางกลับประเทศ โดยมีคนเสื้อแดงเป็นเครื่องมือสำคัญ

แต่อย่างไรก็ตาม กฏหมายใหม่ที่ออกมา นั้นไม่ได้เป็นประเด็นเฉพาะครอบครัวชินวัตร และ นาย ทักษิณ ชินวัตร จะรอลุ้นเท่านั้น แต่สังคมก็กำลังเฝ้าจับตามองแบบไม่วางตาเช่นกันว่า คดีทั้งหมดที่กล่าวมาศาลจะมีคำตัดสินออกมาเช่นใด และจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวใดจากนาย ทักษิณ ชินวัตร ตามมาหรือไม่ และที่สำคัญจากการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครั้งนี้คงไม่แค่เฉพาะตัวนาย ทักษิณเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังหมายรวมถึงนักการเมืองที่มีคดีอยู่ในศาล เช่น นาย วัฒนา อัศวเหม  นาย ประชา มาลีนนท์ ให้ต้องคิดหนัก ว่า หากคิดจะหนีคดี หนีคำตัดสินของศาลแล้วล่ะก็ต้องหนีคดีไปตลอดชีวิต หรือหนีไปจนตายเช่นเดียวกัน