น้ำในหูไม่เท่ากัน !?!? ออกหมายจับ "ยิ่งลักษณ์" ดูข้อกฏหมายชัดๆ ต่อแต่นี้ โดน!

วันที่ 25 ส.ค. 2560 วันชี้ชะตาตัดสินคดีจำนำข้าวของนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีประชาชนเดินทางมาให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างหนาตา ในขณะเดียวก็ยังคงมีประชาชนทยอยเดินทางมากันเรื่อยๆ โดยบางคนใส่เสื่อ ถุงมือ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ และนำดอกไม้มา และบางส่วนตะโกนบอกสู้ๆ อีกด้วย

น้ำในหูไม่เท่ากัน !?!? ออกหมายจับ "ยิ่งลักษณ์" ดูข้อกฏหมายชัดๆ ต่อแต่นี้ โดน!

น้ำในหูไม่เท่ากัน !?!? ออกหมายจับ "ยิ่งลักษณ์" ดูข้อกฏหมายชัดๆ ต่อแต่นี้ โดน!

น้ำในหูไม่เท่ากัน !?!? ออกหมายจับ "ยิ่งลักษณ์" ดูข้อกฏหมายชัดๆ ต่อแต่นี้ โดน!

น้ำในหูไม่เท่ากัน !?!? ออกหมายจับ "ยิ่งลักษณ์" ดูข้อกฏหมายชัดๆ ต่อแต่นี้ โดน!

แต่ทว่าท้ายที่สุดแล้วนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เดินทางมารับฟังการคำพิพากษา อ้างว่าน้ำในหูไม่เท่ากัน ล่าสุดศาลออกหมายจับแล้ว พร้อมยึดหลักทรัพย์ประกันตัว 30 ล้านบาท และนัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้ง 27 กันยายน 2560 ในเวลา 09:00 น. หากนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่เดินทางมา ศาลอาจจะมีการพิจารณาพิพากษาลับหลังจำเลยได้

ซึ่งนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเปิดเผยภายหลังจากรับทราบว่านางสาว ยิ่งลักษณ์ ถูกศาลออกหมายจับเนื่องจากไม่เดินทางมาศาลเพื่อรับฟังคำพิพากษาวันนี้ว่า ตัวเองก็เพิ่งได้รับทราบว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเมื่อเวลาประมาณ 8.00 น. ของเช้าวันนี้ โดยเป็นการติดต่อผ่านตัวแทนของนางสาว ยิ่งลักษณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ไม่ทราบมาก่อนว่า นางสาว ยิ่งลักษณ์ มีอาการป่วยเพราะช่วง 2-3 วัน ที่ผ่านมา จะติดต่อนางสาว ยิ่งลักษณ์ ผ่านทางตัวแทนเท่านั้น ทั้งนี้ สาเหตุที่ไม่ได้มีการนำใบรับรองแพทย์มายืนยันต่อศาลนั้น เนื่องจากเป็นเหตุฉุกเฉินและเพิ่งได้รับทราบ

อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถยืนยันได้ว่านางสาวยิ่งลักษณ์อยู่ที่ไหน ในประเทศหรือต่างประเทศ ส่วนการที่ศาลออกหมายจับแล้วหากนางสาว ยิ่งลักษณ์ เดินทางมาพบศาลก่อนวันที่ 27 กันยายน นี้ ซึ่งเป็นวันที่ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีจำนำข้าวจะทำให้ศาลเพิกถอนหมายจับหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล

น้ำในหูไม่เท่ากัน !?!? ออกหมายจับ "ยิ่งลักษณ์" ดูข้อกฏหมายชัดๆ ต่อแต่นี้ โดน!

โดยข้อกฏหมายขั้นตอนการอุทธรณ์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ และนายบุญทรงนั้น ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์ข้อความข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว Thanakrit Vorathanatchakul อธิบายขั้นตอนทางกฎหมายเกี่ยวกับการอ่านคำพิพากษาในคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย และโครงการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ในวันพรุ่งนี้ (25 ส.ค.60) ระบุข้อความดังนี้ 

"มีข้อกฎหมายเล็กน้อยมาเล่าสู่กันฟังในเรื่องการตัดสินคดีระบายข้าวและคดีจำนำข้าวในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 20 บัญญัติให้การทำคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดหรือการพิพากษาคดี ให้ผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษาทุกคนทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก โดยองค์คณะผู้พิพากษาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้จัดทำคำสั่งหรือคำพิพากษาตามมตินั้นก็ได้ และคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือคำพิพากษาของศาล ให้เปิดเผยโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนความเห็นในการวินิจฉัยคดีของผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษาทุกคนให้เปิดเผยตามวิธีการที่ประธานศาลฎีกากำหนด

และตามมาตรา 20 บัญญัติให้ความเห็นในการวินิจฉัยคดีอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ชื่อคู่ความทุกฝ่าย เรื่องที่ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหาและคำให้การ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย บทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง คำวินิจฉัยคดี รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ถ้ามี

ในเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษานั้น ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 195 วรรค 4 บัญญัติให้สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา และตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 195 วรรค 7 บัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์คดีมีอยู่ตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ตามที่ผมเคยให้ความเห็นผ่านทางสื่อต่างๆ ไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด ซึ่งขณะนี้ ถูกยกเลิกไปแล้วโดยผลของรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 195 วรรค 7 ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ใหม่ตามที่รัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ก็ยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ยังไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย

ทำให้การยื่นอุทธรณ์ในระหว่างที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ยังไม่มีผลบังคับใช้ขาดความชัดเจนในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หากฝ่ายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีต้องมาแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 60 ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ บัญญัติไว้ ด้วยหรือไม่ ซึ่งตามมาตรา 60 บัญญัติว่า กรณีที่จำเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์ จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้นให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และศาลจะสั่งรับอุทธรณ์อย่างไร ในเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ ยังไม่มีผลบังคับใช้

นอกจากนี้ การคัดเลือกองค์คณะของศาลฎีกาจำนวน 9 คน โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่จะมาพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 62 บัญญัติให้ การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาดำเนินการโดย องค์คณะของศาลฎีกาซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวนเก้าคน ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก จากผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาหรือ ผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณา คดีนั้นมาก่อน ก็น่าจะยังไม่สามารถดำเนินการได้ในระหว่างที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ฯยังไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย

ซึ่งปัญหาข้อกฎหมายเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ดังที่กล่าวไป นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคดีระบายข้าว คดีจำนำข้าวเท่านั้น แต่ยังเกิดในการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรด้วยเช่นกัน

หากมีการประกาศให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ทันเวลาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ก็จะทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์มีความชัดเจน และการยื่นอุทธรณ์และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องก็จะมีกฎหมายรองรับชัดเจนด้วย ที่เขียนมานี้ถือว่าเล่าสู่กันฟังเป็นข้อกฎหมายเล็กๆน้อยๆ ก็คงต้องรอดูกันต่อไปครับ

ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด