เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th

     เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เป็นเครื่องทรง 5 อย่างของพระมหากษัตริย์ไทย เครื่องทรงเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า “พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นๆ ได้ผ่านพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพ่ออยู่หัว” ตรงตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งกรุงเก่าทุกประการ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเครื่องเบญจราชฯ นี้ เพียงแค่ครั้งเดียว นั่นก็คือวันที่พระองค์เข้าพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพ่ออยู่หัว และจะไม่ทรงเครื่องเบญจราชฯ อีกเลยตลอดรัชกาล เพราะเครื่องเบญจราชฯ เป็นเครื่องทรงที่สงวนไว้สำหรับพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น! ดังนั้นหลังจากพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว เจ้าพนักงานจะอัญเชิญเครื่องเบญจราชฯ ทอดถวายไว้ที่ข้างๆ พระราชบัลลังก์แทน

      เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย
 

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

 

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ
2. พระแสงขรรค์ชัยศรี
3. ธารพระกร
4. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี)
5. ฉลองพระบาทเชิงงอน
 

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

    เป็นเครื่องทรงในพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน ประวัติ พระมหาพิชัยมงกุฎเครื่องประดับพระเศียรองค์แรก สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ในปีพุทธศักราช 2325 ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ ประดับเพชร เฉพาะองค์พระมหามงกุฎ ไม่รวมพระกรรเจียกจอน สูง 51 ซ.ม. ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง 66 ซ.ม. มีน้ำหนักถึง 7.3 กิโลกรัม ที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หามาจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย มาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ พระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า "พระมหาวิเชียรมณี"

 

2. พระแสงขรรค์ชัยศรี

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

     เป็นสัญลักษณ์แสดงการได้พระราชอำนาจอาญาสิทธิ์ในการปกครองแผ่นดิน และจะทรงขจัดศัตรูให้สิ้นด้วยพระบรมเดชานุภาพ สร้างขึ้นในสมัยที่ขอมมีอำนาจปกครองดินแดน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรางปราบดาภิเษกแล้ว ชาวประมงเมืองเสียมราฐได้ทอดแห พบพระขรรค์องค์นี้และนำมามอบแก่กรมการเมืองเสียมราฐ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของไทย ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์(แบน อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองและเสียมราฐในขณะนั้น จึงทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชัน ที่เชิญพระแสงขรรค์เข้าใกล้เขตพระราชฐาน เกิดพายุฝนฟ้าผ่าที่ประตูวิเศษไชยศรี และพิมานไชยศรีซึ่งเป็นเส้นทางที่อัญเชิญพระขรรค์ผ่านเข้าเขตพระราชฐานอีกด้วย โปรดเกล้าฯ ให้ทำด้ามด้วยทองคำลงยาราชาวดีลายเทพพนม และฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดี พระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลทรงใช้เป็นพระแสงราชศาสตราในพระราชพิธีสำคัญ

 

3. ธารพระกร

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างใหม่ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์หุ้มทองลักษณะคล้ายพระแสงดาบยอดทำเป็นรูปเทวดา ชักยอดออกแล้วจะกลายเป็นพระแสงเสน่าหรือมีดสำหรับขว้าง ธารพระกรนี้เป็นเครื่องหมายแห่งการปกครองที่เปี่ยมด้วยพระปรีชาญาณอันสุขก่อให้เกิดความมั่นคงแก่แผ่นดิน

 

4.  พัดวาลวิชนี และ พระแส้หางจามรี 

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

     เป็นเครื่องใช้ประจำองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระแส้หางจามรีมีที่มาจากคำว่า "จามร" ซึ่งเป็นแส้ทำด้วยขนหางจามรี ส่วนวาลวิชนี เดิมนั้นคือพัดใบตาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ชื่อ วาลวิชนี นั้น คำว่า"วาล" เป็นขนโคชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า "จามรี" จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น มีด้ามเป็นแก้ว ต่อมา ได้เปลี่ยนขนจามรีเป็นขนหางช้างเผือกแทน และใช้คู่กันกับพัดวาลวิชนี ซึ่งประดิษฐ์จากใบตาล ด้ามและลวดลายประกอบทำด้วยทองลงยา

 

5. ฉลองพระบาทเชิงงอน 

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ สำหรับพิธีบรมราชาภิเษก สิ่งล้ำค่าของปวงชนชาวไทย

     เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีฝังเพชร ใช้สวมเฉพาะในงานพระราชพิธีที่ต้องประทับเท่านั้นองพระบาทเชิงงอนเป็นเครื่องหมายแสดงว่าจะทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่แผ่นดินทุกอาณาเขตที่เสด็จพระราชดำเนินไป เครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ แต่ด้วยลักษณะ งดงามและฝีมืออันปราณีตของช่างหลวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่า เครื่องราชกกุธภัณฑ์แสดง ถึงภูมิปัญญาที่ช่างโบราณถ่ายทอดออกมาอย่างวิจิตร และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

 

     หากพระเจ้าแผ่นดินยังไม่ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก  หรือยังไม่ได้รับเบญจราชกกุธภัณฑ์  พระเกียรติยศจะยังไม่เต็มที่  เป็นต้นว่า  ยังไม่ออกพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เรียกเพียงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินจะเรียกเพียงพระราชโองการ ยังไม่ใช้พระบรมราชโองการ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia , sookjai , เบญจราชกกุธภัณฑ์ , campus-star , เบญจราชกกุธภัณฑ์