ยื้อให้ถึงเฮือกสุดท้าย!! จับตา"ยิ่งลักษณ์"จ่องัดไม้ไหนเตะถ่วง!ต่อลมหายใจ"คดีจำนำข้าว" !??

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง www.tnews.co.th

คดีความยิ่งลักษณ์ที่เป็นหนึ่งในสิ่งที่น่าจับตาทางการเมืองปีหน้า ก็เพราะมันจะมีผลในทางการเมืองไม่ใช่น้อย ยิ่งกับความเคลื่อนไหวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ทำหนังสือ ขอเพิ่มให้ถ้อยคำจำนวนพยาน 18 ปาก เพื่อเป็นพยานในโครง การรับจำนำข้าว


รายงาน ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขอเพิ่มพยานเข้าให้ถ้อยคำ โดยระบุว่า ด้วยขบวนการสอบสวนที่ถูกต้องและการขอระบุพยานเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติของผู้รับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 ข้อ 14 และข้อ 15 จึงเรียนประธานกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด พิจารณา


โดยขอเพิ่มให้ถ้อยคำจำนวนพยาน 18 ปาก เช่น นายชัยเกษม นิติสิริ อดีต รมว.ยุติธรรม, นายสุรชัย ศรีสารคาม อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายชัยโรจน์ มีแดง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก


และหลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอเพิ่มพยานฝั่งของรัฐบาล ถึงกับออกมาระบุว่า รัฐ บาลรู้สึกอ่อนระอาใจกับพฤติกรรมเตะถ่วงเวลาการพิจารณาคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์


พล.ต.สรร เสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ขอยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมเป็นรอบที่ 4 จำนวน 18 ปาก ในการดำเนินคดีความรับผิดทางละเมิดโครงการรับจำนำข้าว ในส่วนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จ จริงและกำหนดค่าความเสียหายจากโครง การรับจำนำข้าว กระทรวงการคลัง ว่า รัฐ บาลรู้สึกอ่อนระอาใจกับพฤติกรรมเตะถ่วงเวลาการพิจารณาคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะที่ผ่านมาเมื่อการสอบปากคำพยานใกล้จบ ก็จะขอเพิ่มบัญชีพยานมาอีกถึง 3 ครั้งรวมหลายสิบปาก และหลายปากก็ไม่ค่อยให้


ความร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กว่าจะประสานติดตามมาให้ข้อมูลได้ก็ใช้เวลายาวนานกว่าที่ควรจะเป็น


รัฐบาลได้อนุมัติขยายเวลาพิจารณาไป 3 รอบแล้ว และสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 ซึ่งถือว่าให้โอกาสอย่างมากที่สุดแล้ว ดังนั้น การขอยื่นบัญชีพยานเพิ่ม เป็นรอบที่ 4 อีก 18 ปาก และบางท่านแทบจะมองไม่ออกว่าเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร เช่น อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมองเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากมีเจตนาให้การพิจารณาคดียื้อเยื้อ และไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าพฤติ กรรมเพิ่มจำนวนพยานจะสิ้นสุดลงเมื่อใด


รัฐบาลยึดมั่นในหลักการของกระบวนการยุติธรรม ที่เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ชี้แจงแก้ต่างอย่างเต็มที่ และไม่เคยขัดข้องหากการเพิ่มจำนวนพยานจะช่วยให้มีข้อมูลที่มีนัยสำคัญ หรือข้อมูลใหม่ต่อการพิจารณาคดี


แต่หากเป็นความจงใจกระทำเพียงเพื่อซื้อเวลาและ ทำให้คดียื้อเยื้อ ก็เป็นสิ่งที่ไม่บังควร เพราะประชาชนรอฟังคำตอบของคดีนี้มายาวนาน และทุกคดีมีอายุความที่ต้องดำเนินการ หากไม่ตั้งอยู่บนเงื่อนเวลาของกฎ หมาย รัฐและประเทศชาติก็จะเสียหาย


คณะกรรมการสอบข้อเท็จ จริงฯ จะเป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้นว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ดำเนินการ ติดตามตรวจสอบมาแล้วมีความครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด มีความ สมเหตุสมผลหรือเห็นควรอนุญาตให้เพิ่มบัญชีพยานหรือไม่ แล้วจะเสนอความเห็นมายังรัฐบาลอีกครั้งว่าเห็นควรรับคำร้องขอเพิ่มบัญชีพยานหรือไม่  เพราะเหตุใด

ขณะที่ ฝากฝั่งของพรรคเพื่อไทย ก็ออกมาหลังจากที่พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลรู้สึกระอาใจกับการขอเพิ่มพยานจำนวน 18 ปากของน.ส.ยิ่งลักษณ์


นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวตอบโต้ พล.ต.สรรเสริญว่า การที่โฆษกรัฐบาลออกมาให้ข่าวเช่น นี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจของรัฐบาล และการทำหน้าที่ของโฆษกรัฐบาลในการอำนวยความยุติธรรม ความจริงผลงาน รัฐบาลก็แถลงไปแล้ว จึงไม่มีอะไร ที่ต้องรีบเร่งอีก ในการทำหน้าที่ ของโฆษกรัฐบาลท่านยังไม่เข้าใจ หลายเรื่อง

1.การอำนวย ความยุติธรรม ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับ แม้แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ได้รับ รองและคุ้มครองไว้

2.เรื่องดำเนินคดีความรับผิดทางละเมิดโครงการรับจำนำข้าว อดีตนายกฯ ได้เคยเรียกร้องต่อรัฐบาลแล้ว หากเกิดความเสีย หายก็ให้ไปดำเนินการฟ้องร้องที่ ศาล ซึ่งถือว่าเป็นคนกลางให้เป็น ผู้พิจารณา ไม่ใช่รัฐบาลที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียมาดำเนินการสอบ สวนและตัดสินเอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลเลือกที่จะสอบ สวนและตัดสินเอง รัฐบาลก็ไม่ ควรมาพูดว่าระอาใจในการอำนวยความยุติธรรม

3.พยานที่เพิ่มจำนวน 18 ปาก ล้วนแต่เป็นพยานที่ศาลท่านได้รับไว้เป็นพยานเกือบทั้งสิ้น การที่โฆษกรัฐบาลกล่าวว่าพยานบางท่านมองแทบไม่ออกว่าเกี่ยวข้องอย่างไร จึงเป็นการมโนเองทั้งสิ้น อันเป็นการขัดต่อหลักการรับฟังข้อเท็จจริงอย่างยิ่ง

4.การที่โฆษกรัฐบาลออก มากล่าวเช่นนี้ อาจจะถูกมองว่ารัฐบาลกำลังเร่งรีบไปหรือไม่ ทั้งที่มีพยานอีกหลายปากที่เกี่ยว ข้องและเกี่ยวเนื่องกับโครงการรับจำนำข้าว ก็ยังไม่ได้สอบสวน

5.รัฐบาลเร่งรีบจะปิดสำนวน การสอบสวนไปหรือไม่ ทั้งที่คดี หมดอายุความในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 แต่หากการเร่งรีบปิดสำนวนเป็นเพียงเพราะต้องการสำนวนคดีแพ่งไปประกอบการเบิกความเป็นพยานของประธานการสอบสวนฯ ที่จะไปเบิกความในคดีอาญาในวันที่ 15 มกราคม 2559 นี้แล้ว หากเป็นเช่นนั้นจริงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังละเลยการอำนวยความยุติธรรมหรือไม่


ที่ผ่านมานางสาวยิ่งลักษณ์ได้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนด้วยดีมาตลอด และพยานที่อ้างเป็นพยานทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและรู้เห็นในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวทั้งสิ้น ขอฝากถึงโฆษกรัฐบาล ในปีใหม่นี้ให้ท่านไปนั่งสวดมนต์ข้ามปีกับเขาบ้าง จะได้เป็นบุญกุศลต่อท่านบ้าง


หากดูจากนัดหมายการไต่สวนคดียิ่งลักษณ์ของศาลฎีกาฯ ที่กำหนดไว้ว่า ให้วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 เป็นวันไต่สวนพยานจำเลยวันสุดท้ายในคดีดังกล่าว ก็มีการคาดการณ์กันไปล่วงหน้า ก็มีโอกาสที่อาจจะรู้ผลคดีนี้ในช่วงต้นปี 2560 หรือก่อนการเลือกตั้งก็เป็นไปได้หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ


สำหรับคดีฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อศาลฎีกาฯ ทางองค์คณะพิจารณาคดียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อนุญาตให้โจทก์ (อัยการ) นำพยานเข้าไต่สวน 14 ปาก จากที่ยื่นขอทั้งหมด 17 ปาก กำหนดไต่สวน 5 นัด ในปี 2559  คือ 15 มกราคม , 17 กุมภาพันธ์ ,26 กุมภาพันธ์ , 4 มีนาคม , 23 มีนาคม


นอกจากนี้ศาลได้อนุญาตให้จำเลย ก็คือนางสาวยิ่งลักษณ์ นำพยานเข้าไต่สวน 42 ปาก จากที่ยื่นขอทั้งหมด 43 ปาก กำหนดไต่สวน 16 นัด ในปี 2559 ประกอบด้วย
วันที่ 1 เมษายน , 22 เมษายน , 13 พฤษภาคม , 18 พฤษภาคม , 17มิถุนายน , 24 มิถุนายน , 8 กรกฎาคม , 22 กรกฎาคม , 5 สิงหาคม , 19 สิงหาคม , 9 กันยายน 23 กันยายน , 7 ตุลาคม , 21 ตุลาคม , 4 พฤศจิกายน ,18  พฤศจิกายน ครั้งหนึ่ง ในการกล่าวปิดงานแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 1 ปี นายกรัฐมนตรี ได้ระบุ เกี่ยวกับโครงการรับจำจำข้าว ว่า คดีทั้งหมดจะไม่มีการผ่อนผัน

25 ธันวาคม 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวปิดงานแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 1 ปี โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งเกี่ยวกับการดำเนินคดี โครงการรับจำนำข้าวว่า คดีทั้งหมดจะไม่มีการผ่อนผัน ไม่ยืดเวลาเพื่อขอพยานเพิ่มเติม เพราะพยานเพียงคนเดียว เรียกไม่มา แล้วขอใหม่อีกจะได้หรือไม่ การจะปรองดองต้องแสดงความจริงใจ ยืนยันจะเอาเข้ากระบวนการ ไม่ใช่จะยกโทษให้ใคร ต้องเข้ากระบวนการดำเนินคดี และมาดูกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป รัฐบาลชุดหน้าต้องรับผิดชอบ ตนทำให้เข้าระบบ อย่าพูดว่า มีการดีล จะดีลอะไรถ้ามีการ ดีลตนไม่มายืนตรงนี้


"คดีจำนำข้าว ต่อไปนี้ขายข้าวได้เท่าไร ได้เท่านั้น เรื่องอะไรที่ผมต้องไปรับผิดชอบขายข้าวให้ได้ราคา ใครทำไว้ ถ้าผมเอาข้าวมาขายมาก ๆ วงจรข้าวจะเสียอีก ดังนั้นไม่ต้องกังวล เอาข้าวเสียหายให้หมด ผมให้อำนาจขายถ้าไม่ขายท่านต้องรับผิดชอบแล้วไปใช้หนี้แทนเขา เสียเวลาเสียสมองมาสองปีแล้ว ดังนั้นข้าวดีเก็บไว้ ข้าวไม่ดีขายไป ถ้าขายได้น้อยก็เป็นความรับผิดชอบของเขา เพราะเป็นคนทำ ถ้าเสียเพิ่มก็ประเมินความเสียหายบวกค่าเสียหายเข้าไปอีก"


ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการฟ้องร้องคดีระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชนทั้งที่เป็นโจทก์และจำเลย จำนวน 12 คดี ว่าหลังจากได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) คดีบางส่วนอยู่ในชั้นอัยการ ศาล และอนุญาโตตุลาการ อย่างเช่น คดีจำนำข้าว ในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว ชุดที่มีนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งได้ขยายเวลาไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม ส่วนจะขยายเวลาเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ


ในช่วงที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็พยามที่จะขอเดินทางออกไปต่างประเทศซึ่งจะเป็นการหลบหนีคดีหรือไม่ ซึ่งการกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นว่าปี 2559 ซึ่ง กระบวนการไตสวนรับจำนำข้าวเดินหน้าอย่างอย่าจริงจังและเข้มขันขึ้นและจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองระอุขึ้นมา


เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 58 ศาลฎีกาฯได้พิจารณาคำร้องของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่ส่งทีมทนายความยื่นคำร้องขอเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 15-25 ธ.ค. เพื่อ จะพาเด็กชายศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปก์ บุตรชาย ไปทัศนศึกษาช่วงปิดภาคเรียน เห็นว่ายังไม่มีเหตุอันควร จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง และจะติดประกาศคำสั่งคำร้องดังกล่าวที่ศาลฎีกาฯในเวลาต่อไป


ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เคยส่งทนายความยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขอเดินทางออกนอกประเทศ อ้างเหตุตามหนังสือเชิญจากสมาชิกรัฐสภายุโรป (อียู) เพื่อไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม หรือเมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส โดยศาลฎีกาฯได้ยกคำร้องเนื่องจากยังไม่มีเหตุอันควรเช่นเดียวกับครั้งนี้