ย้อน!!!ตรวจสอบเฟซบุ๊คของเบนาร์ นิวส์ เบื้องหลังมีสหรัฐเกี่ยวใช่หรือไม่??

รายงานข่าวเป็นภาษาต่างๆ รวม 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาเบงกาลี ภาษามาเลเซีย ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ

ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้เข้าไปตรวจสอบในเฟซบุ๊คของเบนาร์ นิวส์ ภาษาไทยพบว่า ในเฟซบุ๊คดังกล่าวได้ออกมายอมรับเองว่าเป็นองค์กรที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสภาคองเกรส เบนาร์นิวส์ รายงานข่าวเป็นภาษาต่างๆ รวม 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาเบงกาลี ภาษามาเลเซีย ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ ผู้สื่อข่าวและเครือข่ายผู้สื่อข่าวท้องถิ่นของเบนาร์นิวส์ อุทิศตนในการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้อ่านด้วยความมีจรรยาบรรณ

เบนาร์นิวส์ ได้รับเงินสนับสนุนในการดำเนินงานประจำปีจากสภาคองเกรส นอกจากนั้นในโลกออนไลน์ยังมีการให้ข้อมูลที่สอดคล้องอีกเช่นเดียวกัน ความจริงแล้ว เบนาร์ นิวส์ BENAR NEWS ไม่ใช่สื่อมาเลย์ เป็นของสหรัฐอาเมริกา สำนักงานใหญ่อยู่ที่วอชิงตันครับ อย่าสับสนกับสำนักข่าวแห่งชาติมาเลย์เซีย หรือ BERNAMA : Berita National Malaysia ทั้งนี้ในเวปไซต์เฟซบุ๊คของเบนาร์นิวส์ ยังบรรยายภารกิจขององค์กรเอาไว้อย่างสวยหรูดังต่อไปนี้ เบนาร์นิวส์ มีภารกิจในการเสนอข่าวสารและสิ่งที่มีสาระ ที่เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์โลกที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยความถูกต้องเที่ยงตรงและทันเวลา ไปยังผู้อ่านที่มีความหลากหลายด้วยภาษาต่างๆ ถึง 5 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาไทย ภาษาเบงกาลี ภาษามาเลเซีย ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ ไม่ว่าในการทำรายงานข่าวในเรื่องราวที่เป็นที่ขัดแย้ง ถกเถียงกัน หรือมีข้อจำกัดมากมายเพียงใดก็ตาม ผู้สื่อข่าวภาคสนามจะพยายามค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวและเหตุการณ์สำคัญๆ เหล่านั้น มารายงานให้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เสรีภาพทางศาสนา เศรษฐกิจ ความขัดแย้ง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้อ่านของเรา

เรามีความเชื่อมั่นในเสรีภาพในการนำเสนอข่าวที่มีความถูกต้อง เป็นธรรม และไม่มีอคติ ที่จะช่วยทลายกำแพงขวางกั้นระหว่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์โลกที่มีสันติภาพ มีความอดทนอดกลั้นต่อกัน และมีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป สิ่งที่กล่าวมาคือแรงบันดาลใจ และเครื่องนำทางในการนำเสนอรายงานข่าวของเรา
เบนาร์นิวส์ จักยึดมั่นในจรรยาบรรณของสื่อมวลชน เป็นสื่อใหม่ที่จะรายงานข่าวที่เป็นประเด็นสำคัญให้ท่านทราบ เบนาร์นิวส์ คือ เสียงที่คุณไว้ใจได้ เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับที่มาที่ไปขององค์กรดังกล่าวก็เป็นที่ชัดเจนว่า เป็นองค์กรที่มีนัยยะแอบแฝงทางการเมือง และที่สำคัญยังได้รับเงินสนับสนุนจากสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในการดำเนินกิจการ เพราะฉะนั้นการกล่าวอ้าง บทสัมฯภาษณ์ของขบวนการอาร์เคเค จึงจะต้องถูกตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือและมีวัตถุประสงค์แอปแฝงหรือไม่ รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (ภาษาอังกฤษ: United States Congress) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (United States Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (United States House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจในการอำนาจการปลดประธานาธิบดี (Impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาคดีการปลด คำว่า “คองเกรส” หมายถึงการประชุมนิติบัญญัติแต่ละสมัยของสภาผู้แทนราษฎร ฉะนั้นแต่ละ “คองเกรส” จึงเป็นเวลาสองปี ปัจจุบันเป็นคองเกรสสมัยที่ 112 (112th Congress) ซึ่งเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2011