อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน หรือ Ground water bank เพื่อการบริหารจัดการน้ำไว้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ต่อสู้กับปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน โดยเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยนิเทศศาสน  ร่วมดำเนินการกับกรมทหารราบที่ 6 นำร่องพัฒนาขุดบ่อพักน้ำป่าจากลำห้วยต่างๆของเทือกเขาพรมดงรักในช่วงฤดูฝน เพื่อให้น้ำซึมลงสู่ชั้นหิน รวมน้ำไว้เสมือนธนาคารน้ำใต้ดิน ลดผลกระทบจากน้ำท่วมขังในพื้นที่ พร้อมทั้งดำเนินการขุดเจาะน้ำบาดาลในพื้นรัศมี 8 ตารางกิโลเมตร ให้เกษตรกรไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ จนทำให้เกษตรกรนอกเขตชลประทานนับร้อยไร่มีน้ำใช้ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี เช่น ทำไร่มันสำปะหลัง สวนยางพารา รวมถึงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 1 ปีเศษ ก็สามารถสร้างระบบธนาคารน้ำใต้ดินในชื่อที่ว่า เก่าขามโมเดล พร้อมกับขยายพื้นที่ขุดบ่อกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันมีบ่อทั้งหมด 11 บ่อ คาดว่า จะมีน้ำใต้ดินกักเก็บอยู่ถึง 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เชื่อว่าในอนาคตจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถต่อสู้กับปัญหาอุทกภัยและปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

ธนาคารน้ำ คือแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จากการดูดซึมของหินใต้พื้นผิวดินที่มีน้ำหรือการส่งต่อน้ำบาดาลผ่านบ่อซึม โดยในกระบวนการกักเก็บน้ำมีอยู่ 2 วิธีการคือ การเติมน้ำลงในแอ่งน้ำ (Basin) โดยตรง กับการใช้การแทนที่เพื่อเติมน้ำลงในแอ่งน้ำ ซึ่งจากทั้ง 2 วิธี จะทำให้ได้น้ำบาดาลที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ภายหลัง  การทำธนาคารน้ำ ใช้หลักตลาดเสรี (free market) ทางเศรษฐศาสตร์เป็นกรอบแนวคิด น้ำถูกมองเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง และนับว่าเป็นสินค้าหายาก ราคาของน้ำถูกกำหนดจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ สถานที่ที่ต้องการใช้น้ำ ระยะเวลาในการใช้น้ำ และปริมาณน้ำที่ต้องการ 'ธนาคารน้ำช่วยให้ชาวบ้านกลับมาทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง จากแหล่งน้ำที่เคยใช้ได้เพียง 6 เดือน ธนาคารน้ำทำให้ใช้น้ำได้นานขึ้นเป็น 8-9 เดือน หรือบางแห่งสามารถใช้น้ำได้ตลอดปี'  

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

ด้านนายชาตรี๊ ศรีวิชาฐา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อ.น้ำยืน กล่าวว่าได้นำทีมงานธนาคารน้ำใต้ดินตำบลเก่าขาม ลงตรวจพื้นที่กลุ่มเกษตรกรปลูกพืชปลอดสารพิษต้นแบบธนาคารน้ำใต้ดิน ลำห้วยแก้ว บ้านเก่าขาม หมู่ที่1 ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือว่าประสพผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถเป็นต้นแบบให้กลุ่มเกษตรกรได้มาศึกษาเรียนรู้ นำกลับไปใช้ในท้องถิ่นได้

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่!? ธนาคารน้ำใต้ดิน ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งและมีใช้ได้ตลอดทั้งปี

ข่าว/ภาพ จิรวัฒน์ บุญจอง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดอุบลราชธานี