กันไว้ดีกว่าแก้! มือของเราก็ "ป่วยได้" ถ้าใช้มากเกินไป

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

มือ เป็นอวัยวะที่เราใช้งานเกือบตลอดเวลาและทั้งชีวิต ไม่ว่าเราจะทําอะไรก็มักมีมือเป็นองค์ประกอบร่วมเสมอ ซึ่งการใช้งานมือด้วยลักษณะท่าทางที่แตกต่างกันไปบางท่านั้น อาจเป็นปัจจัยที่ทําให้เราเกิดอาการเคล็ด ติดขัด ตึง ปวดมือจนนําไปสู่โรคทางมือ

 

กันไว้ดีกว่าแก้! มือของเราก็ "ป่วยได้" ถ้าใช้มากเกินไป

 

• โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนที่ข้อมือ •
หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่า โรคเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ หรือโรคพังผืดข้อมือ เกิดจากการใช้งานข้อมือซ้ำๆ หรือกระดกข้อมือค้างไว้นานๆ ทําให้เกิดความดันในช่องกระดูกหรืออุโมงค์ข้อมือเพิ่มขึ้น ซึ่งผนังตรงช่องกระดูกข้อมือคือ พังผืด เมื่อเส้นประสาทมีเดียนที่วิ่งผ่านช่องกระดูกข้อมือถูกกดทับ ทําให้ขาดเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทจะบวมและถูกทําลาย เกิดการหนาตัวของพังผืด ระยะแรกจะมีอาการชาที่ปลายนิ้ว และระยะต่อมาจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

• ลักษณะอาการ •
รู้สึกชาหรือปวดที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง บางขณะอาจปวดร้าวไปที่ท่อนแขน และมักเป็นตอนกลางคืนขณะหลับ บางครั้งปวดจนต้องตื่นขึ้นกลางดึก หรือมีอาการตอนเช้าหลังตื่นนอน พอได้ขยับมือจะเริ่มอาการดีขึ้น ถ้ามีอาการเรื้อรังเป็นเวลานานจะทําาให้กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วหัวแม่มืออ่อนแรง จนการใช้งานของมือลดลง

 

• ใครสามารถเป็นโรคนี้ได้บ้าง •
ทุกคนที่มีการทํางานที่ต้องเคลื่อนไหวข้อมือซ้ำๆ เช่น การจับเมาส์ท่าเดิมนานๆ เล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตตลอดเวลา จับกรรไกร หรือการทํางานบ้าน เข้าครัว ทําสวน เช่น การจับไม้กวาด จับมีด ร่วมกับการเกร็งข้อมือขณะกําสิ่งของจะทําให้เกิดภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทได้มากขึ้น

ขอบคุณที่มาจาก thaihealth

ขอบคุณภาพประกอบจาก betanews

ขอบคุณภาพประกอบปกจาก shutterstock